|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
406
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:09:59
|
|
|
|
|
|
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
»
เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้
- การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อยกระดับการเรียนการสอน การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์
- การทำความเข้าใจเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิผลการเรียนรู้
- กาทำความเข้าใจ เรื่อง เคมีในสมองกับการเรียนรู้ ที่สัมพันธ์กับผู้เรียน และผู้จัดกิจกรรม เพื่อสร้าง ความรู้สึกยินดี เช่น เมื่อได้รับรางวัล การสร้างความสุข ความรู้สึกไว้วางใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ฟังคำแนะนำการใช้สื่อมือถือ และเครื่องมือโปรแกรมที่ช่วยทิ้งความน่าเบื่อในชั้นเรียน เช่น Mentimeter, Bingo, Canva, Socrative, Flinga เป็นต้น
- ได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ Mentimeter เป็นเครื่องมือในการทำ Poll สำรวจความคิดเห็นหรือตอบคำถามร่วมกันในชั้นเรียน สามารถแสดงผลคำตอบได้แบบ Real time เหมาะกับการใช้ในการสำรวจความเข้าใจ หรือระดมความคิดเห็น (Brainstorming) ในชั้นเรียนได้ดี Bingo เป็นเครื่องมือการสอนในรูปแบบเกมส์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความสนใจและการจดจ่อในการเรียน นอกจากนี้สามารถสอดแทรกเนื้อหาในชั้นเรียนผ่านคำที่เลือกใช้ในเกมส์ ซึ่งเป็นคำสำคัญของบทเรียนนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำกลับไปทบทวนต่อได้ การใช้เกมส์ตอบคำถามในชั้นเรียน ได้แก่ Kahoot และ Quizizz เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบของการแข่งขันกันในห้องเรียน ที่ให้ทั้งความสนุกและการเรียนรู้ เหมาะสำหรับการทำแบบทดสอบย่อย เพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาหลังจากบทเรียนได้ดี
- เรียนรู้จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ การสร้าง Mindset ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการเรียน และการสร้าง Growth mindset เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง และไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรค โดยสามารถใช้จิตวิทยาการชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน โดยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ และมีการกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลา จะทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยการใช้หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Plearn (Play+Learn) ที่ใช้เครื่องมือกระตุ้นความสนใจและมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงสร้าง Engagement ในระหว่างเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่ก่อให้เกิดความสุขซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
|
คำสำคัญ :
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1783
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/8/2564 10:42:56
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:18:25
|
|
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
»
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
|
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา
ตามหนังสือที่ ศธ ๐๕๒๓.๑.๙.๒/๒๘๓๑ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๒ ได้อนุมัติให้กระผม รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย เดินทางไปปฏิบัติงาน ในวันที่ ๒๔-๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เพื่อเข้าร่วมประชุมวิชาการ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 7 เรื่อง (ดังตารางลงทะเบียนเอกสารแนบ) ได้แก่
1. เรื่อง Smart Farm : เกษตรไทยยุค 4.0 ในวันที่ 25/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
2. เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
3. เรื่อง นวัตกรรมจากไข่เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ในวันที่ 26/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
5. เรื่องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์และคความต้องการโภชนะสำหรับโคนมไทย ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
6. เรื่อง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน ในวันที่ 28/03/2562 เวลา 09.00-12.00 น.
7. เรื่องการขอรับมาตรฐานกับ สมอ. ในวันที่ 27/03/2562 เวลา 13.30-16.30 น.
และได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในด้านวิชาการและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการบริการในภาคเอกชน ตลอดจนเข้ารวมชมนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรและพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนำไปใช้ให้การเรียนการสอน งานวิจัย หรือการพัฒนาตนเองได้ โดยผลที่ได้จากการเข้าร่วมสัมมนาดังกล่าวสามารถนำมาพัฒนากระบวนการทำสารเสริมในอาหารสัตว์น้ำในแคปซูล อัลจิเนต-ไคโตซานและกรรมวิธีการผลิต จากการที่ได้งบของ NIA จำนวน 1,180,000 บาท จากสิทธิบัตรเลขที่ 1801004807 จากการนำความรู้ในเรื่องที่ 2 และ 6. คือ เรื่อง สูตรตำหรับนาโนเพื่อนวัตกรรมอาหารสัตว์ และนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน อีกทั้งนำความรู้ในเรื่อง ที่ โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามหลักการ BEDO’s Concept และ สรรหาชุมชนใหม่ : กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไผ่ และงานฝีมือ ของ BEDO งบ 1,289,000 บาท ในเรื่องที่ 4. เรื่อง จากทรัพยากรชีวภาพสู่การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และยังสามารถนำมาประยุคใช้ในงานขอทุนวิจัย และพัฒนางานวิจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น การศึกษาบทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกในระหว่างการผลิตสีย้อมห้อมแบบธรรมชาติเพื่อการผลิตสีย้อมแบบยั่งยืน ของ สวทช. งบ 200,000 บาท และ เขียนงานวิจัยขอทุน วช. 2563 เรื่อง ผลของเอนโดไฟติกเเบคทีเรียต่อคุณภาพการให้สีครามของห้อมในพื้นที่จังหวัดเเพร่
|
คำสำคัญ :
การ KM เพื่อเผยแพร่ผลของการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา นวัตกรรมอาหารสัตว์ ซินไบโอติก
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2344
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
1
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐพร จันทร์ฉาย
วันที่เขียน
29/9/2562 16:04:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:34:44
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|