แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:01:43
เปิดอ่าน: 4567 ครั้ง

การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแก่นเป็นเมืองแรกที่มีความพยายามดำเนินโครงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในท้องถิ่นโดยไม่พึงพางบประมาณจากส่วนกลาง ซึ่งเป็นความท้าทายในการดำเนินการและเป็นโจทย์ที่เมืองอื่นๆ ต้องพิจารณา

วันนี้ทุกภาคส่วนในเมืองขอนแก่นกำลังพูดกันถึงโครงการพัฒนาเมืองขอนแก่นอย่างชาญฉลาด (Smart City Model) ที่ประกอบด้วย ท้องถิ่น(เทศบาลเมืองขอนแก่นและเทศบาลข้างเคียง) กลุ่มธุรกิจเอกชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 แกนหลักที่ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นไปตามความต้องการของคนในเมืองขอนแก่นเอง โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในเมืองขอนแก่นตามลำดับ

การเสวนาวิชาการ หัวข้อ partnership for new urbanization ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ณ โรงแรมเซนทาราคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวทีเสวนาได้นำเสนอประเด็น การสร้างเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างชาญฉลาด ที่น่าสนใจคือไม่ใช่มีเพียงการเสนอแนวคิดทางวิชาการ แต่ยังมีการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานการพัฒนาเมืองขอนแก่นอย่างชาญฉลาดที่ผ่านมาซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทึ่งกับการประยุกต์ใช้แนวความคิดที่ก้าวหน้าไปสู่การปฏิบัติและกระบวนการสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เป้าหมายระยะแรกของโครงการ คือ การเป็นเมืองที่มีการเดินทางที่สะดวก เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาเรื่องจราจร เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เทศบาลร่วมกับภาคเอกชน ได้ศึกษาระบบการขนส่งที่เหมาะสมกับเมืองซึ่งสรุปได้ว่าควรใช้ระะบบ BRT (Bus Rapid Transit)  แต่ปัญหา คือ หาผู้ดำเนินการไม่ได้เพราะมีค่าลงทุนสูงและไม่คุ้มทุน แต่เทศบาลและเอกชนในพื้นที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นของพื้นที่ จึงมีแนวคิดที่จะดำเนินการโดยท้องถิ่นเองแต่ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ ดังนั้น เทศบาลเมืองขอนแก่นจึงได้ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อขออนุญาตดำเนินการ และได้รับหนังสืออนุมัติจากรัฐบาล(คสช)แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบระบบขนส่งแบบรางเบา ซึ่งกระบวนการดำเนินงานเป็นการแบ่งงานกันทำ โดยเทศบาลดำเนินการด้านการให้ได้มาซึ่งอำนาจดำเนินการตามกฎหมาย มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการด้านวิชาการ และภาคเอกชนเตรียมความพร้อมด้านทุน โดยรูปแบบการบริหารจัดการเป็นการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นเพื่อระดมทุนจากประชนชนในเมืองขอนแก่น

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปเกิดจากนโยบายของรัฐ ยังไม่มีโครงการขนาดใหญ่ใดที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเมืองที่เสนอโดยท้องถิ่น ในขณะที่โครงการขนส่งระบบรางของเมืองขอนแก่นหากเกิดขึ้นได้จริง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ของประเทศไทยที่เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ โดยไม่พึ่งพางบประมาณจากส่วนกลาง แม้ว่ายังเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่เป็นโจทย์ที่เมืองขอนแก่นได้ตั้งขึ้นให้กับเมืองอื่นๆ รวมถึงนักวางแผนเมืองทั้งที่อยู่ในภาคราชการและการศึกษาต้องทบทวนแนวทางและบทบาทของตนในการดำเนินงานในระยะต่อไปภายหน้าหากต้องการพัฒนาเมืองของตนให้ความยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
งานบริการวิชาการและวิจัย » มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจ...
โดรน สถาปัตยกรรม ออกแบบ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน ธวัชชัย มานิตย์  วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:28:38   เปิดอ่าน 16616  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปั...
การดำเนินโครงการพัฒนาโดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:44   เปิดอ่าน 5542  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม » การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ มศว. ประสานมิตร
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และได้พบเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยา...
parking  underground  จรัสพิพม์  ใต้ดิน  บุญญานันต์  ประสานมิตร  ศรีนคริทรวิโรฒ  อาคารจอดรถ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน จรัสพิมพ์ บุญญานันต์  วันที่เขียน 13/6/2559 21:41:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 7:31:21   เปิดอ่าน 18396  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง