การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษา อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบล้านนาให้ดำรงอยู่ "โครงการครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะ"
วันที่เขียน 12/9/2562 14:11:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:40:25
เปิดอ่าน: 3734 ครั้ง

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน เป้าหมายหลักของพิธีเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ช่วยเสริมความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักศึกษาต่อคณาจารย์ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความรักความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันในสังกัดของคณะ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน เป้าหมายหลักของพิธีเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ช่วยเสริมความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักศึกษาต่อคณาจารย์ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความรักความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันในสังกัดของคณะ

รูปแบบในการจัดพิธีครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ยังคงไว้ซึ่งลักษณะของประเพณีอันดีงามแบบดั้งเดิมของท้องถิ่นโดยมีผู้ทรงความรู้เกี่ยวกับประเพณีโบราณพื้นถิ่นของชาวล้านนาเป็นผู้นำในการประกอบพิธีต่างๆ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้ซึมซับความหมาย ความสำคัญและรายละเอียดตามขั้นตอนของพิธี ส่งผลให้เกิดจิตสำนึกและแรงจูงใจในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น อีกทั้งยังเสริมสร้างเอกลักษณ์และความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม

พิธีกรรมและลำดับขั้นตอนพิธีครอบครูกิ๋นอ้อไว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ

พิธีครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะ  ประกอบด้วยพิธีกรรมย่อย แยกได้ 5 พิธี ดังนี้
พิธีที่ 1 ความเป็นที่มา และประวัติการครอบครู ผู้นำการประกอบพิธีจะบรรยายถึงความเป็นมาของการไหว้ครู ครอบครูและการกิ๋นอ้อที่นักศึกษาร่วมพิธีกรรมประกอบด้วยขั้นตอน พิธีกรรมอย่างใดบ้าง
พิธีที่ 2 พิธีบวงสรวงพระคุณครู เริ่มต้นด้วยการสวดมนต์บูชาคุณครูทางล้านนา เรียกว่าบทยอคุณ ต่อด้วยบทโองการแช่งน้ำ โองการท้าวมหาพรหม บทตรีนิสิงเห บทธรณีสารซึ่งเป็นภาษาล้านนา ทำน้ำมนต์และอธิบายความหมายของมนต์แต่ละบทให้ผู้ร่วมพิธีเข้าใจ
พิธีที่ 3 พิธีกิ๋นอ้อ เป็นพิธีกรรมที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติหลังจากพิธีไหว้ครู โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนว่าจะทำให้เกิดสติปัญญาเพิ่มพูน นิยม ทำในวันอันเป็นมงคล ได้แก่ วันพญาวันในช่วงประเพณีสงกรานต์ โดยมีการกำหนดสถานที่อันเป็นมงคลเพื่อประกอบพิธีเป็นการเฉพาะ พิธีกินอ้อมีการยึดถือปฏิบัติทางภาคอีสานเรียกว่า การยกอ้อยอคุณ ถือว่าเป็นพิธีเกี่ยวเนื่องกับการไหว้ครูเช่นเดียวกัน
พิธีที่ 4 พิธีบายศรีสู่ขวัญ หรือเรียกขวัญในอดีตเป็นพิธีการที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างบ้านต่างเมือง ซึ่งย่อมจะเกิดความเหน็ดเหนื่อย ดังนั้นผู้สูงอายุหรือผู้ใหญ่ภายในบ้านจะทำพิธีรับขวัญหรือเรียกขวัญกลับมาสู่บ้านเพื่อเป็นมงคลและเป็นการให้กำลังใจและความปรารถนาดีต่อกัน ปัจจุบันนี้นิยมจัดเพื่อเป็นการต้อนรับแขกผู้มาเยือนหรือการเรียกขวัญเพื่อแสดงน้ำใจยินดีต้อนรับและการกระทำเพื่อเป็นการปลอบขวัญให้กำลังใจแก่บุคคลที่ประสบเคราะห์ร้ายทำให้ตกใจหรือเสียกำลังใจ เช่น ผู้ที่พบกับอุบัติเหตุหรือกำลังฟื้นไข้หายป่วย
พิธีที่ 5 พิธีครอบครู เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงการับผู้เข้าพิธีเป็นศิษย์ในการเรียนวิชาช่างต่างๆ ตลอดจนนาฏศิลป์และการดนตรี

สำหรับลำดับพิธีการเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เข้าร่วมพิธี กินอ้อที่จัดเตรียมไว้ แล้วท่องคาถาอ้อจินต์จำของครูบาคำแสน (พระครูสุคันธศีล) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนดอก เชียงใหม่ โดยมีคาถาดังนี้
อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส ในโลกนี้เราเป็นผู้ยอดเยี่ยม
เชฎฺโฐ เสฎฺโฐ หมสฺมิ เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุด
อยนฺติมา เม ชาติ การเกิดของเราในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
นตฺถิทานิ  ปุนพฺภโว การเกิดในภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่เราอีกต่อไป

หลังจากนั้นอาจารย์ผู้ร่วมพิธีจะจับมือศิษย์เขียนรูปสามเหลี่ยมบนแผ่นกระดาษขนาดเอสี่ มีความหมายถึงพระรัตนไตร และเปรียบเหมือนมีการสร้างฐานเพื่อความมั่นคงของชีวิตและสุดท้ายอาจารย์จะเจิมหน้าผากและผูกข้อมือเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ลูกศิษย์ ทั้งหมดที่กล่าวไว้เป็นพิธีครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย ที่สืบทอดมายาวนานจวนจนปัจจุบัน และเชื่อว่าพิธีกรรมดังกล่าวจะยังคงสืบทอดไปยังบุคคลรุ่นหลังๆ เพื่อได้เรียนรู้และปฏิบัติต่อไป

 

ขันตั้ง เครื่องสักการบูชา เครื่องสังเวย และบายศรี ที่ใช้ในการประกอบพิธี

ขันตั้ง คือ พานชนิดหนึ่งกลึงด้วยไม้จริง (ไม่มีแก่น) ทรงกลม  ปากผายออก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร สูงประมาณ 10 เซนติเมตร ไม่มีขาแต่มีขอบตีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขันตีนต่ำ อีกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่สานสองลาย รูปทรงและขนาดความกว้างประมาณเท่ากันกับชนิดกลึงด้วยไม้จริง เรื่องขนาดของความกว้าง ความสูง ไม่เป็นมาตรฐานที่แน่นอน
ขันตั้ง ได้ถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธีครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะ โดยเป็นภาชนะสำหรับใส่เครื่องสักการบูชาและเครื่องสังเวย ดังนี้

เครื่องสักการบูชา

  1. สวยดอก(กรวยดอกไม้) 12 สวย(12กรวย)
  2. สวยหมากสวยพลู(กรวยหมากพลู) 12 สวย(12 กรวย)
  3. เทียนเหล้มบาท(เทียนที่มีน้ำหนัก 1 บาท) 1 คู่
  4. เทียนเหล้มเฟื้อง(เทียนที่มีน้ำหนัก 1 เฟื้อง) 1 คู่
  5. ผ้าขาว 1 ผืน
  6. ผ้าแดง 1 ผืน
  7. ข้าวเปลือก 1 ควัก(1 กระทง)
  8. ข้าวสาร 1 ควัก(1 กระทง)
  9. หมาก 1 หัว(1 กลุ่ม)
  10. พลู 1 มัด
  11. กล้วย 1 เครือ
  12. มะพร้าว 1 ทะลาย
  13. อ้อย 1 เหล้ม(1 ต้น)     
  14. เหล้า 1 ไห (1 ขวด)
  15. เงิน 36 บาท
  16. น้ำส้มป่อย 1 ขัน(1 แก้ว)

เครื่องสังเวย

  1. หัวหมูสุก 1 ชุด
  2. อาหารคาวหวาน 1 ชุด
  3. ผลไม้ 9 อย่าง

บายศรี

บายศรี หรือบายสรี มาจากคำว่า บาย เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ข้าว” ส่วนคำว่า สรีหรือศรีแปลว่า “ขวัญ” รวมกันจึงแปลว่า “ข้าวขวัญ” หรือข้าวที่จัดไว้เพื่อเป็นสิริมงคล นอกจากนั้น เสถียรโกเศศ ได้ให้ความหมายอีกนัยหนึ่งว่า “บายศรี” หมายถึง ภาชนะสำหรับใส่อาหาร หรือสำรับกับข้าวนั่นเอง
พจนานุกรมฉบับราชบัญญัติสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของบายศรี ไว้ว่า “เครื่องเชิญขวัญ”หรือรับขวัญทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทงเป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่ เล็ก สอบขึ้นไปตามลำดับมีขนาด ตั้งแต่ 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น” ทั้งนี้ การจัดทำบายศรีในพิธีครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะอย่างบูรณาการ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นิยมจัดทำขนาด 5 ชั้น


ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง