การวิจัยเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้อยู่ในฐานะที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้งานวิจัยเป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการสร้างชาติ ดังนั้นบุคลากรวิจัยจึงมีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดการยก ระดับคุณภาพสังคม คุณภาพคนในชาติ ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้เกิดผลสำเร็จได้ในระดับ สากล รัฐบาลมีเจตนาแน่วแน่ในการสนับสนุนการวิจัย ในทุกระดับ เช่น งานวิจัยพื้นฐานจะได้รับการส่งเสริมให้มีผลงาน ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรืองานวิจัยที่สามารถต่อยอดได้ก็จะได้รับการผลักดันไปสู่ผลงานเชิงนวัตกรรม นำไปสู่เชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับเวทีโลก ซึ่ง นวัตกรรมจากงานวิจัยพื้นฐานที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในประเทศ สามารถพัฒนาประเทศชาติให้แข็งแกร่ง โดย ยกตัวอย่างนวัตกรรมจากการวิจัยที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศดังนี้
1 นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเกษตร เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร การออกแบบ บรรจุภัณฑ์
2 นวัตกรรมเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
3 นวัตกรรมเพื่อความมั่นคง เช่น เครื่องเก็บกู้ระเบิด เกราะกันกระสุน
4 นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการสอนให้กับนักศึกษา
ในการขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทยด้วยงานวิจัย ต้องได้การสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐเเละเอกชน ให้เข้ามามีส่วน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีจำนวนบุคลากรวิจัยค่อนข้างจำกัด จึงควรเร่งสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มี ประสบการณ์ด้านการวิจัยให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการปฏิรูปโครงสร้าง พื้นฐานให้มีกระบวนการสร้างนักวิจัยอย่างเป็นระบบ เพิ่มขีดความสามารถของการสร้างบุคลากรวิจัย ด้วยการสร้างแม่พิมพ์ ของชาติด้านการวิจัยให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และขยายเครือข่ายงานวิจัยให้มากขึ้น เพื่อการพัฒนาประเทศบนรากฐานของ การวิจัย ซึ่งจะนำพาประเทศไทยสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน