การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นจากบริการห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภท
วันที่เขียน 21/9/2561 11:25:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:50:58
เปิดอ่าน: 2690 ครั้ง

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมและคัดเลือกรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ควรจัดบริการในห้องสมุด (2) เพื่อสำรวจการเข้าถึงภาพยนตร์ดีเด่นจากห้องสมุด และแหล่งบริการบางประเภทที่น่าสนใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น แหล่งประชากรคือห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (8 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (3 แห่ง) แหล่งสารสนเทศภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (2 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ (ถูกลิขสิทธิ์) (3 แห่ง) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ (3 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS ของ Unesco, Elib, FilmOPAC สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยมีดังนี้ 1. รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รวบรวมได้ 4,750 รายชื่อ นำเสนอไว้ในฐานข้อมูลภาพยนตร์ ดีเด่น (https://library.mju.ac.th/film/) 2. เกณฑ์การกำหนดรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น คือ (1) ภาพยนตร์ต่างประเทศ เน้นภาพยนตร์อเมริกัน (2) ภาพยนตร์ได้รับรางวัล (3) ภาพยนตร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นภาพยนตร์ดีหรือน่าสนใจโดยแหล่งที่น่าเชื่อถือ (4) ภาพยนตร์ทำรายได้สูงจากการฉาย (5) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ของประเภท/แนวภาพยนตร์ และช่วงปี (6) ภาพยนตร์กลุ่ม Top ตามหัวข้อเนื้อหา (topics) หัวเรื่อง 3. การเข้าถึงสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่น 4,750 เรื่อง พบว่า แหล่งที่มีภาพยนตร์ดีเด่นจากมากไปน้อยคือ (1) ห้องสมุด (62.15%) (2) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น 037hd.com) (52.36%) (3) แหล่งจำหน่ายภาพยนตร์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น LineDVD.com) (49.71%) (4) แหล่งจำหน่ายซีดีภาพยนตร์ถูกลิขสิทธิ์ (เช่น CAP, LidoDVD) (37.54%) และ (5) แหล่งภาพยนตร์ออนไลน์ระบบสมาชิก (เช่น IFLIX) (15.41%) ตามลำดับ ผลรวมของจำนวน ภาพยนตร์ดีเด่นที่พบในทุกแหล่งหลังหักรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว มีจำนวน 3,488 รายชื่อ (73.43% ของรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด) หรือในทางตรงข้ามคือ รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ไม่พบในแหล่ง ข้อมูลใดๆ จำนวน 1,262 รายชื่อ (26.57%) คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; แหล่งสารสนเทศ ; ฐานข้อมูล ; การเข้าถึงสารสนเทศ ; การพัฒนาคอลเลคชัน

[หมายเหตุ ดูเอกสารรายงานผลการวิจัยได้จากห้องสมุด ; ดู บทที่ 5 สรุปและบทคัดย่อ จากเอกสารแนบ]

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical C...
item  รายการทรัพยากรวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 9:56:46   เปิดอ่าน 93  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบ...
item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 10:38:21   เปิดอ่าน 83  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » คู่มือการปฏิบัติงาน ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เวอร์ชั่น 4.0.2009 ซึ่งการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารจะใช้โปรแกรมย่อยของระบบควบคุมวารสาร (Serial Control Module) เพื่อควบคุมก...
ALIST  ทะเบียนวารสาร  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:20:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 10:12:54   เปิดอ่าน 88  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการ...
ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:58:39   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » บรรณานุกรมรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยหมายถึง การเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย รวมถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัย และผู้เกี่ยวข้...
บรรณานุกรม  รายงานการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:03:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:03:49   เปิดอ่าน 85  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง