|
|
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง บทความอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
845
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:56:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:15:31
|
|
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ กรณีรายการภาพยนตร์น่าสนใจในรอบปี [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 3of5 / 2564]
|
ที่มา
(1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด
(2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้
วิธีการ
(3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน
(4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป
ผลลัพธ์
(5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้
(6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด
(7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย
-- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานเทคนิค (ห้องสมุด) ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1411
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
14/7/2564 10:06:42
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 18:52:48
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ดีเด่น : งานเทคนิคห้องสมุด : Flow chart ขั้นตอนงานแบบพิเศษ
|
สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรภายในใหม่ งานด้านบริการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศหลักที่ผู้ใช้นิยมใช้งานคือภาพยนตร์นั้น ได้ปรับเปลี่ยนสายงานไปอยู่ภายใต้สายงานใหม่ และทีมงานในสายงานใหม่ได้มีการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ผู้เขียน blog ได้นำเสนอประเด็นงานหนึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนงานเทคนิคห้องสมุดเพื่อจัดทำคอลเลคชันและฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่างๆ โดยทั่วไป
ในการนำเสนอขั้นตอนงาน ได้มีการจัดทำแผนผังงาน Flow chart ประกอบ แสดงขั้นตอนงานแบบพิเศษ (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผู้เขียน blog รับผิดชอบ) ที่มีการจัดการฐานข้อมูลปกติของห้องสมุด (ระบบโปรแกรม ALIST) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (ระบบโปรแกรม CDS/ISIS, Elib) รายละเอียดมีค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามได้คัดขั้นตอนงานโดยสรุปมานำเสนอ เพื่อผู้สนใจสามารถมองเห็นประเด็นหรือแนวทางเบื้องต้นของขั้นตอนงานแบบพิเศษนี้ได้
อนึ่ง การนำเสนอข้อมูลในเวที KM web ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจไม่รองรับการนำเสนอภาพ Flow chart หรือภาพ scan ผู้เขียนจึงเสนอเพียงข้อความเท่านั้น
ขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ดีเด่น แบบพิเศษ
0 ข้อมูลเบื้องต้น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (CDS/ISIS) ฐาน Film
1 คัดเลือกการนำเข้าคอลเลคชัน
2 ตรวจสอบการซ้ำซ้อนข้อมูลที่มี
3 (ถ้าซ้ำ Copy) พิจารณาจะเพิ่มหรือไม่
4 กำหนดเลขรหัส CDT (เลข CDT ตามเดิม กรณีซ้ำ ; เลข CDT ใหม่ กรณีไม่ซ้ำ)
5 ตรวจสอบข้อมูลว่ามีในฐานข้อมูล Film หรือไม่
6 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) วิเคราะห์และทำรายการบรรณานุกรม MARC
7 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล Film
8 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
9 บันทึกข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา หัวเรื่อง ฯลฯ
10 คัดเลือกและถ่ายข้อมูลรายการเข้าฐานห้องสมุด ด้วยไฟล์ ISO-2709 data exchange format
ก. ฐานข้อมูลห้องสมุดระบบหลัก (ALIST)
ข. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) (Elib)
ค. ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น Video on demand (VOD) (TASLiB) ; UC (union catalog)
11 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติม เช่น การถ่ายโอน รหัสคอลเลคชัน ภาพปก
12 จัดเตรียมตัวสื่อ เช่น สติกเกอร์ บาร์โคด ชั้นวาง
13 บันทึกข้อมูลรายการสื่อแต่ละชิ้น (Item) ในระบบ ALIST
14 จัดทำข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพปก แฟ้มช่วยค้น ป้าย ปชส
15 บำรุงรักษาฐานข้อมูล (สำเนา, update, edit)
16 ประเมินงาน สถิติ รายงาน วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนางาน
ข้อมูลโดยละเอียดมีมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นแง่สื่อภาพยนตร์ แง่การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร แง่การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือต่างสถาบัน หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
|
คำสำคัญ :
Flow chart การพัฒนาคอลเลคชันห้องสมุด ฐานข้อมูล ผังงาน ภาพยนตร์ วิธีทำงาน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2275
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
18/9/2562 17:22:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:03:55
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การประเมินคอลเลคชันสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ : การศึกษาเปรียบเทียบ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับห้องสมุดอื่น
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัยครั้งนี้ (2) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคอลเลคชันของห้องสมุดอื่นที่ต้องการเทียบเคียง ในด้านจำนวนสื่อภาพยนตร์ (คอลเลคชันแต่ละแห่ง) และด้านข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ (ความละเอียดของข้อมูลบรรณานุกรม) โดยมีสมมติฐานว่า (1) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐาน และ (2) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนสื่อโดยเฉลี่ยที่มีในห้องสมุดต่างๆ ที่เปรียบเทียบกัน การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยหลักเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสำรวจจำนวนสื่อ
ภาพยนตร์ที่เป็นคอลเลคชันในห้องสมุดต่างๆ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาลักษณะข้อมูลการทำรายการสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดต่างๆ ผ่านบริการสืบค้นข้อมูล OPAC (online public access catalog) ของห้องสมุดที่ต้องการเทียบเคียงกัน ประชากร คือรายการข้อมูลบรรณานุกรมภาพยนตร์ในฐานข้อมูลห้องสมุด แหล่งประชากร คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับพัฒนาคอลเลคชันสูง โดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 4 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 แห่ง รวม 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) โปรแกรม CDS/ISIS, โปรแกรม Film_opac ที่ใช้งานบนโปรแกรม Elib (2) รายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัย และ (3) แบบบันทึกข้อมูลการทำรายการบรรณานุกรมของห้องสมุดต่างๆ (ความละเอียดของข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ข้อมูลภาพยนตร์จัดทำบนโปรแกรม CDS/ISIS และถ่ายข้อมูลบริการบนเว็บ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php มีจำนวน 12,958 รายชื่อ ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ดีเด่น ตามเกณฑ์ 5,214 รายชื่อ (ร้อยละ 40.24) เมื่อคัดกรองรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นเพื่อใช้ในการวิจัยคงเหลือ 2,924 รายชื่อ เป็นภาพยนตร์ไทยร้อยละ 15.94 ภาพยนตร์ต่างประเทศร้อยละ 84.06 เป็นภาพยนตร์ในช่วงปี 1970-1999 ร้อยละ 49.01, ปี 2000-2009 ร้อยละ 31.46 และปี 2010-ปัจจุบัน ร้อยละ 19.53 ประเภทภาพยนตร์ที่มีมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ ภาพยนตร์ชีวิต ภาพยนตร์ตลกขบขัน ภาพยนตร์ต่อสู้ ภาพยนตร์ผจญภัย และภาพยนตร์รัก
2. เกณฑ์ในการกำหนดภาพยนตร์ดีเด่นที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) ภาพยนตร์ไทยรางวัลสำคัญ 4 รางวัล (2) ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ ช่วง 1970-ปัจจุบัน ตามสาขาที่กำหนด (3) ภาพยนตร์ลำดับคะแนนสูง Top 250 จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนตร์ IMDb.com (4) ภาพยนตร์รายได้สูง จากเว็บไซต์ Mojo.com
3. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับเกณฑ์หรือรายชื่อสื่อที่มีมาตรฐาน พบว่า มีในคอลเลคชันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 909 รายชื่อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.09 ของภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50.00 การทดสอบสมมติฐานข้อ 1 จึงปฏิเสธสมมติฐาน
4. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันห้องสมุด 5 แห่ง คือ 909 : 1057 รายชื่อ จึงมีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 148 รายชื่อ โดยสัดส่วนภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 86.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 75 เมื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 2 จึงยืนยันสมมติฐาน
5. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ 2 แห่ง (IFLIX, Hollywood-HDTV) คือ 909 : 454 หรือ 1 : 0.5 หรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีขนาดคอลเลคชันใหญ่กว่า 2 เท่า
6. การประเมินข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุด 5 แห่งคือ 17 ข้อ: 12.2 ข้อ สรุปว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการลงรายการข้อมูลภาพยนตร์ละเอียดกว่าห้องสมุดอื่น
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ; การเทียบเคียงสมรรถนะ ; มาตรฐานห้องสมุด
|
คำสำคัญ :
การเทียบเคียงสมรรถนะ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ภาพยนตร์ มาตรฐานห้องสมุด
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3089
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:36:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:08:55
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นจากบริการห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภท
|
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมและคัดเลือกรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ควรจัดบริการในห้องสมุด (2) เพื่อสำรวจการเข้าถึงภาพยนตร์ดีเด่นจากห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภทที่น่าสนใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น แหล่งประชากรคือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (8 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (3 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (2 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ (ถูกลิขสิทธิ์) (3 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ (3 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS ของ Unesco, Elib, FilmOPAC สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยมีดังนี้
1. รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รวบรวมได้ 4,750 รายชื่อ นำเสนอไว้ในฐานข้อมูลภาพยนตร์
ดีเด่น (https://library.mju.ac.th/film/)
2. เกณฑ์การกำหนดรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น คือ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ เน้นภาพยนตร์อเมริกัน (2) ภาพยนตร์ได้รับรางวัล (3) ภาพยนตร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นภาพยนตร์ดีหรือน่าสนใจโดยแหล่งที่น่าเชื่อถือ (4) ภาพยนตร์ทำรายได้สูงจากการฉาย (5) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ของประเภท/แนวภาพยนตร์ และช่วงปี (6) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ตามหัวข้อเนื้อหา (topics) หัวเรื่อง
3. การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่น 4,750 เรื่อง พบว่า แหล่งที่มีภาพยนตร์ดีเด่นจากมากไปน้อยคือ (1) ห้องสมุด (62.15%) (2) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น 037hd.com) (52.36%) (3) แหล่งจำหน่ายภาพยนตร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น LineDVD.com) (49.71%) (4) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ถูกลิขสิทธิ์ (เช่น CAP, LidoDVD) (37.54%) และ (5) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (เช่น IFLIX) (15.41%) ตามลำดับ ผลรวมของจำนวน
ภาพยนตร์ดีเด่นที่พบในทุกแหล่งหลังหักรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว มีจำนวน 3,488 รายชื่อ (73.43% ของรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด) หรือในทางตรงข้ามคือ รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ไม่พบในแหล่ง
ข้อมูลใดๆ จำนวน 1,262 รายชื่อ (26.57%)
คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; แหล่งสารสนเทศ ; ฐานข้อมูล ; การเข้าถึงสารสนเทศ ; การพัฒนาคอลเลคชัน
|
คำสำคัญ :
การเข้าถึงสารสนเทศ การพัฒนาคอลเลคชัน ฐานข้อมูล ภาพยนตร์ แหล่งสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2726
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
21/9/2561 11:25:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 20:03:50
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|