การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review)
วันที่เขียน 26/9/2566 3:20:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/9/2567 5:52:27
เปิดอ่าน: 231 ครั้ง

การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบหรือ Systematic Review คือกระบวนการวิจารณ์วรรณกรรมที่จัดทำโดยใช้ขั้นตอนและเครื่องมือที่มีระเบียบเพื่อสรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับหัวข้อหรือคำถามที่กำหนดไว้ วิธีการสังเคราะห์ดังกล่าวสำคัญในการประเมินข้อมูลที่มาจากหลายแหล่งและสร้างฐานความรู้ที่เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจทางวิชาการ

การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบหรือ Systematic Review คือกระบวนการวิจารณ์วรรณกรรมที่จัดทำโดยใช้ขั้นตอนและเครื่องมือที่มีระเบียบเพื่อสรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับหัวข้อหรือคำถามที่กำหนดไว้ วิธีการสังเคราะห์ดังกล่าวสำคัญในการประเมินข้อมูลที่มาจากหลายแหล่งและสร้างฐานความรู้ที่เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจทางวิชาการ ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ
มีลักษณะดังนี้:

  1. คำถามวิจัย: จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดคำถามวิจัยอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยจะช่วยกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรมว่าต้องการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นใดและสิ่งที่ต้องการตอบกลับ
  2. การค้นหาข้อมูล: จะมีกระบวนการค้นหาข้อมูลที่เป็นระเบียบและอย่างรอบคอบ ซึ่งจะครอบคลุมแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ฐานข้อมูลวิจัยทางการแพทย์ หรือวิชาการ
  3. การคัดเลือกข้อมูล: ข้อมูลที่ค้นพบสามารถคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เหมาะสมกับคำถามวิจัย การคัดเลือกนี้จะใช้กลุ่มผู้ทบทวนข้อมูลอย่างอิสระและมีการตรวจสอบและทบทวนอย่างละเอียด
  4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลที่ถูกคัดเลือกจะถูกวิเคราะห์อย่างรอบคอบ และมีการสรุปผลอย่างเป็นระเบียบและวิธีการทางวิชาการ
  5. การประเมินคุณภาพข้อมูล: จะมีการประเมินคุณภาพข้อมูล โดยใช้เกณฑ์ที่มีมาตรฐาน เพื่อคัดเลือกข้อมูลที่มีความเชื่อถือได้
  6. การสรุปผลและนำเสนอ: จะสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่คัดเลือกมาและนำเสนอในรูปแบบรายงานหรือบทความ ซึ่งจะตอบคำถามวิจัยและสนับสนุนการตัดสินใจในสาขาวิชาหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การใช้ Chat GPT เว็ปไซต์ https://swiftlet.co.th/chat-gpt/ เข้ามาช่วยในการทบทวนวรรณเป็นประโยชน์อย่างมาก

       Chat GPT (Chat Generative Pre-Trained Transformer) คือโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องที่ถูกพัฒนาโดย OpenAI โดยใช้เทคโนโลยี Transformer ในการประมวลผลข้อความและสร้างข้อความตอบกลับเป็นระบบแบบความสามารถในการสนทนา โดยจะมีข้อมูลจำนวนมากจากเว็บและข้อความที่พบบ่อยในระบบสนทนาเพื่อเรียนรู้และเข้าใจโครงสร้างและความหมายของข้อความ ด้วยการปรับปรุงโมเดลตลอดเวลา และสามารถสร้างข้อความตอบกลับที่มีความหมายและความน่าสนใจในหลายประเด็นต่าง ๆ เช่น การตอบคำถาม เขียนข้อความสรุป และมากมายอื่น ๆ
       Chat GPT จะช่วยงาน Systematic Reviews ได้ถึง 80 % โดยสามารถแนะนําขนาดตัวอย่างแนะนําวิธีการสุ่มตัวอย่าง แนะนําสถิติสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูล พร้มลักษณะตาราง แนะนำการเขียน และเขียนให้ในทุกขั้นตอน แต่เราต้องแทรก เพิ่มเติมข้อมูลของเราเองให้ถูกต้อง เพื่อให้มีน้ำหนักมากขึ้น จัดตารางเองนำข้อมูลจาก printout ใส่ในตารางเอง นํา Model Goodness of  Fit ใส่เอง นํา Coefficient ใส่ลงไปเอง ตรวจ Turnitin ด้วยทุกครั้งเมื่อทำงานเสร็จ

ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมแบบการอ่านอย่างมีระบบ

ขั้นตอนแรกของงานวิจัย

  1. ต้องมีประเด็นที่อยากรู้ก่อน และคิดว่ามีความจําเป็นต้องทําวิจัย ที่เรียกว่า ปัญหาวิจัย (Research problems)
  2. คําถามวิจัย จากปัญหาวิจัยที่อยากทําวิจัยก่อให้เกิดคําถามวิจัย (Research questions) อย่างน้อย 3 ข้อ โดยจะเรียงจากง่ายไปหายาก เช่น ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3
  3. ชื่อเรื่อง จากคําถามวิจัยจะได้ชื่อเรื่อง โดยการนํา Keywords จากคําถามวิจัยทุกข้อมา ผสมกัน ในลักษณะความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal relationships) 
  4. วัตถุประสงค์การวิจัย: มักจะขึ้นต้นด้วย เพื่อพิสูจน์ เพื่อค้นหาเพื่อทดลอง เพื่อวัด เพื่อวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบ เพื่อประเมิน เพื่อศึกษา ฯลฯ 

มีขั้นตอนที่สําคัญดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กําหนดคําหลัก กําหนดประเด็นหลัก (Domain) กําหนดประเด็นรอง (Sub-domain) ที่จะทําการอ่าน กําหนดเนื้อหา (Content) กําหนดประเภทงาน งานวิจัย (เชิงทดลอง เชิงปริมาณ ประชากร (Population) กลุ่มเรื่อง ฯลฯ ที่จะทํา การสังเคราะห์

ขั้นตอนที่ 2 กําหนดฐานข้อมูลที่จะอ่าน Scopus ISI ERIC SciDirect PUBMED Science Citation Index (SCI) ฐานข้อมูล Ei Compendex ฐานข้อมูล INSPEC เช่น จากฐานข้อมูล Science Direct ฐานข้อมูล PUBMED ฐานข้อมูล AGRICOLA (AGRI Culture Online Access ฐานข้อมูล ERIC (Education Database) และฐานข้อมูล PUBSCIENCE เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 กําหนด ช่วงปี (Timeline) เช่น ค.ศ. 1980-2021 ที่ จะทําการอ่านเพื่อการสังเคราะห์งานวิจัย

 

ขั้นตอนที่ 4 กําหนดเกณฑ์คัดเข้า เนื้อหาที่จะอ่าน หลาย ๆ ข้อ ตามที่เราต้องการ (การกําหนดเนื้อหาที่จะอ่าน) และเกณฑ์คัดออก (การกําหนดเนื้อหาจาก บทความที่เราจะคัดบทความออกโดยเราจะไม่อ่าน) เช่น ระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มประเด็นหลัก กลุ่มประด็นรอง ขนาดตัวอย่าง

ขั้นตอนที่ 5 เข้าสู่แหล่งบทความ เน้นฐานข้อมูลที่มาตรฐาน และทําการเลือกบทความตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้

ขั้นตอนที่ 6 บันทึกการทํางาน เขียนตั้งแต่เริ่มต้นอย่างเป็นระบบว่าทํากี่รอบ รอบแรกได้มาตามเกณฑ์คัดเข้า (Inclusion criteria) กี่บทความ รอบที่สองตัดตามเกณฑ์คัดออกแล้ว เหลือกี่บทความ

ขั้นตอนที่ 7 จัดบทความออกตามกลุ่มประเด็น ที่ต้องการ อ่านทบทวน (Reviews) ตามขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 8 อ่านบทความ ถ้าวิทยานิพนธ์จะอ่านผู้เดียว แต่ถ้าวิจัยทั่วไปอาจ แบ่งกลุ่มผู้อ่าน ส่วนใหญ่ จะ 3 คน ผู้อ่านต้องมีภูมิหลังทางการศึกษาและ เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะอ่านอย่างดี จะนิยมทํางานเป็นทีมเพื่อความเที่ยงธรรม ไม่ลําเอียง แต่ถ้าเป็นนักศึกษาระดับบัญฑิตศึกษา ต้องอ่านเองและต้องอ่านอย่างรอบคอบไม่ลําเอียง ด้วยการอ่านซ้ําหลาย ๆ รอบ อย่างน้อย 2 รอบ
        8.1 หลักของการอ่าน ต้องตระหนักเสมอว่า ชื่อเรื่องชี้และบ่งบอกถึงข้อค้นพบอันโดดเด่นของบทความ
        8.2 ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือใคร กี่คน ทําที่ไหน ประเทศอะไร เมืองอะไร สุ่มตัวอย่างอย่างไร เมื่อไหร่ ต้องมีการทําบันทึกย่อแบบการย่อความเขียนด้วยภาษาของเราเอง ห้ามคัดลอก ตัดต่อเด็ดขาด ต้องเขียนลงไป ตามแบบฟอร์มต่อไปนี้ และต้องไม่ยาวเกินกระดาษสองหน้า ตัวไม่ต้องเล็กมาก อ่านสบายๆอย่า จับใจความที่เป็นประเด็นหลักที่เราต้องการ ว่ามีอะไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 9  จัดทําบรรณานุกรม เอกสารอ้างอิง ตามระบบที่เราต้องการ 

ขั้นตอนที่ 10  กําหนดโครงบทที่ 2 ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีกลุ่มประเด็นที่จะสื่อออกมาอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 11 จัดกลุ่มประเด็นหลักและกลุ่มประเด็นรอง ทําการเขียนแบบเล่าเรื่อง ด้วยการประมวลเนื้อหาจากการอ่านของเราอย่างเป็นระบบ สรุปรวบยอดเนื้อความ ตามกลุ่มประเด็นที่เราอ่านเป็นภาษาของเราเอง แล้วอ้างอิงแบบ APA หรือ Vancouver 

ประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ Systematic Reviews
         สามารถใช้ในการเขียนโครงการวิจัยช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในโครงการ ช่วยในการวางแผนและดำเนินการวิจัยที่มีความสอดคล้องและเป็นระเบียบ และช่วยในการตัดสินใจทางวิชาการบนพื้นฐานและเหตุผล ดังต่อไปนี้

  1. ทำให้การดำเนินงานวิจัยที่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากจะช่วยในการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานวิจัยที่มีมาตรฐานและเป็นระเบียบ ทำให้โครงการวิจัยมีความชัดเจนและเป็นไปตามขั้นตอนที่เข้าใจง่าย
  2. ทำให้โครงการวิจัยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจช่วยในการขอทุนการวิจัยและเปิดโอกาสให้กับโครงการได้มากขึ้น
  3. ทำให้มีการเตรียมความรู้เบื้องต้น โดยจะช่วยในการรวบรวมและสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ
    ซึ่งทำให้ทีมวิจัยมีความรู้เบื้องต้นที่มีความครอบคลุมและเข้าใจเพิ่มขึ้น
  4. ทำให้ลดความสับสนและการซ้ำซ้อนในการวิจัย โดยช่วยลดความสับสนที่อาจเกิดจากข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกัน และลดการซ้ำซ้อนในการทำงานวิจัย

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 2:11:40   เปิดอ่าน 57  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 3:54:35   เปิดอ่าน 100  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง