ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของประเทศ
วันที่เขียน 28/9/2559 13:23:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 13:25:12
เปิดอ่าน: 3783 ครั้ง

การรายงานสรุปการสัมมนา ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย โครงการ “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers)(แม่ไก่) และโครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) วันจันทร์ ที่ 26 กันยายน 2559 เวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม โรงแรมมารวย การ์เด้นท์ กทม.

       การสัมมนาเริ่มต้นด้วยการปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยของประเทศ" โดยศาสตรจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ(วช.) สรุปได้ว่า มีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบวิจัยแห่งชาติ โดยอาศัย ม.44 ประกาศยุบ 3 คณะกรรมการ รวมถึงคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และยุบสภาวิจัยแห่งชาติ แต่จะเกิดองค์กรใหม่ เป็นสภานโยบายระบบวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ประมาณนี้) ซึ่งจะมีกรรมการรวม 37 คน โดยแบ่งหน่วยงานวิจัยเป็น 7 ระดับ คือ 1) ระดับนโยบาย 2) ระดับจัดสรรทุน 3) ระดับทำวิจัย 4) ระดับจัดการงานวิจัยจนใช้ประโยชน์ 5) ระดับงานทดสอบ สอบเทียบมาตรฐาน 6) ระดับรับรองมาตรฐาน 7) ระดับผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งคงมีประกาศออกมาเร็วๆ นี้

  ต่อจากนั้นเป็นการเสวนา "ประสบการณ์การดำเนินโครงการวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัยที่ผ่านมา" โดยพระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, รศ., รศ.ดร.กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์, อ.ศุภชาติ เสถียรธนสาร ดำเนินการโดย นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สรุปได้ว่า หลักสูตรการอบรมแม่ไก่ ลูกไก่นั้น ผ่านการตรวจสอบหลักสูตรมาอย่างดีแล้ว อย่างไรก็ตาม จะมีการปรับปรุงต่อไปในข้อจำกัดที่ทำให้แม่ไก่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และสามารถใช้แม่ไก่ได้ทุกเล้าทั่วประเทศ ส่วนแม่ไก่เองก็จะมีการพัฒนาระบบให้แม่ไก่สามารถเป็นวิทยากรที่มีเทคนิคดีขึ้น เพื่อให้แม่ไก่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และ วช.จะพิจารณาในการนำ power point ที่แม่ไก่ทำไว้ดีๆ นั้น รวมถีงตัดต่อ VDO ส่วนที่ดีๆ upload ไว้ให้แม่ไก่ได้เข้าไปใช้ได้ด้วย เป็นการแลกเปลี่ยนกันระหว่างแม่ไก่ หน่วยงานเครือข่ายได้มีความพยายามจัดโครงการต่อเนื่องให้แม่ไก่ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองต่อไป และมีข้อเสนอว่า น่าจะมีอีกช่องทางหนึ่งที่จะบูรณาการให้ลูกไก่และแม่ไก่ทำงานร่วมกัน ไม่ใช่อบรมเสร็จแล้วต่างคนต่างแยกไป ทำให้นักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) ไม่ได้ทำงานต่อยอด ซึ่งทาง วช. รับทำฐานข้อมูลแม่ไก่แบ่งตามความเชี่ยวชาญแต่ละหมวด เพื่อให้ลูกไก่สะดวกในการค้นหาแม่ไก่ตามที่ตนสนใจ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากย่าไก่ คือ แม่ไก่อาจทำ Small program research คือ แม่ไก่เขียนโครงการขึ้นมาแล้วให้ลูกไก้ที่สนใจงานด้านต่างๆ มาทำงานวิจัยร่วมกัน ก็จะเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้ลูกไก่

การสัมมนาครั้งนี้ ปิดท้ายด้วยการแบ่งกลุ่มย่อย ซึ่งผู้เขียนอยู่ในกลุ่ม "การเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" ซึ่งจะสรุปและนำเสนอในบทความต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมากับการทำเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 4:41:46   เปิดอ่าน 1616  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง