|
|
|
การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย
»
ขอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
|
ตามที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย” ภายใต้ โครงการการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) กำลังกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิจัยและพัฒนาในหลากหลายสาขาวิชา การเข้าอบรมการใช้ AI เพื่อการวิจัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล ตลอดจนช่วยให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ ในการศึกษาวิจัย
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูล
AI สามารถช่วยนักวิจัยในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ในการจำแนก วิเคราะห์ และพยากรณ์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาการประมวลผล และช่วยให้ได้ข้อสรุปที่แม่นยำมากขึ้น
2. การปรับปรุงกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล
การใช้ AI สามารถช่วยในกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น วิเคราะห์ภาพและการสืบค้นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ได้ครอบคลุมและแม่นยำมากขึ้น
3. การลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน
AI สามารถช่วยลดภาระงานที่ซ้ำซ้อน เช่น การจัดการข้อมูล การสร้างเอกสารอัตโนมัติ การสร้างเอกสารการนำเสนอผลงาน
4. การสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย
AI สามารถช่วยนักวิจัยในการวิเคราะห์แนวโน้มของหัวข้อวิจัยที่ได้รับความนิยม แนะนำวารสารที่เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ และช่วยตรวจสอบการอ้างอิงและการใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มโอกาสในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
สรุป
การเข้าอบรมการใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาการทำงาน และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น นักวิจัยควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และใช้ AI เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
• เพิ่มพูนความรู้และถ่ายทอดแก่นักศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นการเพิ่มพูนและเสริมสร้างความรู้และทักษะใหม่ด้าน AI ที่สามารถนำมาช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดทำรายงานฉบับ โดยข้าพเจ้านำความรู้จากการอบรมมาใช้ในการทำรายงานฉบับนี้โดยทำการร่างรายงานด้วยโปรแกรม Chat GPT และแก้ไขปรับปรุงโดยตัวเอง ตลอดจนการนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปถ่ายทอดแก่นักศึกษา ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษาได้ตาม PLO ของหลักสูตร
|
คำสำคัญ :
AI งานวิจัย
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
230
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
พรพรรณ อุตมัง
วันที่เขียน
21/2/2568 9:49:39
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/4/2568 20:54:59
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
610
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/4/2568 16:38:10
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยสายสังคมศาสตร์
»
จริยธรรมการวิจัยในคน
|
แนวทางจริยธรรมการวิจัยและการทดลองในคน หรือแนวทางหรือหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการทดลองในคน โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องเช่น คำประกาศกรุงเฮลซิงกิ หรือปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางที่องค์กรกำกับดูแลระดับประเทศ (National Regulatory Authorities, NRA) และสถาบันกำหนด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ซึ่งหมายถึง คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กร หรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาทบทวนด้านจริยธรรมการวิจัยของข้อเสนอโครงร่างการวิจัยในคน เพื่อคุ้มครองสิทธิ ศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการวิจัย คณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยของสถาบันต้องมีองค์ประกอบและวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) ของคณะกรรมการจริยธรรมฯ ที่ชัดเจนสอดคล้องกับ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและแนวทางของประเทศตลอดจนแนวทางสากล
|
คำสำคัญ :
การวิจัย จริยธรรมการวิจัยในคน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
10845
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณภัทร เรืองนภากุล
วันที่เขียน
14/8/2564 23:27:26
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/4/2568 21:46:15
|
|
|
ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยสายสังคมศาสตร์
»
จริยธรรมการวิจัยในคน
|
แนวทางจริยธรรมการวิจัยและการทดลองในคน หรือแนวทางหรือหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและการทดลองในคน โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องเช่น คำประกาศกรุงเฮลซิงกิ หรือปฏิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางที่องค์กรกำกับดูแลระดับประเทศ (National Regulatory Authorities, NRA) และสถาบันกำหนด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ซึ่งหมายถึง คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กร หรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาทบทวนด้านจริยธรรมการวิจัยของข้อเสนอโครงร่างการวิจัยในคน เพื่อคุ้มครองสิทธิ ศักดิ์ศรี ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการวิจัย คณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยของสถาบันต้องมีองค์ประกอบและวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) ของคณะกรรมการจริยธรรมฯ ที่ชัดเจนสอดคล้องกับ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและแนวทางของประเทศตลอดจนแนวทางสากล
|
คำสำคัญ :
การวิจัย จริยธรรมการวิจัยในคน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
10845
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณภัทร เรืองนภากุล
วันที่เขียน
14/8/2564 23:27:26
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/4/2568 21:46:15
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|