สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร
วันที่เขียน 14/9/2566 16:02:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 6:38:20
เปิดอ่าน: 793 ครั้ง

ทำความรู้จักกับประเภทของสายแลน สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต

สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร

         เรามาทำความรู้จักกับประเภทของสายแลนกันก่อนที่จะนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ สายแลนแต่ละรุ่น สามารถจำแนกออกได้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. แบ่งตามลักษณะการหุ้มฉนวน ทั้งแบบที่มีแต่ฉนวนอย่างเดียวไม่มีฟอยล์ หรือมีฟอยล์นอก หรือมีฟอยล์หุ้มทั้งหมด
  2. แบ่งตามการใช้งานแบบภายนอกอาคาร (Outdoor) และภายในอาคาร (Indoor) โดยที่สายแบบ Outdoor จะมีปลอกหุ้มที่แข็งแรงกว่าและหนากว่าสายแบบ Indoor เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคารได้ดีมากขึ้น
  3. แบ่งตามการเข้าหัวของสาย LAN หรือตามลักษณะการใช้งาน เราควรเลือกสายนำสัญญาณให้เหมาะสมและรองรับกับอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพมากที่สุด
  4. แบ่งตามความถี่ที่รองรับได้ ดังนี้
         4.1) สายแลน CAT5   เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วต่ำที่สุด ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมใช้งานแล้วในปัจจุบันเนื่องจากความเร็วในการ
                ถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำ
         4.2) สายแลน CAT5E เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ แต่สูงกว่าแบบแรก ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs
         4.3) สายแลน CAT6   เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 250MHz หรือบางยี่ห้อมีจำหน่ายสูงถึง 600MHz
         4.4) สายแลน CAT7   เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วสูงสุดกว่าสามประเภทแรก ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gpbs BANWIDTH อยู่ที่ 750MHz

สายแลน CAT5E

          CAT5E หรือ Category5E เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก สายชนิดนี้มีจำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น เป็นสายทองแดงแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และแกนทองแดงแบบฝอย (stranded conductor) เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร (Patch cord) ซึ่งสามารถบิด โค้ง งอ
ได้มากกว่าสายชนิดแกนเดี่ยว(Solid) สายชนิดนี้จะมี Bandwidth สูงสุด 350MHz ในบางยี่ห้อมาตรฐานที่ 100MHzและความเร็วในการส่งสัญญาณที่ 100 – 1000Mbps หรือ Gigabit

สายแลน CAT6

        CAT6 หรือ Category6 เป็นสายนำสัญญาณแบบเคเบิ้ลทองแดงสี่คู่ รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง Switch หรือ Hub สามารถรองรับความเร็วในการส่งได้สูงสุดถึง 10 Gbps จะมี Bandwidth สูงสุดที่ 600MHz หรือมาตรฐานอยู่ที่ 250MHz ส่วนความเร็วสูงสุดในการส่งสัญญาณที่ Full speed 1000Mbps หรือ Full Gigabit ในระยะแนะนำความเสถียรไม่เกิน 100 เมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และสัญญาณรบกวน) ผ่านอปุกรณ์เชื่อมต่อมาตรฐาน RJ-45

        โดยประเภทของสายแลน CAT6 จะมีทั้งแบบ CMR, CM, และ LSZH ซึ่งแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ รูปแบบการติดตั้ง และอัตราการลามไฟของสายสัญญาณที่ติดตั้งภายในอาคารสำนักงานด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัย (ตามมาตรฐาน UL)

        – สาย CM (Communication Metallic) จะสามารถติดตั้งได้ภายในชั้น หรือติดตั้งราบไปกับพื้น ห้ามติดตั้งเปลือยในแนวอื่นเด็ดขาด
        – สาย CMR (Communication Metallic Riser) จะสามารถติดตั้งได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่งบริเวณช่องชาร์ป (จุดรวมของสายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น) ถูกออกแบบด้วยวัสดุที่ทนทาน และป้องกันการลามของเปลวไฟได้ดีกว่าแบบ CM จึงมีราคาสูงกว่า แต่คุ้มค่าในการนำไปใช้งานในระยะยาว
        – สาย LSZH จะเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัย กรณีเกิดเพลิงไหม้ สายแบบ LSZH จะมีคุณสมบัติพิเศษไม่ลามไฟ และมีควันน้อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันอาการสำลักควันที่อาจเป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตได้

สายแลน CAT7

        CAT7 หรือ Category7 เป็นสายนำสัญญาณแบบ Aluminum Foil หุ้มที่คู่สายทุกคู่ เพื่อการป้องกันสัญญาณรบกวน ด้วย Screen shielded twisted pair (SSTP) หรือการเดินสายแบบหุ้มด้วยฟอยซ์คู่สายเกลียว (SFTP) รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย สามารถรองรับความเร็วในการส่งได้สูงสุดถึง 10 Gbps ความถี่สูงสุดที่ 600 MHz ในระยะแนะนำความเสถียร ไม่เกิน 100 เมตร 

          ส่วนทุกท่านจะเลือกใช้สาย Cat5E หรือ Cat6 หรือ CAT7 นั้น ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน และประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อใช้สายที่ราคาสูงกว่าแต่รองรับอุปกรณ์ในอนาคตได้ดีกว่า
          แต่ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากคือ สาย CAT6 เนื่องจากเหมาะสมกับการใช้งานตามมาตรฐาน และหลายองค์กรในประเทศยังใช้ Switch แบบที่มีความเร็วอยู่ที่ 10/100/1000 Mbps สายชนิดนี้จึงเหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1375
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
อบรม การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ » การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะน...
การพัฒนา  งานประจำ  นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 19:13:44   เปิดอ่าน 85  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 2 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:41:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 19:13:45   เปิดอ่าน 117  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา » กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชา
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทบทวน Program Learning Outcomes (PLOS) และสร้าง Course Learning Outcomes (CLOs) สู่การจัดทำ มคอ.3 เเละมคอ. 5 เพื่อขับเคลื่อน AUN QA Version 4.0 กิจกรรมที่ 1 การสร้างผลการเร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน พัฒนพงศ์ เทียนชัย  วันที่เขียน 10/12/2566 13:31:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 3:31:11   เปิดอ่าน 122  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง