ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ : Smart Laboratory
QR_LIMS ระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ยุคไทยแลนด์ 4.0
พัฒนาโดยศูนย์บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการจัดการระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการแบบอัตโนมัติ ครอบคลุมการทำงานตั้งแต่ การรับ-ส่งตัวอย่างจากผู้ใช้บริการ การกรอกผลวิเคราะห์ การรางงานผลการวิเคราะห์/ทดสอบ เป็นรูปแบบไฟล์ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการและขยายฐานผู้ใช้บริการทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มรายได้จากการบริการวิชาการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับห้องปฏิบัติการอื่น และเป็นหน่วยงานต้นแบบระดับประเทศของการนำนวัตกรรมมาใช้งานได้จริง โดยมีขั้นตอนดังนี้ เริ่มต้นจากการส่งตัวอย่างมายังห้องปฏิบัติการ ออกคิวอาร์โค้ดตัวอย่าง นักวิทยาศาสตร์ทำการทดสอบ การกรอกผลเข้าฐานข้อมูล หัวหน้าวิเคราะห์ผล และการส่งตัวอย่างคืนแก่ลูกค้า ซึ่งได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการของ ISO/IEC 17025
การจัดการครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย
โดยคุณกิตติ ปานมณี เป็นการนำสื่อเข้ามาช่วยให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลที่กระชับ รวดเร็ว ใช้งานง่าย และปลอดภัยจากโรคระบาดในปัจจุบัน การถ่ายทอดวีดีโอการสอนใช้เครื่องมือจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นำมาใช้ ซึ่งทุกคนสามารถเรียนรู้และทำเองได้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้งานเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องมีผู้ดูแลมาสอนใช้ซ้ำ ลดความเสียหายของเครื่องมือ และสามารถส่งสื่อการใช้เครื่องมือให้ศึกษาล่วงหน้าก่อนการใช้งานจริง ขั้นตอนการทำสื่อวีดีโอ ดังนี้
- การลำดับขั้นตอนในการใช้เครื่องมือนั่นๆอาจเป็นรูปแบบการวาดรูป หรือการเขียนข้อความ เป็นต้น
- การซักซ้อมการนำเสนอและจับเวลา ไม่ควรเกิน 15 นาที
- เริ่มถ่ายวีดีโอจริง โดยใช้กล้อง และทำการตรวจสอบคุณภาพของภาพและเสียงก่อนทำการตัดต่อ
- หาแหล่งอัพโหลดวีดีโอ
- เมื่ออัพโหลดเรียบร้อยแล้วจัดการทำ QR code (สามารถสแกนผ่านไลน์ หรือแอพลิเคชั่นอื่นๆ)
*ช่องทางการติดต่อเพื่อขอคำแนะนำจากคุณ กิตติ ปานมณี ID: acetone45 Facebook: กิตติ ปานมณี โทร: 0815960695
การจองใช้เครื่องมือด้วยระบบออนไลน์
โดยคุณสกาวรัตน์ ทับทองหลาง นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ID Line: ginglovepleang) เป็นการนำโปรแกรมของ Google มาประยุกต์ใช้งาน ได้แก่ Google calendar, Google form, Google sheet (ตัวอย่างการเขียนโค้ด shorturl.at/iHIK1 ), Line (ตัวอย่างการเขียนโค้ด https://rb.gy/ade4mh ), Google site https://thaimooc.or/ และ Google drive เป็นต้น ซึ่งในการทำงานของระบบเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งาน และผู้ดูแลรับผิดชอบงาน วิธีการจองจองเครื่องมือนี้เน้นใช้งานกับเครื่องมือที่มีคนต้องการเยอะและจำเพาะ
การเบิกสารเคมีด้วยระบบออนไลน์
โดยคุณประภาส ภูเวียง นักวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นระบบที่มีการร่วมมือระหว่างนักวิชาการคอมพิวเตอร์และนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งการทำงานร่วมกันต้องได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ร่วมถึงผู้บริหารด้วย เนื่องจากระบบเดิมในการทำงานมีการใช้แบบฟอร์มกระดาษ ระยะเวลานาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานล่าช้า สิ้นเปลืองกระดาษ และเข้าถึงข้อมูลได้ยาก จึงมีการพัฒนาโปรแกรมเบิกจ่ายสารเคมีและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สำหรับห้องปฏิบัติการในระบบออนไลน์มีทั้งแบบเสียและไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้
- ยื่นแบบฟอร์มสำหรับขอใช้สิทธิเข้าถึงโปรแกรม
- Log in เข้าสู่ระบบ
- เบิกสารเคมีที่ต้องการ โดยระบุปริมาณตามจำนวนที่ใช้จริง
- รอผลการพิจารณา
- ติดต่อรับสารเคมีได้ที่ห้องปฏิบัติการ
การเบิก – คืน เครื่องแก้วแบบออนไลน์
ภาควิชาวัสดุศาสตร์ โดยคุณ ภวรรณพ เหมพันธุ์พิรุฬห์ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Pawannop.v@chula.ac.th) ได้พัฒนาระบบเบิก – คืน เครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อลดเวลาในการสรุปคลังเครื่องแก้วฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานให้มีข้อมูลในการวางแผนการทำงานที่รวดเร็ว และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งมีขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้ ดังนี้
- ยื่นแบบฟอร์มสำหรับขอใช้สิทธิเข้าถึงโปรแกรม
- Log in เข้าสู่ระบบ (ตรวจสอบสิทธิ)
- แสดงรายการเครื่องแก้ว
- พิมพ์ใบจองอุปกรณ์ (ตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์)
- ยืมคืน (ตรวจสอบอุปกรณ์)
- รายงานการดำเนินงาน
- แก้ไขอุปกรณ์/จำนวนอุปกรณ์.
ระบบการจองใช้เครื่องมือออนไลน์ด้วยโปรแกรม Trello
เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการโปรเจกต์ต่าง ๆ สำหรับบริหารจัดการงาน เป็นการลำดับงานก่อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้ Google forms ในการบันทึกการใช้เครื่องมือ โดย นักวิทยาศาสตร์และนักศึกษา สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคำนึงถึงเครื่องมือที่มีราคาแพง มีความซับซ้อนในการทำงาน มีเจ้าหน้าที่ดูแลไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาในการจองใช้เครื่องมือ ทำให้นักศึกษาไม่สามารถวางแผนการทำงานล่วงหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการพัฒนาระบบการจองเวลาแบบออนไลน์ด้วยตนเอง มีขั้นตอน ดังนี้
- ให้นักศึกษาติดต่อขอคำปรึกษา
- นักวิทยาศาสตร์พิจารณา
- นัดวันและอบรมการใช้เครื่องมือ
- ให้นักศึกษาลงทะเบียนการจองใช้งาน https://trello.com
- นักวิทยาศาสตร์พิจารณา
- นักศึกษาเข้าใช้เครื่องมือและลงบันทึก
- นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ (เครื่องมือปกติ/ไม่มีปัญหา)
วิธีการดังกล่าวทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดระยะเวลาในการจองใช้งานเครื่อง ไม่ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน สามารถวางแผนการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบการจองห้องปฏิบัติการออนไลน์ Robotic Laboratory Reservation System
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เนื่องจากนักศึกษามีความต้องการใช้ห้องปฏิบัติการนอกเวลาเรียน ที่ต้องขออนุญาตจากผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ฯลฯ ซึ่งนักศึกษาต้องเข้ามาสอบถามด้วยตนเอง ทำให้เกิดปัญหาในการติดต่อประสานงาน และอาจเกิดการล่าช้าหรือไม่สะดวก จึงมีการเริ่มสร้างระบบจองห้องปฏิบัติการนี้ขึ้นมา เพื่อให้มีการใช้งานห้องปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพแ เกิดประโยชน์สูงสุด ปฏิบัติการได้ทุกที สามารถตรวจสอบสถานะห้องปฏิบัติการได้ทุกเวลา และลดปัญหาในการจองเวลาตรงกัน ผ่านสมาร์ทโฟน
ทั้งนี้ได้ร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการแบบออนไลน์สู่การจัดทำผลงานทางวิชาการ จากผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายสายสนับสนุน ปขมท. ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการทำงานในปัจจุบัน และเป็นการส่งเสริมให้สายสนับสนุนได้เข้าใจในวิธีการสร้างผลงานวิจัยในงานของตนเอง ให้เกิดประโยนช์อย่างสูงสุดแก่ตนเองและหน่วยงาน