โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
วันที่เขียน 26/8/2559 14:55:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:34:22
เปิดอ่าน: 4403 ครั้ง

โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีการพัฒนาในการเสริมสร้างองค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) ทัศนคติ (Attitude) และสร้างแรงจูงใจ (Motivation) และมีการจัดกิจกรรมสร้างพลังใจและพลังกายเพื่อเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความสมดุลในชีวิตการทำงานเพื่อให้มีความสุขในการปฏิบัติงานและมีการดูแลสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง

โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559


            การมีสุขภาพดีนั้น ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น แต่ต้องมีองค์ประกอบทางด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับความหมายขององค์การอนามัยโลก (2541)ได้ให้ความหมายไว้ว่า สุขภาพ  หมายถึง  สุขภาวะอันสมบูรณ์ และมีความเป็นพลวัตทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และไม่ใช่เพียงการปราศจากโรค และการเจ็บป่วยเท่านั้น

            ซึ่งในสภาพสังคมและวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ตกเป็นทาสหรือยังยึดติดอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องทุ่นแรง จนเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายและจิตใจต้องตกอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอเกิดความเครียด ความกดดันต่อการพยายามดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาซึ่งรายได้ ทรัพย์สิน เงินทอง เพื่อแลกกับสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น เพียงเพื่อความสะดวกสบาย ความมีหน้ามีตา หรือความหรูหราฟุ่มเฟือยในสังคม โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองอย่างจริงจัง ตลอดจนการใช้ชีวิตที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย ใช้รถแทนการเดิน ใช้ลิฟท์แทนการขึ้นบันได ทำให้คนเมืองเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ตลอดจนพฤติกรรมการทานอาหารโภชนาการมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต

            ทางคณะศิลปศาสตร์จึงได้เห็นความสำคัญในการรักษาดูแลสุขภาพของบุคลากร จึงได้มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อให้บุคลากรได้ทราบถึงปัญหาสุขภาพของตัวเอง โดยเฉพาะการทราบถึงปริมาณการสะสมของสารเคมีในกระแสเลือด ซึ่งจะได้รับจากสารพิษที่อยู่ในอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เป็นต้น รวมถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นอย่างความดันโลหิตสูง โรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการทานอาหารและการขาดการออกกำลังกาย ทางคณะศิลปศาสตร์จึงได้จัดโครงการพัฒนาสุขภาพเบื้องต้น โดยทำการตรวจคัดกรอง 4 อย่างและพบว่า

  1. ตรวจคัดกรองความดันโลหิต พบว่าบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์มีความดันโลหิตต่ำจำนวน 2 คน ความดันโลหิตปกติจำนวน 11 คน และความดันโลหิตสูงจำนวน 1 คน
  2. ตรวจคัดกรองโรคอ้วน โดยการวัดค่าดัชนีมวลกาย พบว่าบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ผอมจำนวน 1 คนเกณฑ์ปกติจำนวน 3 คน น้ำหนักเกินจำนวน 5 คน อ้วนระดับ 1 จำนวน 4 คนอ้วนระดับ 3 จำนวน 1 คน
  3. ตรวจคัดกรองเบาหวาน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์มีระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งหมดไม่เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
  4. ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด พบว่าบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์อยู่ในระดับปลอดภัยจำนวน 2 คน อยู่ในระดับมีความเสี่ยง 9 คน และอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 3 คน

จากผลการทดสอบทั้งหมดพบว่าบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์ส่วนใหญ่มีเกณฑ์ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์คือค่าดัชนีมวลกายเกิน 23 ขึ้นไปซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าบุคลากรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเรื้อรังต่างๆตามมาเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดฯลฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมและขาดการเคลื่อนไหวร่างกายจากสภาพการทำงานการมีเครื่องอำนวยความสะดวกรวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหวเช่นติดโทรทัศน์ ติดเกม ติดคอมพิวเตอร์นอกจากนี้ในเรื่องของการบริโภคอาหารเกินความต้องการของร่างกายพวกอาหารประเภทแป้งไขมัน อาหารจำพวกเส้นใยต่ำและปริมาณอาหารมากเกินความพอดี

นอกจากนี้ยังพบว่าค่าระดับสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในเลือดของบุคลากรสำนักงานคณบดีคณะศิลปศาสตร์อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ซึ่งเกิดจากการทานอาหารที่ใช้สารเคมีในการเกษตรที่ปนเปื้อนทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโตหรือแม้แต่สารกันบูด สารแต่งสีรสและกลิ่นซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งขึ้นอยู่ว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใดและปริมาณมากน้อยเท่าใด การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

ผลการทดสอบข้างต้นทางคณะศิลปศาสตร์จึงได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีการพัฒนาในการเสริมสร้างองค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) ทัศนคติ (Attitude) และสร้างแรงจูงใจ (Motivation) และมีการจัดกิจกรรมสร้างพลังใจและพลังกายเพื่อเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจสร้างทัศนคติที่ดีสร้างความสมดุลในชีวิตการทำงานเพื่อให้มีความสุขในการปฏิบัติงานและมีการดูแลสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง

ทางคณะวิทยากรจึงได้มีการทำกิจกรรมเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพของตัวบุคลากร และวิธีการจัดการปัญหาสุขภาพเบื้องต้นดังนี้

  1. ให้ความรู้และทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายให้กับบุคลากรเพื่อเป็นการประเมินสุขภาพของตนเองเบื้องต้นทำให้บุคลากรสามารถประเมินปัญหาสุขภาพเบื้องต้นของตนเองได้ ทำให้บุคลากรสามารถนำความรู้ไปใช้ประเมินตนเองได้ตลอดชีวิต และทำให้ยิ่งตระหนักถึงปัญหาของตนเองว่าจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขต่อไป
  2. การให้ความรู้ในเรื่องการจัดสถานที่ในการทำงานและยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรเพื่อบุคลากรจะได้ทราบถึงวิธีการจัดสถานที่ทำงานที่ถูกต้อง ซึ่งบุคลากรจะต้องอยู่ในที่ทำงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อบุคลากรสามารจัดสถานที่ทำงานได้ดีจะยิ่งเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น รวมถึงลดปัญหาอาการปวดเมื่อยจากการทำงานด้วยวิธีการยืดกล้ามเนื้อที่ถูกต้องในระหว่างการทำงาน โดยทางวิทยากรได้แนะนำท่ายืดกล้ามเนื้อที่สามารถปฏิบัติได้จริงในที่ทำงาน และบุคลากรได้นำไปยืดกล้ามเนื้อระหว่างการทำงาน
  3. การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีในการทำงานของบุคลากรซึ่งกิจกรรมนี้จะสอดแทรกในเรื่องความสามัคคีการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีการยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานตลอดจนทำให้บุคลากรได้ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยจะพบว่าบุคลากรหลายคนมีบทบาทและพูดคุยกันมากขึ้นในระหว่างการทำกิจกรรม แสดงให้เห็นถึงการเสียสละและการรับฟังกันมากขึ้นระหว่างการทำกิจกรรม และยิ่งทำให้เห็นว่าหากมีการวางแผนที่ดีจะยิ่งทำให้เกิดความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น
  4. การจัดกิจกรรมโดยการบรรยายและสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายให้กับบุคลากรและแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องให้กับบุคลากรทำให้บุคลากรตระหนักถึงความจำเป็นในการออกกำลังกาย เนื่องจากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคณะศิลปศาสตร์มีปัญหาสุขภาพอย่างโรคอ้วนหลายคน จึงมีความต้องการจะแก้ปัญหาของตนเองหรืออย่างน้อยปัญหาจะต้องไม่เพิ่มมากขึ้น และจากความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้องทำให้สามารถเข้าใจวิธีการออกกำลังกายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าควรออกกำลังกายอย่างไร จึงจะจัดการปัญหาสุขภาพตนเองได้
  5. ให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการเพื่อสุขภาพโดยบุคลากรจะได้ทราบถึงวิธีการคำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันของแต่ละบุคคล ทำให้ทราบว่าควรจะเลือกรับประทานอาหารอะไรและในปริมาณเท่าไหร่จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และทางวิทยากรยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารอย่างปลอดภัยจากสิ่งที่จะก่ออันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารเคมีที่อยู่ในอาหารว่าควรจะล้างผักผลไม้อย่างไร ปริมาณโซเดียมที่อยู่ในอาหารว่าควรทานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม หรือการดูฉลากบริโภคที่ถูกต้องควรดูอย่างไร เป็นต้น ซึ่งบุคลากรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

หลังจากการได้รับความรู้และคำแนะนำในการบูรณาการความรู้หลายๆด้านไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันแล้วนั้น จะพบว่าบุคลากรมีความใส่ใจในสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้น เข้าใจวิธีการออกกำลังกายว่าอย่างไรจึงส่งผลดีต่อสุขภาพสูงสุด ตระหนักถึงการเลือกรับประทานอาหาร และได้พยายามปรับปรุงพฤติกรรมตนเองให้เป็นบุคคลที่มีสุขภาพที่ดีต่อไป ทั้งนี้ทางคณะศิลปะศาสตร์ได้ตระหนักถึงการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการเต้นแอโรบิคทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เพื่อให้บุคลากรได้มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง และจัดบอร์ดให้ความรู้ที่คณะในเรื่องการปฏิบัติตัว เพื่อหลีกเลี่ยงจากการเจ็บป่วยที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
การจัดการความรู้ » บุหรี่ไฟฟ้า: อันตรายและการป้องกันการสูบในวัยรุ่น
การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นพบว่ามีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งคือความเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตรายเรื่องจากมีการแต่งกลิ่นต่างๆ เพื่อจูงใจวัยรุ่น แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีสารเสพติดที่ร้ายแ...
บุหรี่ไฟฟ้า นิโคติน การป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 11/2/2566 0:34:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:41   เปิดอ่าน 896  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ไบโอเซนเซอร์ » ทำไมไบโอเซนเซอร์เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจในปัจจุบัน
จากบทความตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของไบโอเซนเซอร์ไปแล้ว ในปัจจุบันไบโอเซนเซอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งาน ราคาที่จับต้องได้ และยังปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้งานวิจัยด้าน...
ตลาดของไบโอเซนเซอร์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน ธานินทร์ แตงกวารัมย์  วันที่เขียน 4/9/2561 5:17:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:18:00   เปิดอ่าน 3923  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ไบโอเซนเซอร์ » ไบโอเซนเซอร์
ไบโอเซนเซอร์เป็นอุปกรณ์การตรวจวัดทางชีวภาพโดยการใช้สารชีวภาพเปลี่ยนปริมาณสารที่ต้องการตรวจวัด (Converts) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical signal) ที่สามารถตรวจวัดได้ การพัฒนาไบโอเซนเซอร์และเซนเซอร...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน ธานินทร์ แตงกวารัมย์  วันที่เขียน 18/3/2560 21:55:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:20:11   เปิดอ่าน 20846  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
โครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 » การจัดสถานที่ในการทำงานและการยืดกล้ามเนื้อในระหว่างการทำงาน
การจัดสถานที่ในการทำงานและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงานสำคัญอย่างไร? เคยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ ไหล่และหลังกันบ้างรึเปล่า? เคยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตากันบ้างไหม? แล้วทำไมเราถึงเกิดอาการเหล่านี้ได้...
การจัดสถานที่การทำงาน  การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  ท่าทางการทำงาน     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
ผู้เขียน จิราดร ถิ่นอ่วน  วันที่เขียน 29/8/2559 16:05:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:22   เปิดอ่าน 4572  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง