การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) รหัส B (การทำงาน)
อายุวีซ่า
- 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ครั้งเดียว (single entry)
- 1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)
ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry) และ 5,000 บาท (multiple entries)
ระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
จำนวนเงินที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คือ ต้องมีเงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
การขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะได้รับการพิจารณาขยายระยะเวลาพำนักให้อยู่ต่อไปในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
เนื่องจากการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศไทยหลายประการ เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตราจึงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง และสถานทูตสถานกงสุลอาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย
1. เมื่อคนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa “B”) จากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่แล้ว เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ให้ไปติดต่อกองงานคนต่างด้าว เพื่อยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว จึงจะสามารถทำงานได้
2. ในกรณีของคนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับพิจารณาอนุมัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ทราบโดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอให้ตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส B-A ซึ่งพำนักได้ 1 ปี ให้แก่คนต่างด้าวนั้นต่อไป
แนวปฏิบัติการตรวจลงตรา การขยายเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักร และการออกใบอนุญาตทำงานให้แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร
|
ประเภทของคนต่างด้าว |
การตรวจลงตรา ก.การต่างประเทศ |
การขยายเวลาพำนักของ ตม. |
การออกใบอนุญาตทำงานของกรมการจัดหางาน |
1 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานกับบริษัทเอกชน / หน่วยงาน |
Non-Immigrant “B” Single Entry
เอกสารต่างๆของหน่วยงานไทย
บางกรณีขอดู ตท.3
|
ใช้เวลาในการพิจารณาคำขอ 30 วัน นับถัดจากวันอนุญาตสิ้นสุด
|
ใช้เวลา 7 วัน ในการพิจารณาครั้งแรก อายุ Work Permit ไม่เกิน 2 ปี
|
2 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานกับองค์การเอกชน (NGO)
|
ของไทย รวมถึงอาสาสมัครที่ไม่มีค่าตอบแทน |
Non-Immigrant “O” Single Entry
หนังสือรับรองการจ้างงานและเอกสารหลักฐานขององค์การฯ
ไม่ต้องมีหนังสือรับรองว่า
|
ไม่มีประวัติอาชญากรรม) |
อนุญาตให้อยู่ต่อฯ ครั้งละไม่เกิน
90 วัน หากมีการรับรองและร้องขอจากหัวหน้าส่วนราชการระดับ 10 หรือเทียบเท่า ขึ้นไปซึ่งเกี่ยวข้องกับภารกิจขององค์กรนั้น
จะอนุญาตให้อยู่ต่อฯ ครั้งละ ไม่เกิน 1 ปี
|
|
อายุ Work Permit ไม่เกิน 2 ปี
ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวน
|
(ไม่ต้องเปลี่ยนเป็น “B”) |
3 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส O-A (Long Stay)
|
|
Non-Immigrant “O-A” (Long Stay) Multiple Entries
ประทับตรา
“Employment Prohibited”
|
|
รายงานตัวทุก ๆ 90 วัน กรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกินกว่า 90 วัน
อยู่ได้ครั้งละ 1 ปี
(ไม่ต้องทำ Re-entry Permit)
ไม่สามารถทำงานได้
|
|
ทำงานได้ |
4 |
คนต่างด้าวที่เป็นคู่สมรสของคนไทย ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส “O” และประสงค์จะทำงาน |
- |
ต้องมีหลักฐานในการขออยู่ต่อ ว่ามีรายได้ในการอุปการะคู่สมรสคนไทย จึงหมายความว่า ทำงานได้
|
ขอ Work Permit ได้ (ไม่ต้องเปลี่ยนเป็น “B”)
|
แนวปฏิบัติในการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราของ ตม. สำหรับคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน
|
ประเภทของคนต่างด้าว แนวปฏิบัติของ ตม. |
แนวปฏิบัติของ ตม. |
1 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา (ขอยกเว้นเฉพาะกรณี)
|
ให้อำนาจ ตม. ดำเนินการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวให้ผู้ที่เข้ามาโดยได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราได้ (เฉพาะผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา)
|
2 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว และเดินทางผ่าน
|
ให้อำนาจ ตม. เปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราจากประเภทนักท่องเที่ยวและเดินทางผ่านเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราวได้ (เฉพาะผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา)
|
3 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับการตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี
|
ไม่สามารถเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราให้เป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราวได้
|
4 |
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแบบคนอยู่ชั่วคราว ด้วยรหัสต่างๆ ที่ไม่ใช่รหัส “B”
|
ตม. ไม่มีอำนาจในการเปลี่ยน “รหัส”
|