การประเมินผลกระทบจากการวิจัย
วันที่เขียน 21/9/2563 22:27:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 5:33:22
เปิดอ่าน: 1690 ครั้ง

ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย SMAEs สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม” วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุมบอลรูม บี ชั้น M โรงแรมปทุมวัน พริ๊นเซส (โดยสถาบันคลังสมองของชาติ)

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย SMAEs สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม” มีเป้าหมายเพื่อให้นักวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปประเมินผลการวิจัยโดยใช้กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ประโยชน์ของการประเมินผลการวิจัย ดังนี้
    1.1 เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ในการประเมินทางเลือกและจัดลำด้บความสำคัญของงานวิจัย)
    1.2 มูลค่าที่ได้จากการประเมินผลกระทบของงานจัย ใช้ประโยชน์ใน 2 ประเด็น
    - พิจารณาประสิทธิภาพของเงินลงทุนงานวิจัยในอดีต (ex post evaluation)
    - จัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยและจัดสรรทรัพยากรเพื่องานวิจัย (ex ante evaluation)
  2. การวางแผนการประเมินผลกระทบ
    2.1 กำหนดรูปแบบของการประเมิน
    - ก่อน (Ex-Ante) ระหว่าง (M&E) หรือ หลังการดำเนินงานวิจัย (Ex-Post)
    2.2 กำหนดขอบเขตของระดับผลประโยชน์
    - ระดับฟาร์ม ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือ ระดับโลก
    2.3 พิจารณาผลประโยชน์ของโครงการ
    - ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คุณภาพสินค้าดีขึ้น
    2.4 วิเคราะห์การเกิดการยอมรับเทคโนโลยี (adoption)
    2.5 กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากงานวิจัย
    2.6 พิจารณาข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวม: สถานที่และวิธีการ
  3. การออกแบบเส้นทางสู่ผลกระทบของการวิจัย
    3.1 เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย คือ การเขียนแผนผัง/แผนที่แสดงโครงข่ายความส้มพันธ์ระหว่างหน่วยงานวิจัยกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่คาดว่าจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการหรือโปรแกรมวิจัย ซึ่งจะประกอบไปด้วย inputs outputs outcomes และ impacts ดังเช่นตัวอย่างของโครงการ ยกระดับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในโซ่อุปทานโคเนื้อตามภูมินิเวศภาคเหนือ
    - inputs : งบประมาณวิจัย 3 ล้านบาท/ นักวิจัย 6 คน/ เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ ได้แก่ TMR และ กำหนดเวลาผสมเทียม/ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี
    - outputs : รูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อในภาคเหนือตอนบน/ Feed Mapping และสูตรอาหารโคเนื้อจากเศษเหลือทางการเกษตรที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ/ เทคโนโลยีการผลิตโคเนื้อต้นน้ำแบบกำหนดเวลา/ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการโคเนื้อเชิงระบบตามศักยภาพจำเพาะของพื้นที่ภาคเหนือ
    - outcomes: ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูปโคเนื้อ และหน่วยงานภาครัฐที่นำไปกำหนดนโยบาย/ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่ จำนวนลูกโคที่เพิ่มขึ้นจากโครงการ และมีการยอมรับการใช้อาหาร TMR เพิ่มมากขึ้น
    - impacts : มูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการเลี้ยงโคเนื้อในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1121
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 0:40:03   เปิดอ่าน 8  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 9:34:29   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 17:16:27   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง