การอบรมเชิงปฏิบัติติการ เรื่องเครือข่ายนักวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายการจับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม ภาคเหนือ
วันที่เขียน 1/3/2565 11:22:29     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/10/2567 13:31:12
เปิดอ่าน: 1524 ครั้ง

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อนุมัติให้กองอาหาร จัดทำโครงการศูนย์จับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม (Innovative Food Matching Center) เพื่อส่งเสริมให้ผลงานวิจัยด้านการแปรรูปมีความพร้อมสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร โดยใช้มาตรการด้านมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารเป็นตัวขับเคลื่อน กองอาหารได้เชิญนักวิจัยเข้าอบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นเครือข่ายประสานงานจับคู่ธุรกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ ในวันที่ 25 กพ 2565 เวลา 9.00-16.30 น. ณ. โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เชียงใหม่ ชั้น 2 ห้องประชุมนันมา 1 จังหวัดเชียงใหม่

                  ข้าพเจ้าเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติติการเรื่องเครือข่ายนักวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายการจับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2565ณ.โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ เชียงใหม่ ชั้น 2 ห้องประชุมนันทา 1 จังหวัดเชียงใหม่นั้น

                   บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติติการ เรื่องเครือข่ายนักวิจัย เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายการจับคู่ธุรกิจอาหารนวัตกรรม ภาคเหนือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ โดยมีหัวข้อบรรยายที่น่าสนใจหลายหัวข้อสรุปได้ดังนี้

       หัวข้อ เทรนด์นวัตกรรมอาหารเพื่อการวิจัย

       ปัจจุบันสังคมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จำนวนเด็กลดลง ประชากรเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น การพัฒนานวัตกรรมอาหารควรเน้นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น วัตถุดิบแบบใหม่ ทรัพยากรแบบใหม่ เช่น การใช้เซลล์สังเคราะห์ของจุลินทรีย์ในการผลิตอาหารบางอย่าง การพัฒนาอาหารในอนาคต เน้น ปลอดภัย (safety) การเข้าถึงอาหารและการไม่ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต (security) และการเน้นวัตถุดิบจากท้องถิ่นรวมถึงการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (substitutability) รวมถึงลดการใช้พลาสติก ลดขยะ นำ by-product มาเพิ่มมูลค่า การปลูกพืชในระบบปิดในสภาวะที่ควบคุมได้ นอกจากนี้เทรนด์อาหารใหม่สำหรับการวิจัย ณ.ปัจจุบันจะเน้นไปที่ smart food, smart nutrition อาหารเสริมภูมิต้านทาน อาหารเพื่อเพิ่มภาวะสุขภาพอาหาร อาหารสำหรับผู้สูงอายุและการกินอาหารที่มาจากความหลากหลายทางชีวภาพ

       สำหรับเทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Technology) ที่อยู่ในกระแสปัจจุบัน ได้แก่ Alternative protein, Nutraceutical เช่น functional food, functional ingredients, ความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) อาหารเฉพาะกลุ่ม อาหารเฉพาะบุคคล และการลด food waste โดยเอามาเพิ่มมูลค่า ยกตัวอย่างเช่น  

        

1).การผลิต micro protein, โปรตีนจากพืช (plant base) และโปรตีนจากแมลง (insect protein)

2).การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากมังคุด

3). การผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ปราศจากกลูเทน (gluten free) ลดการแพ้

4). Natural ingredients เช่น natural preservative จากไข่ขาว หรือการใช้จุลินทรีย์ในการผลิตอาหารโดยเฉพาะกลุ่ม probiotic

5).อาหารสำหรับผู้สูงอายุ หรืออาหารกลืนง่าย ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก

6).การใช้เซลล์สังเคราะห์ในการผลิตอาหาร

7).การใช้สารเสริมคุณภาพสัตว์

 

หัวข้อ การเป็นอาหารใหม่ (Novel Food)

                     อาหารใหม่ (Novel Food) คือ อาหารที่มีเวลาการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี หรือมีกระบวนการผลิตที่ส่งผลให้สารอาหารแตกต่างจากอาหารดั้งเดิม หรือมีกระบวนการผลิตใหม่ เช่น การผลิตโดยใช้ nanotechnology ทำให้สารที่ได้มีขนาดอนุภาคเล็มากกว่าอาหารดั้งเดิม หรือการ pasteurization โดยใช้แรงดันเพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคลงเป็นต้นอาหารใหม่ (Novel food) ควรมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคโดยผู้วิจัยควร review งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิต งานวิจัยที่ตีพิมพ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบประเมิน รวมถึงประวัติการใช้เป็นอาหาร วิธีการผลิตและปริมาณสาระสำคัญ เป็นต้น

        ตัวอย่างอาหารใหม่ (Novel food) เช่น

       1). กระท่อม แยกพิจารณา ดังนี้

         - ต้น สารสกัด และการใช้ทั้งต้น ต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยก่อนใช้ โดยผลิตภัณฑ์จากกระท่อม จัดเป็นอาหารใหม่ (Novel food ) เท่านั้น

         - น้ำกระท่อม จัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร

          การใช้สารสกัดเป็นผง ใบ หรือสารสกัดกระท่อมเป็นส่วนประกอบในอาหาร จะประเมินเป็น Novel food เท่านั้น

       2).ชาจากไหมข้าวโพด

           จัดเป็น Novel food โดยไหมข้าวโพด เป็นส่วนเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหาร มีประวัติการใช้เป็นยาไม่ได้กินในปริมาณเยอะ ไหมข้าวโพดมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อราและสารพิษจากเชื้อรา 

       3). ปลิง แยกประเมินเป็น 2 ชนิด คือ

           -ปลิงทะเล รับประทานได้

          - ปลิงน้ำจืด -ไม่มีประวัติการใช้เป็นอาหาร แต่มีประวัติการใช้เป็นยา การพิจารณาเป็น Novel food เท่านั้น

        4).น้ำมันถั่วดาวอินคา

           น้ำมันที่สกัดได้จากพืชอาหาร จะไม่จัดเป็น Novel food

        5). แมลง

             ต้องดู genus และ species ของแมลง เนื่องจากแมลงบางชนิดก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

            การพิจารณาการอนุญาติใช้เป็นอาหารสามารถดูได้จากเอกสารและบัญชี Positive list and Negative list ตามประกาศของ อย.ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ อย.จะพิจารณาเงื่อนไขการผลิตสอดคล้องตามอนุญาติไหม เช่น กรณีการใช้วัตุเจือปนอาหารและการใช้เอนไซม์ในอาหาร และการทวนสอบอาหารใหม่ เป็นการทวนสอบเป็น อาหาร หรืออาหารและสมุนไพร เคยมีประวัติการบริโภคเป็นอาหารหรือไม่ รวมถึงกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตใหม่หรือไม่ หากใหม่ อาหารชนิดนั้นจะจัดเป็น อาหารใหม่ (Novel food)

 หัวข้อ กฎหมายอาหาร (Food Law) (อย.)

          อย.ดูแล 3 ส่วน คือ สถานที่ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์และการโฆษณา (pre-marketing) และ post-marketing ได้แก่ ข้อร้องเรียนทางอาหาร เช่น นมทารกและไส้กรอก รวมถึงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค โดย อย.ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทารกและผู้สูงอายุ รวมถึงให้ความสำคัญกับวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย กัญชง-กัญชา ซึ่งจัดเป็นอาหารเฉพาะ โดย อย. จัดแบ่งอาหารประกอบการพิจารณา 2 กลุ่ม ได้แก่

          1). อาหารดั้งเดิม

                  เป็นอาหารที่มีการบริโภคมาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 15 ปี มีประวิติการกินเป็นอาหารหรือไม่ พบอาการแพ้ในกลุ่มไหนหรือไม่ มีประวิติการคัดกรองความปลอดภัยของวัตถุดิบ เช่น GAP หรือไม่ ตัวอย่างของอาหารดั้งเดิม เช่น พืชท้องถิ่น เห็ด แมลง และสัตว์ที่กินอยู่แล้ว วัตดุดิบที่นำมาทำเป็นอาหารจะตรวจสอบยาสัตว์ตกค้าง pesticide วัตถุห้ามใช้ และยาฆ่าแมลงในผลิตภัณฑ์อาหาร

          2).อาหารใหม่ (Novel food)

                เช่น สมุนไพร สารสกัด และอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (อาหาร GM) อย.ทำการตรวจพิสูจน์ตามเท่าที่กฎหมายกำหนด

     ฉลากอาหาร

       ควรระบุ ชื่ออาหาร ปริมาณ ส่วนประกอบ การแพ้ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า วันผลิตและวันหมดอายุ เป็นต้น

 

ตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ

                    สำหรับตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ตลาดมีการเติบโตขึ้นและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสามารถขายได้ตลอด สิ่งที่ควรพิจารณาในอาหารกลุ่มนี้ ได้แก่ การกล่าวอ้างประโยชน์ทางสุขภาพ การกล่าวอ้างด้านสารอาหาร และการกล่าวอ้างองค์ประกอบเคมีในผลิตภัณฑ์ และการกล่าวอ้างลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

                     หัวข้อ แนวทางการจัดประเภทอาหาร

                     พิจารณาว่าอาหารกินเข้าไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด ส่วนประกอบในอาหารต้องมีประวัติการกินไม่น้อยกว่า 15 ปี ผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้วทำให้สารอาหารที่อยู่ในวัตถุดิบเปลี่ยนแปลงไปและอาหารอยู่ในภาชนะบรรจุที่ปิดผนึก ป้องกันการหก ภาชนะบรรจุควรกันอากาศเข้า

                   ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่กินเพื่อคาดหวังทางสุขภาพ เป็นอาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ อาหารทางการแพทย์ หรืออาหารเฉพาะกลุ่ม ระยะเวลาในการรับประทานโดยปกติ 3 ครั้ง/วัน ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ควรระบุปริมาณการบริโภคต่อวันและคำเตือน จัดเป็นสิ่งสำคัญ

  • นมแพะ

           นมแพะจัดเป็นเครื่องดื่ม หากนำนมแพะมาหมักเพื่อผลิตนมเปรี้ยวจะจัดเป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว หากนำมาผลิตนมแพะแบบเม็ด ต้องมีเนื้อนม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65

      ประกาศชา ฉบับ 196

  • สิ่งที่เติมลงไปในชา (Camellia sinensis) ต้องเป็นไปตามประกาศสิ่งอนุญาตให้ใช้

       ประกาศกาแฟ

  • สิ่งที่เติมลงไปในกาแฟต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ไม่เป็นอาหารใหม่
  • ถ้าเป็น Novel food จะต้องผ่านการประเมินความเป็นอาหารแล้ว

       เครื่องดื่มคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มชูกำลัง

  • ต้องมีคาเฟอีน ไม่เกิน 50 mg/ขวด

       กัญชา-กัญชง

  • ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของ CBD และ THC การได้มาของวัตถุดิบกัญชา-กัญชง ต้องได้มาโดยถูกกฎหมาย
  • ผลิตในประเทศได้เท่านั้น
    • ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีวิตามิน-แร่ธาตุ
    • การเสริมสารอาหารในอาหาร ต้องได้รับความเห็นชอบจาก อย.

     กฎหมายอาหาร

         แบ่งอาหารตามความเสี่ยง ได้ 4 กลุ่ม ได้แก่

    1. อาหารควบคุมเฉพาะ
    • อาหารที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อาหารสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก ทารก เด็กเล็ก หรืออาหารที่เสี่ยงต่อการนำไปใช้โดยเฉพาะวัตถุเจือปนอาหาร
    • กัญชา-กัญชง สารสกัดกัญชา-กัญชง CBD และ THC
    1. อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน

          ได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กาแฟและเครื่องดื่มเกลือแร่

     

    1. อาหารที่มีฉลาก
    2. อาหารทั่วไป
    • อาหารกลุ่มเสี่ยงน้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ
    • ไม่ต้องขอเลข 13 หลักจาก อย. ก็สามารถวางขายได้

     

    ตัวอย่างการจัดประเภทอาหาร

     

    1. น้ำหวาน/น้ำเชื่อม ชนิดชงเอง

                 - จัดเป็นเครื่องดื่มพร้อมบริโภค

    1. น้ำส้มซันควิก

                 - จัดเป็นเครื่องดื่ม

    1. ชาหมักคอมบูชะ

                 - ต้อมีแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 0.5 %

                 - จัดเป็นเครื่องดื่ม

    น้ำแร่ธรรมชาติน้ำที่มาจากแหล่งแร่ ไม่ผ่านกระบวนการที่ทำให้คุณสมบัติของน้ำแร่เปลี่ยนแปลงไป

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/10/2567 11:55:22   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง