ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 270
ชื่อสมาชิก : นลินี คงสุบรรณ์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : nalinee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 8/3/2554 13:51:29
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 8/3/2554 13:51:29


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย SMAEs สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม” วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ณ ห้องประชุมบอลรูม บี ชั้น M โรงแรมปทุมวัน พริ๊นเซส (โดยสถาบันคลังสมองของชาติ) การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากการวิจัย SMAEs สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม” มีเป้าหมายเพื่อให้นักวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปประเมินผลการวิจัยโดยใช้กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ประโยชน์ของการประเมินผลการวิจัย ดังนี้ 1.1 เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ในการประเมินทางเลือกและจัดลำด้บความสำคัญของงานวิจัย) 1.2 มูลค่าที่ได้จากการประเมินผลกระทบของงานจัย ใช้ประโยชน์ใน 2 ประเด็น - พิจารณาประสิทธิภาพของเงินลงทุนงานวิจัยในอดีต (ex post evaluation) - จัดลำดับความสำคัญของงานวิจัยและจัดสรรทรัพยากรเพื่องานวิจัย (ex ante evaluation) 2. การวางแผนการประเมินผลกระทบ 2.1 กำหนดรูปแบบของการประเมิน - ก่อน (Ex-Ante) ระหว่าง (M&E) หรือ หลังการดำเนินงานวิจัย (Ex-Post) 2.2 กำหนดขอบเขตของระดับผลประโยชน์ - ระดับฟาร์ม ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือ ระดับโลก 2.3 พิจารณาผลประโยชน์ของโครงการ - ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คุณภาพสินค้าดีขึ้น 2.4 วิเคราะห์การเกิดการยอมรับเทคโนโลยี (adoption) 2.5 กำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากงานวิจัย 2.6 พิจารณาข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวม: สถานที่และวิธีการ 3. การออกแบบเส้นทางสู่ผลกระทบของการวิจัย 3.1 เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย คือ การเขียนแผนผัง/แผนที่แสดงโครงข่ายความส้มพันธ์ระหว่างหน่วยงานวิจัยกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่คาดว่าจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการหรือโปรแกรมวิจัย ซึ่งจะประกอบไปด้วย inputs outputs outcomes และ impacts ดังเช่นตัวอย่างของโครงการ ยกระดับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในโซ่อุปทานโคเนื้อตามภูมินิเวศภาคเหนือ - inputs : งบประมาณวิจัย 3 ล้านบาท/ นักวิจัย 6 คน/ เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ ได้แก่ TMR และ กำหนดเวลาผสมเทียม/ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี - outputs : รูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อในภาคเหนือตอนบน/ Feed Mapping และสูตรอาหารโคเนื้อจากเศษเหลือทางการเกษตรที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอ/ เทคโนโลยีการผลิตโคเนื้อต้นน้ำแบบกำหนดเวลา/ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการโคเนื้อเชิงระบบตามศักยภาพจำเพาะของพื้นที่ภาคเหนือ - outcomes: ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูปโคเนื้อ และหน่วยงานภาครัฐที่นำไปกำหนดนโยบาย/ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ได้แก่ จำนวนลูกโคที่เพิ่มขึ้นจากโครงการ และมีการยอมรับการใช้อาหาร TMR เพิ่มมากขึ้น - impacts : มูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการเลี้ยงโคเนื้อในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37