ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1499
ชื่อสมาชิก : ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : thawalrat@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 25/3/2557 10:27:15
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 25/3/2557 10:27:15


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ข้าพเจ้า นางสาวธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัด สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ ตามหนังสือขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน เลขที่ อว 69.5.1.2.1/1904 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายพิเศษ KEYNOTE SPEAKER โดย Professor Dr. Takaaki Kajita จาก Institute for Cosmic Ray Research (ICRR), The University of Tokyo, Japan ได้รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2015 (2015 Nobel Prize in Physics) ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง ""DISCOVERY OF ATMOSPHERIC NEUTRINO OSCILLATIONS" มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับนิวตริโน พบว่าเมื่อรังสีคอสมิกกระทบชั้นบรรยากาศโลก นิวทริโนที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนรูปสลับไปมาระหว่างนิวทริโนสองชนิด ซึ่งอาจจะนำไปสู่ทฤษฎีทางฟิสิกส์ใหม่ ๆ ซึ่งบทคัดย่อได้รายงานใน PROGRAM BOOK ดังนี้ Abstract: In the Standard Model of particle physics, neutrinos have been assumed to have no mass. It was predicted that, if a neutrino has mass, it could change the type during the propagation, which is called neutrino oscillation. Neutrino oscillation was discovered in 1998 by the Super-Kamiokande experiments, which studies neutrinos produced by cosmic ray interactions in the atmosphere. I will discuss the discovery of neutrino oscillations. I will also discuss the implications of the small neutrino mass and the future prospects for neutrino experiments. ข้าพเจ้านำเสนอผลงานวิจัย ในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง “Total phenolic content of Nam Prik Ta-Daeng that includes Hibiscus sabdariffa L. and Piper retrofractum Vahl.” ซึ่งสรุปโดยย่อได้ดังนี้ The data indicate the formulations with added Hibiscus sabdariffa L. and Piper retrofractum Vahl. are significantly higher in total phenolic content than the traditional Nam Prik Ta-Daeng formulation. A sensory evaluation panel of all formulations revealed no significant consumer preference among formulations. These results are important in the quest to improve health through better nutrition. นอกจากนั้น มีงานวิจัยที่น่าสนใจอีกมากมายที่นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์และแบบปากเปล่า เช่น งานวิจัยในหัวข้อเรื่อง EFFECTS OF NATURAL FIBER WASTE AND COMMERCIAL FIBER ON THE PROPERTIES OF STARCH-BASED BIOPLASTICS, CHEMICAL COMPOSITION AND IN VITRO ANTIOXIDANT PROPERTES OF LOW-GRADE FRESH CACAO FRUIT (Theobroma cacao L.), ANTIOXIDANT ACTIVITY OF FOOD PLANTS AND APPLICATION IN SOY-BASED PROBIOTIC BEVERAGES, SCREENING OF PROTEOMICS COMPARISION ON FLOWER HONEY PRODUCTS BY USING SDS-PAGE ANALYSIS COMBINED WITH LC-MS เป็นต้น จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” ในครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดงานวิจัยใหม่ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย ข้าพเจ้าสามารถนำผลงานวิจัยไปนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยชาวต่างชาติ เพิ่มพูนแนวคิดที่หลากหลาย แล้วสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมมาประยุกต์ทำงานวิจัยในอนาคตและนำความรู้มาประกอบการสอนต่อไปในอนาคต
ข้าพเจ้า นางสาวธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัด สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The Pure And Applied Chemistry International Conference 2024 (PACCON 2024)” และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 26-27 มกราคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ตามหนังสือขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน เลขที่ อว 69.5.1.2.1/2312 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายพิเศษ โดย Professor Dr. Alexander Kuhn จากมหาวิทยาลัย Institute of molecular life sciences university of Bordeaux ประเทศ France ได้บรรยายพิเศษ Plenary Lecture ในหัวข้อเรื่อง "Unconventional Approaches to Energy Conversion" มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางที่แหวกแนวในการแปลงพลังงาน พลังงานปฐมภูมิ เป็นพลังงานในรูปแบบที่ยังไม่เปลี่ยนรูป เช่น พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น พลังงานเหล่านี้จะต้องถูกแปลงเพื่อนำไปใช้ในรูปของพลังงานขั้นสุดท้าย เช่น ความร้อน การเคลื่อนที่ และแสงสว่าง เป็นต้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของพลังงานจึงเป็นหลักสำคัญของการดำรงอยู่ของเราและมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือเศรษฐกิจสีเขียว การแปลงพลังงานมีหลายประเภท ซึ่งมีความสำคัญมากในชีวิตประจำวันของเรา การแปลงพลังงานที่แปลกใหม่นั้นเกี่ยวข้องกับการนำแนวคิดทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ มาร่วมกันทำงาน นอกจากนั้น มีงานวิจัยที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น งานวิจัยในหัวข้อเรื่อง Development of coffee silver skin into food beverage and testing antioxidant activity, Sensory attributes and antioxidant capacity of tomato meal extracts: A comparative analysis of enzymatic and ultrasonic extraction methods, Effects of Mangosteen peel extract against Staphylococcus aureus and Candida parapsilosis, Syntheses of curcumin derivatives and their biological activity against Staphylococcus aureus, และ Total phenolic content and antioxidant activity of Brassica napus var. pabularia (Red Russian Kale) เป็นต้น จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The Pure And Applied Chemistry International Conference 2024 (PACCON 2024)” ในครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดงานวิจัยใหม่ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย ข้าพเจ้าสามารถนำผลงานวิจัยไปนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยชาวต่างชาติ เพิ่มพูนแนวคิดที่หลากหลาย แล้วสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมมาประยุกต์ทำงานวิจัยในอนาคตและนำความรู้มาประกอบการสอนต่อไปในอนาคต
ข้าพเจ้า นางสาวธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์ ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สังกัด สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 18th International Symposium on Novel Aromatic Compounds (ISNA-18)” เมื่อวันที่ 20-28 กรกฎาคม 2562 ณ Sapporo Convention Center, Sapporo, Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ตามหนังสือขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ เลขที่ ศธ 0523.4.3/244 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายดังต่อไปนี้ Professor Rainer Herges จากมหาวิทยาลัย Christian-Albrechts-Universit?t zu Kiel ประเทศ Germany ปาฐกถา Nozoe Lecture ในหัวข้อเรื่อง “Molecular Spin Switching” ได้บรรยายเกี่ยวกับ การสลับกลับไปกลับมาของคุณสมบัติแม่เหล็กเป็นสมบัติของของแข็งทั่วไปในขณะที่การมีความเสถียรของแม่เหล็กที่เป็น bistability ของโมเลกุลที่แยกได้ภายใต้สภาวะ ambient conditions ได้รับความสำเร็จจนกระทั่งหลายปีที่ผ่านมา จำนวนของการใช้งานแอพริเคชันที่เกิดขึ้นใหม่กับระบบ solid state ทั่วไป หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลาย ๆ พื้นที่ เช่น เอเจนต์คอนทราสต์ เพื่อบันทึก 3D เทอร์โมแกรม โดย MRI การสลับการหมุนระดับโมเลกุลมีศักยภาพที่จะกระตุ้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพทางการแพทย์และการสปินทรอนิกส์ Professor Nazario Mart?n จากมหาวิทยาลัย Universidad Complutense de Madrid, ประเทศ Spain ปาฐกถา Plenary Lecturer ในหัวข้อเรื่อง "Synthetic Chiral Nanographenes" กราฟีนหรือแกรฟีน เป็นสารที่มีคุณสมบัติการสั่น การนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี กราฟีนมีความโปร่งแสงมากถึง 98 เปอร์เซ็นต์ นักวิจัยแขนงต่างๆ เช่น ทางด้านเคมี ทางด้านฟิสิกส์ และทางด้านวัสดุศาสตร์ จึงให้ความสนใจสารดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัสดุคาร์บอนชนิดใหม่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ เช่น จอภาพ แผง solar cell ที่โค้งงอได้ และ เซ็นเซอร์ เป็นต้น กราฟีนนาโนริบบอน มีโครงสร้างคล้ายรังผึ้ง มีขอบอยู่ 2 แบบ คือ ซิกแซก (Zigzag) กับ อาร์มแชร์ (Armchair) สมบัติทางไฟฟ้า คือ เป็นตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ ขึ้นอยู่กับลักษณะขอบของกราฟีน ซึ่งขอบแบบอาร์มแชร์ ทำให้เกิดการกรองกระแสสปินให้เหลือกระแสสปินแบบเดียว Mattias Wagner และคณะ ได้รายงานเกี่ยวกับสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่มีโบรอนที่เจือปน (B-PAHs) มีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีเยี่ยมและเป็นตัวปล่อยแสงที่มองเห็นได้ และคณะของ Holger F. Bettinger ได้มีการรายงานการสังเคราะห์สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่มีธาตุโบรอนและไนโตรเจนเจือปนได้สำเร็จ Jean-Francois Morin มีการรายงานการสังเคราะห์โมเลกุลนาโนกราฟีน (NGs) ด้วยปฏิกิริยา Photochemical reactions โดยมี activator คือ Lewis acid, Lewis base, alkali metal Masayoshi Takase และคณะ รายงานผลงานวิจัยเรื่อง โครงสร้างของสาร Pyrrole ต่อ กับสาร Azacoronene ทำให้คุณสมบัติอะโรมาติกเกิดการเปลี่ยนแปลง (Switching) ได้ Rik R. Tykwinski และคณะ มีการรายงานการสังเคราะห์สาร Graphyne nanoribbons (GyNRs) ซึ่งมีการทำนายว่าสารดังกล่าวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า “Wonder material” graphene Michel Rickhaus และคณะ มีการรายงานเกี่ยวกับ H?ckel Rules ของสารระดับ Nanoscale ของสารกลุ่ม Giant Porphyrin-Macrocycles นักเคมีมักใช้แนวคิดของความเป็นอะโรมาติกเพื่อวิเคราะห์ความเสถียรของโมเลกุลขนาดเล็ก ระนาบที่มีคุณสมบัติ [4n + 2] คอนจูเกต ไพ-อิเล็กตรอน ความเสถียรของความเป็นอะโรมาติกจางหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อขนาดของระบบเพิ่มขึ้นและได้รับการตั้งสมมติฐานว่าระบบที่มี 22 ?-อิเล็กตรอนเข้าใกล้ขีดจำกัดของความเป็นอะโรมาติก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานักเคมีอินทรีย์ได้ออกแบบระบบที่ท้าทายมุมมองนี้ คุณลักษณะที่ยืดหยุ่นได้มากที่สุดของสารประกอบอะโรมาติกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของพวกมันในสนามแม่เหล็กซึ่งทำให้เกิดกระแสวงแหวนของไดอะตอมโทรปิก จากการทดลองสามารถสังเกตได้จากการลดลงของลักษณะทางเคมีของเสียงสะท้อนที่อยู่ภายในวงแหวน ตรงกันข้ามในสารแอนตี้-อะโรมาติกที่มี [4n] ?-อิเล็กตรอนในกระแสวงแหวนและ Paratropic จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลง chemical shift จะมีค่าสูงขึ้น มีการรายงานการการคงอยู่ของกฎ H?ckel สำหรับวงแหวนขนาดใหญ่ porphyrin-based macrocycles ซึ่งมี 160 ?-electrons จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “The 18th International Symposium on Novel Aromatic Compounds (ISNA-18)” ในครั้งนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดงานวิจัยใหม่ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย ข้าพเจ้าสามารถนำผลงานวิจัยไปนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยชาวต่างชาติ เพิ่มพูนแนวคิดที่หลากหลาย แล้วสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมมาประยุกต์ทำงานวิจัยในอนาคตและนำความรู้มาประกอบการสอนต่อไปในอนาคต