ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1794
ชื่อสมาชิก : ฉวีวรรณ ธงงาม
เพศ : หญิง
อีเมล์ : Chaweewan_t@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 28/10/2557 16:06:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 28/10/2557 16:06:50


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การอบรมการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ วันที่ 24 มกราคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์ ด้วย Zoom Cloud Meeting วิทยากรโดย : ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน ผู้อบรม : นางสาวฉวีวรรณ ธงงาม ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทยให้มีความรู้ความสามารถ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ย่อมนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานและการให้บริการให้ดีขึ้น โดยทั่วไปบุคลากรทางการศึกษามีลักษณะการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้บริการเป็นหลัก สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ รวมถึงผู้มาติดต่อ เป็นงานบริการด้านธุรการ และการบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ในการสังเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำที่ตนเองปฏิบัติอยู่และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมการให้บริการ เพื่อรองรับเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน การสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการจากงานประจำของบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย ภายใต้บทความของตนเอง (ช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย พร้อมแนวทางการตัดสินใจหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดี ให้กับผู้บริหารหรือสายวิชาการ ให้เป็นไปตามระเบียบและทันสมัย รวมทั้งต้องมีความชำนาญในหน้าที่ของตน) จึงเป็นสิ่งจำเป็นของสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย ที่ต้องเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบได้ รวมทั้งสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการสู่นวัตกรรมการให้บริการ ตามที่องค์กรกำหนดภายใต้บทบาทดังกล่าวได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็น “องค์กรสมรรถนะสูง หรือ High Performance Organization (HPO)” ต่อไป ดังภาพตามลิงค์ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzNDgy&method=inline สรุป เทคนิคการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุนในระบบการศึกษาไทย โดยการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นกระบวนการในส่วนที่ 1-2 ขั้นตอนแรกในการจะเริ่มจากปัญหา โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องวิเคราะห์สภาพปัญหาและถอดบทเรียนของปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร โดยแบ่งข้อเท็จจริงออกเป็นส่วนๆ แล้วหาความสัมพันธ์ของเท็จจริงเหล่านั้น เพื่อจะได้เห็นสภาพปัญหา และอุปสรรคที่แท้จริง หากไม่มีกระบวนการนี้ โอกาสที่จะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการถือว่าไม่เป็นนวัตกรรมการให้บริการ ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ งานบริการการศึกษาฯ ได้วิเคราะห์ปัญหาหน้างาน และแนวทางปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา ตามองค์ประกอบ 1-2 ดังนี้ ลำดับงานที่งานบริการการศึกษาฯ มีข้อคิดเห็นที่เห็นตรงกันที่สุด คือ เรื่องการจัดสอบ ที่พบประเด็นปัญหามากที่สุด ดังภาพตามลิงค์ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzNTU3&method=inline จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาจัดกลุ่มปัญหา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ แก้ไขได้ทันที, แก้ไขไม่ได้, แก้ไขได้ โดยใช้เวลาการแก้ไขเล็กน้อย และใช้กระบวนการภายในคณะ ฯ, แก้ไข โดยใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งต้องใช้กระบวนการภายนอกคณะฯ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) แสดงภาพผังก้างปลา ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการถอดความรู้ พบว่า มีข้อปัญหาที่ต้องจัดการโดยใช้แนวทางการจัดการข้อปัญหาในหมวด แก้ไข โดยใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งต้องใช้กระบวนการภายนอกคณะ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) มากที่สุด ดังภาพตามลิงค์ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzODA2&method=inline เมื่อได้ถอดความรู้ และได้ข้อปัญหาที่ต้องจัดการร่วมกันแล้ว งานบริการการศึกษาจึงได้ประเด็นการแก้ไข แสดงภาพ mind mapping ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ได้ จะใช้เป็นข้อมูลในการต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรม ในรูปแบบ งานวิจัยต่อไป ดังภาพตามลิงค์ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzODA3&method=inline หมายเหตุ 1. การเข้าร่วมการอบรมของงานบริการการศึกษา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการอบรมจำนวน คนละ 1,000 บาท จากคณะบริหารธุรกิจ 2. ข้อมูลดิบที่ได้จากการกลั่นกรอง (ปฐมภูมิ) https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzODA4&method=inline 3. ใบประกาศการผ่านการทดสอบ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjQzODEw&method=inline