มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ด้านการเกษตร ที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาและการวิจัย ประกอบกับประเด็นท้าทายในเรื่องของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย อันเป็นแรงขับ เคลื่อนให้มหาวิทยาลัยต้องปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
ทั้งนี้ การมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยเริ่มจากภูมิภาคอาเซียนสู่ระดับโลก มีระบบการบริหารจัดการที่ให้บริการแก่บุคลากร นักศึกษาต่างชาติอย่างเป็นระบบ มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงในทุกกิจกรรมโดยมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศด้านวิชาการ ฯลฯ ที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ และมีฐานข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนานาชาติ ที่เผยแพร่ได้หลากหลายช่องทาง เพื่อก่อให้เกิด Visibility ในสังคมอุดมศึกษา
แนวปฏิบัติที่ดีของการดาเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
1. มหาวิทยาลัยมีแผนยุทธศาสตร์/ แผนการดำเนินงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลสารสนเทศที่แสดงถึงความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่
ฐานข้อมูลนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน, ฐานข้อมูลการจัดกิจกรรมทางวิชาการนานาชาติ และมีฐานข้อมูลความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (MOU/MOA) และผลการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือฯ ภายใต้สัญญาความร่วมมือดังกล่าว
3. มหาวิทยาลัยมีเว็บไซต์ของหน่วยงานเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษาของประเทศเป้าหมายรวมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา, อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/ อาจารย์แลกเปลี่ยน ทั้งนี้ อาจมีข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม การแสดงความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และข้อมูลการสอบถามและข้อเสนอแนะ
4. มหาวิทยาลัยมีกระบวนงาน/ ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อดูแลและให้บริการนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน เช่น มีคู่มือ (Guide book/Survival Guide) สำหรับนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ หรือเอกสารที่แสดงว่าได้นำไปใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5. มหาวิทยาลัยมีข้อมูลที่แสดงถึงสัดส่วนของสัญญา/ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/ MOA) ที่มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (Active) รวมทั้งแนวทางการจัดการสัญญา/ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ที่ไม่มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
6. มีการกำหนดเกณฑ์/เครื่องมือ ที่ใช้ในการเทียบโอนหน่วยกิต และมีหลักฐานการถ่ายโอนหน่วยกิต หรือ Degree supplement
7. มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานผลที่ได้
8. มีความพร้อมด้านคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน มีโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และให้บริการนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ เช่น มีหอพักที่ปลอดภัยและอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ดีพอควร หรือบริการจัดหาหอพักที่เป็นระบบ
9. มีระบบและกลไกในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างชาติ ที่มีความสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายด้านความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย
10. มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ/ หลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ความพร้อมด้านคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัด
การเรียนการสอน กิจกรรมสนับสนุนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ การให้บริการสำหรับนักศึกษาต่างชาติ และมีบรรยากาศความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา
แนวทางการมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ
- ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ทั้งในระดับนโยบาย ระดับสถาบัน ระดับคณะ ที่จะมีปณิธานและ
ความมุ่งมั่นชัดเจนในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติอย่างเป็นระบบ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมสำหรับบุคลากรทุกกลุ่มและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมหาวิทยาลัย
2. การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการเทียบเคียง (Benchmarking) เพื่อจะได้ทราบถึงตำแหน่งของมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยที่มีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องของลักษณะของมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย แหล่งงบประมาณ เป็นต้น
3. การสนับสนุนนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Exchange Program) อย่างเป็นระบบ โดยได้รับการสนับสนุนในระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย
4. มหาวิทยาลัยมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเรื่องเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญ งบประมาณ รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงาน และให้ความสำคัญต่อคุณภาพของบุคลากรเป็นหลัก โดยจะต้องมีการมอบหมายคนที่มีคุณภาพให้ทำงาน
ที่เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของผู้ประสานเครือข่าย
5. การวางกรอบการทำงานระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบาย และความยั่งยืนในการพัฒนา โดยการระบุทิศทาง กลยุทธ์และกรอบเวลาที่ชัดเจน มีการทบทวน การแบ่งปันข้อมูลความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารจัดการ
6. การสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างและประสานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และรวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรในทุกระดับ
แนวคิดการพัฒนากลยุทธ์สู่ความเป็นนานาชาติ
- ยกระดับพันธกิจสู่ความเป็นนานาชาติ
– พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย นำมาเลือกพัฒนายกระดับให้มีความเข้มแข็ง ประกอบกับงาน
วิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา เช่นการคัดเลือกหลักสูตรเดิมที่มีความพร้อมและพัฒนาให้เป็นหลักสูตร English Program และการสร้างหลักสูตรใหม่ที่เป็นความร่วมมือในรูปแบบของ Sandwich Program/Dual Program โดยมีเนื้อหาตามกรอบมาตรฐาน TQF
- การแสวงหาแหล่งทุนจากองค์กรในต่างประเทศ เช่น SEARCA เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษา
ต่างชาติเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้น โดยมุ่งเน้นหลักสูตรที่เป็น Global Trend
- การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นนวัตกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการใช้
LMS การใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Thailand Cyber University
- การสนับสนุนและพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะที่รองรับการทางานของบุคลากร นักศึกษา
ต่างชาติ รวมทั้งการจัดระบบ Central Laboratory Management เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงเครื่องมือ
- การส่งเสริมการทำงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ที่เน้นการทำงานในระดับนานาชาติหรือการทำ
งานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่มี MOU เป็นงานวิจัยในเชิงพัฒนาองค์ความรู้เชิงธุรกิจ
- การสร้างเครือข่ายด้านศิลปะและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียน ด้วยการจัดโครงการศิลปะ
และวัฒนธรรมสัญจร การเรียนรู้/การให้ความรู้และประสบการณ์ด้านภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง
- การส่งเสริมงานบริการวิชาการ ทั้งแบบที่เป็น The Star และ Cash cow ไปสู่ประชาคมอาเซียน
เพื่อสร้างเส้นทางการเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเป็นนานาชาติ เป็นการดำเนินการด้านกายภาพ ได้แก่
- การจัดทำระบบป้าย ระบบสัญจร การจัดสร้างอาคารที่พักอาศัย พื้นที่กิจกรรม สภาพภูมิทัศน์
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับบุคลากรและนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสใช้และสร้างประสบการณ์ร่วม เพื่อคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมในระดับนานาชาติอย่างเป็นธรรมชาติ
- การจัดทำระบบการดูแลนักศึกษา/บุคลากรต่างชาติ ทั้งที่มาศึกษาต่อหรือแลกเปลี่ยน เช่น การจัด
ทำคู่มือหน่วย VISA การประกันสุขภาพ การจัดทำ Work Permit ฯลฯ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความสะดวกสบาย
- การจัดสร้างอาคารนานาชาติ เพื่อรองรับการขยายงานในอนาคต
- ระบบการบริหารจัดการ เป็นการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อส่งเสริม
ให้เกิดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของความเป็นนานาชาติอย่างแท้จริง ประกอบด้วย
- การจัดทำ International Zone โดยการรวมหน่วยงานกลุ่มภารกิจบัณฑิตศึกษา, ศูนย์ภาษา และ
กองวิเทศสัมพันธ์ ให้มีพื้นที่การทำงานร่วมกัน (อาคารกองกิจการนักศึกษาเดิม) เพื่อประโยชน์ในการให้ บริการอย่างครบวงจร
- การจัดทำฐานข้อมูลที่แสดงความเป็นนานาชาติ ประกอบด้วยฐานข้อมูลนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ
และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน ฐานข้อมูลการจัดกิจกรรมตามข้อตกลงทางวิชาการนานาชาติ ฐานข้อมูลความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (MOU/MOA) และผลการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือภายใต้สัญญาความร่วมมือ ฯลฯ
- การพัฒนาระบบ One stop service ให้บริการอย่างหลากหลาย ครอบคลุมช่องทางการติดต่อ
ทั้ง Online หรือ Walk in
- การพัฒนาความพร้อมของบุคลากรสายสนับสนุนในหน่วยงานหลักทั้ง 3 หน่วย เพื่อการให้บริการ
กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ
- การจัดทำระบบรองรับการแลกเปลี่ยนนักศึกษา หรือการเข้าศึกษาสาหรับนักศึกษาต่างชาติ
เช่น การเทียบโอนผลการเรียน ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
- การจัดทำตารางกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติที่สอดคล้องกันทั้ง
ระบบจากหน่วยงานในระดับหลักสูตร สาขา คณะวิชา และมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นการบูรณาการงานกิจกรรม และงานวิชาการเข้าด้วยกัน (ต่อยอดจากในมหาวิทยาลัยที่กำลังดำเนินการอยู่)
- คัดเลือกและสนับสนุนให้มีคณะ/สาขาวิชา เข้าร่วมโครงการนำร่องวิทยาลัยนานาชาติ
- การสร้าง Visibilityในระดับสากล – เป็นการดำเนินงานใหม่หรือพัฒนางานที่มุ่งสู่ความเป็น
นานาชาติที่มีอยู่เดิมให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย การสนับสนุนคณาจารย์ บุคลากร ให้ใช้ประโยชน์จาก Modern Communication Technologies ไปบูรณาการในพันธกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานของคณาจารย์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตลอดจนการให้การสนับสนุนวารสารวิชาการคุณภาพของมหาวิทยาลัย MIJST ให้รักษาระดับคุณภาพของมาตรฐานสากลไว้อย่างยั่งยืน
- การแนะนำการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของ Social Network เช่น การพัฒนา Facebook ให้
เป็นช่องทางการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่าในการเผยแพร่องค์ความรู้ (After sale service)
- การจัดการศึกษาข้ามพรมแดนในรูปแบบต่างๆ Transnational Education
- การพัฒนาเนื้อหาใน Website ให้เป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นจากทั่วทุกมุมโลก มีข้อมูลการเผยแพร่
ในระดับนานาชาติ มีการ Update ข้อมูลด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความพร้อมในการจัดอันดับของ Webometrics Ranking
- การเตรียมคณาจารย์ – จากปัจจัยท้าทายทั้งในระดับอาเซียนและระดับโลก ทำให้คณาจารย์และ
บุคลากรต้องมีการปรับตัว การพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีศักยภาพในทุกด้าน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีคณาจารย์บางส่วนที่มีศักยภาพ ดังนี้
- คัดเลือกกลุ่มคณาจารย์ที่มีความพร้อมด้านการสอน การวิจัย ที่มีผลงานในเชิงประจักษ์ ให้มี
โอกาสร่วมทีมการเดินทางกับผู้บริหารไปยังประเทศกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำเสนอผลงาน และต่อยอดไปสู่การสร้างเครือข่าย
- ควรมีการสนับสนุนกลุ่มคณาจารย์ที่ต้องการการพัฒนา โดยการทางานร่วมกันระหว่างคณะ
และกองการเจ้าหน้าที่ เน้นการได้รับประสบการณ์จากต่างประเทศในระดับภูมิภาคอาเซียน สู่ระดับโลกต่อไป
- การเตรียมนักศึกษา – ในประเด็นการท้าทายดังกล่าว บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยต้องมี
คุณลักษณะและศักยภาพที่เข่งขั้นได้ในตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อรองรับเสรีประชาคมอาเซียน จึงมีการดำเนินงาน ดังนี้
- การจัดหลักสูตรศึกษาทั่วไปใหม่ทางเลือกที่เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลง
ของประเทศและของโลก ประมาณ 10 รายวิชาและปรับปรุงรายวิชาศึกษาทั่วไปเดิมให้ทันสมัยมากขึ้น
- การสร้างความตระหนักและการรับรู้ของนักศึกษาผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่มีบุคลากร นักศึกษาต่างชาติ
เข้าร่วมกับนักศึกษาไทย
- การสนับสนุนให้นักศึกษามีประสบการณ์ในต่างประเทศ เช่น สหกิจศึกษา การฝึกงาน การศึกษา
ระยะสั้น การเทียบโอนหน่วยกิต