แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 Smart Laboratory:ระบบออนไลน์กับการพัฒนาระบบงานห้องปฏิบัติการ
วันที่เขียน 29/7/2564 12:05:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/9/2567 8:00:59
เปิดอ่าน: 1884 ครั้ง

1.ระบบสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (LIMS) สำหรับการจัดการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ ซึ่งเป็นระบบที่ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการสำหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ โดย QR_LIMS ระบบสารสนเทศห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการแบบอัตโนมัติ ครอบคลุมการทำงานตั้งแต่  การรับ-ส่งตัวอย่างจากผู้ใช้บริการ การกรอกผลวิเคราะห์ การรายงานผลการวิเคราะห์/ทดสอบเป็นไฟล์แบบพีดีเอฟ ทำให้ลดการใช้กระดาษ ลดความผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล สะดวก ง่ายในการสืบค้นและสามารถทวนสอบผลวิเคราะห์ได้ง่ายสอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการ

2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ Smart Laboratory :การจัดการครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยวิทยากรได้สาธิตการใช้ครุภัณฑ์ด้วยสื่อมัลติเดียตามสไตล์ New normal ที่นำมาใช้กับครุภัณฑ์ภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาลัยนเรศวร โดยการจัดทำวิดีโอการใช้เครื่องมือและครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แล้วนำมาทำ QR code เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถเข้าใจการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องผ่านระบบ QR code  รวมถึงการจองใช้เครื่องมือด้วยระบบออนไลน์ ของนักศึกษาและบุคลากรภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาลัยนเรศวร โดยวิทยากรได้สาธิตการสร้างระบบจองเครื่องมือ Google form ,  Google calendar ,  Google  sheet   ,Google site  , Google drive  และ line notify

3.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ Smart Laboratory :การเบิกจ่ายสารเคมีด้วยระบบออนไลน์ ของภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรได้สาธิตขั้นตอนการพัฒนาระบบและสร้างโปรแกรมการเบิกจ่ายสารเคมีผ่านระบบออนไลน์ การสร้าง QR code  การ log in เข้าสู่ระบบ ขั้นตอนเพิ่มข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ การจัดการฐานข้อมูลสารเคมี การเพิ่มรายการสารเคมี

4.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ Smart Laboratory :การเบิก-คืน เครื่องแก้วด้วยระบบออนไลน์ ของภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอธิบายระบบ การใช้งานเบิก-คืนเครื่องแก้ว  ทั้งแสดงระบบเบิก-คืนเครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์(lab วิจัย)  และ แสดงระบบเบิก-คืนเครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์(lab เรียน)  วิธีและขั้นตอนการเข้าใช้งานโปรแกรมการพัฒนาระบบเบิก-คืนเครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์ วิธีการจัดการในฐานะผู้ดูแลระบบและผู้ประสานงาน(ADMIN) วิธีการใช้งานของผู้ใช้บริการ(นิสิต) การจัดการการคืนเครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ

5.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ Smart Laboratory : ระบบการจองเครื่องมือออนไลน์ด้วยโปรแกรม Trello ของสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นการให้บริการเครื่องมือของห้องปฏิบัติเคมีวิเคราะห์ การจองเครื่องมือ และรวมถึงการประยุกต์ใช้google forms ในการบันทึกการใช้เครื่องมือ

6.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ Smart Laboratory : การพัฒนาระบบจองห้องปฏิบัติการออนไลน์สำหรับนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยระบบดังกล่าวได้พัฒนามาจากการสรุปปัญหาและความต้องการ ปรึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบจองห้องปฏิบัติการ แล้วจึงคัดเลือกโปรแกรมที่จะนำมาพัฒนาระบบจองห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งนี้ได้อธิบายการใช้งานระบบจองห้องปฏิบัติการออนไลน์ของหน่วยงาน มีข้อดีห้องปฏิบัติการถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด นักศึกษาสามารถจองห้องปฏิบัติการได้ทุกที ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน ลดปัญหาต่างๆในการจองห้องปฏิบัติการ เช่นจองในเวลาเดียวกัน

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/9/2567 15:28:23   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 10:56:23   เปิดอ่าน 94  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง