แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี
วันที่เขียน 29/6/2559 21:25:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/10/2567 3:51:23
เปิดอ่าน: 5511 ครั้ง

ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ประจำปี 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลและมุมมองที่กว้างไกลในหลายเรื่อง แต่ในที่นี้จะเป็นการสรุปมุมมองเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเท่านั้น

แนวทางการพัฒนาเมือง : สรุปมุมมองจากปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี

ข้อความต่อไปนี้เป็นการสรุปความเข้าใจของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน ประจำปี 2559 ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 ซึ่งท่านได้ให้ข้อมูลและมุมมองที่กว้างไกลในหลายเรื่อง แต่ในที่นี้จะเป็นการสรุปมุมมองเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองเท่านั้น

ท่านเริ่มจากการฉายภาพสถานการณ์การเติบโตของพื้นที่เมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการขยายตัวที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่ต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรจึงจะทำให้การขยายตัวของพื้นที่เมืองเป็นการเติบโตที่ดี กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมืองที่มีการเติบโตที่ดี คือ เมืองที่พลเมืองสามารถสร้างผลผลิต (Productivity) ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักการที่ดีสำหรับการจัดการการเติบโตของเมืองให้มีประสิทธิภาพ คือ การจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญของเมืองหมายถึงพื้นที่ ดังนั้นความต้องการจัดการการเติบโตของเมืองที่มีประสิทธิภาพต้องมีการจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม อันควรประกอบด้วย 2 ประเด็นหลักที่สำคัญ คือ

1)      เมืองต้องการนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดี

ในทางเศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) กลไกทางตลาดจะเป็นผู้จัดการความต้องการซื้อและต้องการขายที่ดีที่สุด แต่ในการจัดการเชิงพื้นที่ของเมืองด้วยระบบตลาดอาจกระทบต่อประชาชนส่วนมากของเมือง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลกลไกตลาดไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่มากนัก นั้นหมายความว่า เมืองจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายและองค์กรในกำกับการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม (Political Economy) ซึ่งการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสมหมายถึง การทำให้เมืองมีพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ (Available) ในขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปต้องสามารถจ่ายสำหรับพื้นที่อาศัยได้อย่างเหมาะสม (Affordable) และต้องเป็นที่ยอมรับร่วมกันของคนส่วนใหญ่ (Acceptable)

2)      เมืองต้องการระบบการขนส่งที่ดี

เมืองจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมระบบขนส่งที่เหมาะสม หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงพื้นที่ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพโดยที่ต้นทุนสำหรับการขนส่งของประชาชนต้องไม่สูง และต้องมีการเตรียมการรองรับสำหรับการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

ในส่วนแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่ ท่านได้เสนอแนวคิดไว้ว่า ควรสร้างความสมดุลในการดำเนินงานของภาครัฐกับภาคเอกชนให้สอดคล้องกัน หมายความว่า ในทางพฤติกรรม ภาคเอกชนจะดำเนินการสิ่งใดต้องมีผลตอบแทนจึงดำเนินการ ในขณะที่การดำเนินการของภาครัฐในปัจจุบันและที่ผ่านมาชอบที่จะคล้อยตามภาคเอกชน ดังนั้น การจะเชื่อมการดำเนินงานที่สมดุลระหว่างภาครัฐและเอกชน ควรเริ่มจากโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ในตอนนี้ โครงการที่น่าจะเหมาะสม คือ การผลิตไฟฟ้าจากขยะ ซึ่งภาคเอกชนจะได้ผลตอบแทนจากการขายกระแสไฟฟ้าในขณะที่ภาครัฐสามารถจัดการปัญหาขยะของเมืองที่เป็นปัญหามาช้านานได้ นอกจากนั้นโครงการด้านการจราจรก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่มีแนวโน้มที่ควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้แนวโน้มของสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับต่อไป มีทิศทางที่จะให้แต่ละภาคหรือท้องถิ่นพัฒนาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการพัฒนาจากส่วนกลางอีกต่อไป

ข้อสรุปของผู้เขียนที่ได้จากการฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์กับการพัฒนาเมืองในอนุภาคลุ่มน้ำโขง” โดย ดร. ณรงค์ชัย  อัครเศรณี เป็นความเข้าใจและประมวลข้อมูลแล้วสรุปเนื้อหาออกมาซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนในความหมายและไม่คลอบคลุมเนื้อหาที่ท่านผู้บรรยายต้องการนำเสนอต่อผู้ฟังทั้งหมด ทั้งนี้ผู้เขียนขอน้อมรับความผิดพลาดดังกล่าว แต่เนื่องจากเนื้อหาของปาฐกถาดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าการไม่เผยแพร่แนวคิดที่ได้จากปาฐกถานี้เป็นสิ่งที่จะเสียโอกาสที่จะทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาเมืองที่ดีต่อไป อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า การสร้างความสมดุลในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการอาจไม่อำนวยประโยชน์ต่อประชาชนในภาพรวม หากกระบวนการดำเนินโครงการนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญต่อชุมชนที่เป็นหน่วยย่อยในสังคมอย่างจริงจัง ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาที่จะให้แต่ละภาคหรือเมืองพัฒนาได้ด้วยตนเองจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าเป็นการส่งเสริมหรืออำนวยประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาชุมชนโดยการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนและจัดการชุมชนได้ด้วยชุมชนเอง ซึ่งเมื่อหน่วยย่อยของสังคมเข้มแข็งแล้ว เมือง ภูมิภาค และประเทศ ย่อมเข้มแข็งตามโดยลำดับ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
งานบริการวิชาการและวิจัย » มือใหม่หัดบินทำแผนที่ด้วยโดรน Ep.1
โดรน (Drone) หรือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aviation Vehicle) แต่เดิมนั้น มีการใช้งานในหน่วยงานด้านความมั่นคง ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ใน หลากหลายรูปแบบ เช่น ทางด้านการเกษตร การสำรวจ ตรวจ...
โดรน สถาปัตยกรรม ออกแบบ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน ธวัชชัย มานิตย์  วันที่เขียน 13/9/2562 14:31:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/10/2567 0:59:29   เปิดอ่าน 16417  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป » แนวทางการพัฒนาเมือง : น่าตื่นเต้นกับประชาชนเมืองขอนแก่น
การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่โดยท้องถิ่นเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งต้องพึงพาการสนับสนุน(งบประมาณจากรัฐบาล)จึงเป็นข้อจำกัดในความสำเร็จของการดำเนินโครงการของท้องถิ่นมาโดยตลอด เมืองขอนแ...
การพัฒนาพื้นที่โดยท้องถิ่น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน นิกร มหาวัน  วันที่เขียน 25/6/2559 22:12:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/10/2567 8:17:48   เปิดอ่าน 4543  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม » การออกแบบที่จอดรถใต้ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ณ มศว. ประสานมิตร
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยือนมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอโศกหรือถนนสุขุมวิท 21 อันเป็นทำเลทองแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และได้พบเห็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้บริหารมหาวิทยา...
parking  underground  จรัสพิพม์  ใต้ดิน  บุญญานันต์  ประสานมิตร  ศรีนคริทรวิโรฒ  อาคารจอดรถ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ผังเมือง
ผู้เขียน จรัสพิมพ์ บุญญานันต์  วันที่เขียน 13/6/2559 21:41:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/10/2567 6:04:20   เปิดอ่าน 18238  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง