#การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:12:40
เปิดอ่าน: 181 ครั้ง

นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขทะบียนห้องปฏิบัติการ สำคัญกับการกรอกข้อมูลในการขอทุนวิจัย การใช้ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี เป็นประเด็นที่ถูกดำเนินการใน วช. เรื่องมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในระบบ NRIIS เป็นการบังคับในการกรอกข้อมูล ในอนาคตนักวิจัยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลผลิตที่ท่านได้ มีการสืบย้อนกลับต้องไม่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นข้อหนึ่งในการพิจารณาในการพิจารณาการให้ทุนของ วช.

นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขทะบียนห้องปฏิบัติการ สำคัญกับการกรอกข้อมูลในการขอทุนวิจัย การใช้ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี เป็นประเด็นที่ถูกดำเนินการใน วช. เรื่องมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในระบบ NRIIS เป็นการบังคับในการกรอกข้อมูล ในอนาคตนักวิจัยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลผลิตที่ท่านได้ มีการสืบย้อนกลับต้องไม่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นข้อหนึ่งในการพิจารณาในการพิจารณาการให้ทุนของ วช. โดยแม่ข่ายช่วยขับเคลื่อนการทำงานของ วช. มียุทธศาสตร์การขับเคลื่อนความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1: การบริหารจัดการ และการขับเคลื่อนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการตามเป้าหมายสำคัญของประเทศ ** กลยุทธ์ -> ผลักดันให้เกิดหน่วยงานบริหารระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการภายในองค์กร และผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงกับการจัดสรรทุนวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม **

ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3: ผลักดันการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้เกิดความยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 4: สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการให้เกิดความยั่งยืน

การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง มาตรฐานการวิจัยในบริบทของ วช. เป็นกฏหมาย เช่น Biosafety ต้องมีการรับรอง และมีมาตรฐาน ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่มีสารเคมี มี พรบ. เขียนอยู่ มองไปที่เอกชนเรื่อง ESPReL เรามี มอก.2677 เป็นมาตรฐานของไทย ทำเป็น ISO ให้ต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม 4-5 ประเทศ สู่การยอมรับในระดับนานาชาติ ใช้ในการส่งออก หรือกระบวนการในการทำผลิตภัณฑ์ ทำให้เป็นระบบ Peer โดย Peer เป็นระบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ใช้ระบบ third party ตรวจเองไม่ได้ มีกลไกในการส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  1. ส่งเสริมการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  3. การสร้างเครื่อข่ายวิจัยภูมิภาคและมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมารตฐานปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
  4. กลไกการจัดสรรทุนวิจัยในแบบเสนอโครงการวิจัย โดยการ กรอกข้อมูลและแนบไฟล์เอกสารในระบบ NRIIS ได้แก่
  • หมายเลขทะเบียนห้องปฏิบัติการ
  • หนังสือรับรองห้องปฏิบัติการความปลอดภัย (การตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation)
  • หนังสือรับรองจากทางมหาวิทยาลัย
  • ใบรับรองนักวิจัยที่ดำเนินงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:45:19   เปิดอ่าน 139  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:12:21   เปิดอ่าน 277  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:17   เปิดอ่าน 361  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง