|
|
|
|
|
|
|
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
»
เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้
- การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อยกระดับการเรียนการสอน การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์
- การทำความเข้าใจเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิผลการเรียนรู้
- กาทำความเข้าใจ เรื่อง เคมีในสมองกับการเรียนรู้ ที่สัมพันธ์กับผู้เรียน และผู้จัดกิจกรรม เพื่อสร้าง ความรู้สึกยินดี เช่น เมื่อได้รับรางวัล การสร้างความสุข ความรู้สึกไว้วางใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ฟังคำแนะนำการใช้สื่อมือถือ และเครื่องมือโปรแกรมที่ช่วยทิ้งความน่าเบื่อในชั้นเรียน เช่น Mentimeter, Bingo, Canva, Socrative, Flinga เป็นต้น
- ได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ Mentimeter เป็นเครื่องมือในการทำ Poll สำรวจความคิดเห็นหรือตอบคำถามร่วมกันในชั้นเรียน สามารถแสดงผลคำตอบได้แบบ Real time เหมาะกับการใช้ในการสำรวจความเข้าใจ หรือระดมความคิดเห็น (Brainstorming) ในชั้นเรียนได้ดี Bingo เป็นเครื่องมือการสอนในรูปแบบเกมส์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความสนใจและการจดจ่อในการเรียน นอกจากนี้สามารถสอดแทรกเนื้อหาในชั้นเรียนผ่านคำที่เลือกใช้ในเกมส์ ซึ่งเป็นคำสำคัญของบทเรียนนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำกลับไปทบทวนต่อได้ การใช้เกมส์ตอบคำถามในชั้นเรียน ได้แก่ Kahoot และ Quizizz เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบของการแข่งขันกันในห้องเรียน ที่ให้ทั้งความสนุกและการเรียนรู้ เหมาะสำหรับการทำแบบทดสอบย่อย เพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาหลังจากบทเรียนได้ดี
- เรียนรู้จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ การสร้าง Mindset ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการเรียน และการสร้าง Growth mindset เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง และไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรค โดยสามารถใช้จิตวิทยาการชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน โดยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ และมีการกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลา จะทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยการใช้หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Plearn (Play+Learn) ที่ใช้เครื่องมือกระตุ้นความสนใจและมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงสร้าง Engagement ในระหว่างเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่ก่อให้เกิดความสุขซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
|
คำสำคัญ :
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1782
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/8/2564 10:42:56
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 17:04:35
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของความพร้อมของบุคลากร และ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้แบบสอบถามเก็บจากตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 318 คน ผู้วิจัยได้ชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว (Simple Random Sampling) ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL 8.52 และวิเคราะห์หาปัจจัยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)
จากผลการวิจัยที่ได้พบว่า องค์ประกอบความพร้อมด้านความรู้ ความพร้อมด้านจิตพิสัย และความพร้อมด้านทักษะ มีค่าความเที่ยงสูง และองค์ประกอบส่วนใหญ่อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรในองค์ประกอบได้สูง
ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาพบว่าในด้านความรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์ทำงาน ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลสื่อสาร และการได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ส่วนในด้านจิตพิสัย ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การสร้างแรงจูงใจของผู้บริหาร และการได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านทักษะ ประกอบด้วยความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการรับรู้กำหนดการของแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
|
คำสำคัญ :
การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ปัจจัย ความพร้อม
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3750
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
28/8/2558 9:23:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:16:52
|
|
|
|
|
|
|