ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ NACED ครั้งที่ 1
วันที่เขียน 2/4/2562 23:44:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 2:43:40
เปิดอ่าน: 2484 ครั้ง

การทำวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในปัจจุบัน ได้ยึดแนวทางการทำวิจัยตามยุทธศาสตร์การวิจัยและนวตกรรม 20 ปี (พศ.2561 – 2580) ซึ่งมีเป้าหมายว่า ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวตกรรม 20 ปี (พศ.2561 – 2580) ซึ่งมีเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในภาพรวม ว่า “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

             จากการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการอฺภิปราย ในหัวข้อเรื่องการวิจัยเพื่อการศึกษาและพัฒนาประเทศ ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดย คุณสมปรารถนา สุขทวี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ รศ.ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้มีความเข้าใจว่าจะต้องมีการทำวิจัยทางการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยให้มีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์การวิจัยและนวตกรรม 20 ปี (พศ.2561 – 2580) ซึ่งมีเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในภาพรวม ว่า “ประเทศมีความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน  เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ด้านความมั่นคง : ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข
  2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
  4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
  5. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

โดยร่างยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม (National Research and Innovation Strategy) มีดังนี้

  1. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างความมั่งคั่งทาง
  2. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  3. การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานของประเทศ
  4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบุคลากรและระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

 

นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิชาการทั้งในส่วนของผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ และผลงานวิจัยภาคบรรยาย ในหัวข้อต่าง ๆ ทำให้มีความเข้าใจ และเห็นแนวคิดในการทำวิจัยในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ในส่วนของสาขาวิชาการศึกษา เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ เช่น เรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาพาณิชยกรรมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ซึ่งใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ ซึ่งข้าพเจ้าสามารถนำไปบอกเล่าให้นักศึกษาในรายวิชา วท497 สหกิจศึกษา ซึ่งจะต้องเลือกใช้เทคนิคทางสถิติฟังได้ จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย และเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไปด้วย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=942
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 18:44:10   เปิดอ่าน 12  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง