การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Sandbox)
วันที่เขียน 18/8/2565 17:00:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:01:51
เปิดอ่าน: 1713 ครั้ง

เนื่องจากมีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564

ซึ่งในการประชุมเชิปฏิบัติการ ดังกล่าว ได้มีการให้ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร Sandbox ว่ามีแนวคิดและวิธีการจัดทำและเสนอหลักสูตรอย่างไร  ครั้งแรกที่ได้ยินเกี่ยวกับหลักสูตรนี้ก็นึกถึง series เรื่อง startup เลยทีเดียว  ฮ่าๆๆๆ

วันนี้เลยจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษษ หรือ หลักสูตร Sandbox จากที่ได้ไปประชุมและทำความเข้าใจมาค่ะ

เป้าหมายหลักสูตร Sandbox ได้แก่

  1. ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศ
  2. นวัตกรรมการศึกษา

ซึ่งเมื่อกำหนดเป้าหมายหลักสูตร Sandbox ก็นำมาขายความในการจัดทำข้อเสนอเชิงหลักการ Conceptpaper ดังนี

1.ผลิตกำลังคนสรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศ

  • คุณภาพบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสูงขึ้น
  • ตลาดแรงงานได้แรงงานตรงตามความต้องการ สะท้อนผ่านการทำงานตรงสาขาที่เรียนมา
  • ระยะเวลาในการหางานทำสั้นลงและมีรายได้ที่สูงขึ้น
  • ความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตที่ดีขึ้น
  • บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรมากขึ้น

เสริม** ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศ
*ที่มา:กระทรวงอุตสาหกรรม*10+2 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

S-curve การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added)

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุภาพ
  4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  5. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

New S-curve  ยกระดับมูลค่า (Value Shifted)

   6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์

   7. อุตสาหกรรมการเพทย์ครบวงจร

   8. อุตสาหกรรมขนส่งและการบิน

   9. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

   10. อุตสาหกรรมดิจิทัล

   11. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

   12. อุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา

***การจ้างงานใน New S-curve 

  1. ดิจิทัล 30,742 ตำแหน่ง
  2. การบิน/โลจิสติกส์ 29,289 ตำแหน่ง
  3. การแพทย์ครบวงจร 17,732 ตำแหน่ง
  4. แปรรูปอาหาร 12,458 ตำแหน่ง
  5. หุ่นยนต์ 10,020 ตำแหน่ง

2. นวัตกรรมการศึกษา

  • ปัญหา Workfore (กำลังคน) ในอนาคต ที่จะเกิดขึ้นจากการ Disruptive Technology ต้องมีการ Reskill (พัฒนาทักษะที่มีอยู่) Upskill (เสริมทักษะใหม่) Newskill (สร้างทักษะใหม่)
  • อนาคตที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทขึ้นและคงจะมากขึ้นไปอีก ทักษะของกำลังคนในยุคต่อไปคงไม่ได้หยุดและจบลงที่การเรียนรู้ในห้องเรียน
  • กำลังคนที่สามาร Self-learning (เรียนได้ด้วยตนเอง) Lifelong learning (เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต)เพราะเทคโนโลยีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง คนทุกเพศทุกวัย สามารถเสริมทักษะได้ตลอดเวลา

แล้วถ้าจะพัฒนาหลักสตร Sandbox จะเริ่มจาก???
สำรวจตัวเองว่า
     - หลักสูตรปกติมุ่งผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคการผลิตและบริการ

     - หลักสูตรมีเครือข่ายกับสถานประกอบการ ชุมชน สังคม หน่วยงานภายนอกอย่างกว้างขวาง

     - มีความชัดเจนในกระบวนการผลิตที่มุ่งสุ๋เป้าหมายของผลลัพธ์เชิงสมรรถะนะให้กับผู้เรียน

     - มีต้นทุนและทรัพยากร และมีความพร้อมในด้าน Digital Transformation

     - มี mindset ว่าความท้าทายคือโอกาส

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร Sandbox

  1. ส่วนหลักสูตรดำเนินการ

     -  เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาหลักสูตร Sandbox

     -  คิดพัฒนาหลักสูตรในรุปแบบ Sandbox

     - ร่าง Concepttual framework

     - นำเสนออธิการบดีลงนาม

     - ส่งมาที่คณะทำงาน Sandbox สป.อว. เพื่อพิจารณา

    2. ส่วน สป.อว.

    - คณะทำงานเห็นชอบ

    - เขียนเล่มหลักสูตรเต็มรูปแบบ

    - นำเสนอสภามหาวิทยาลัย

    - จัดการเรียนการสอน

    - ติดตามและประเมิน โดยคณะกรรมการ

 

ประเด็นหลักๆ ที่ต้องชัดใน Conceptual Framwork

*จะพัมนาหลักสูตรอะไร

  • ทีมงานมีความเชี่ยวชาญหรือคิดว่าบริหารหลักสูตรนี้ในลักษณะ Co-creation ได้
  • เป้าหมายตอบโจทย์การพัมนากำลังคนเป็นตัวตั้ง ทิ้งกระบวนการพัมนาหลักสูตรแบบเดิมๆ
  • ใช้แนวทาง OBE ในการพัมนาหลักสุตร - Backwark Design Curriculum

*รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

    - รุปแบบนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากปกติที่ได้ดำเนินการ

    - นำเสนอกระบวนการให้เข้าใจว่าผู้ร่วมผลิดเป็น Co-ownership อย่างไร

    - การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยและคระ

    - ระบุว่ามาตรฐานใดที่ต้องการยกเว้น

    - จำนวนรุ่น ระบุระยะเวลาที่ดำเนินการ

*การสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรจะประสบความสำเร็จ

    - จัดทำแผนบริหารคสามเสี่ยงในกรรีที่นักศึกษาอาจไม่สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเข้ามาเรียนในหลักสูตรปกติได้

    - กระบวนการติดตาม และการรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินอิสระ

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1291
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง