สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์
วันที่เขียน 11/5/2562 14:32:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/12/2567 0:07:20
เปิดอ่าน: 2550 ครั้ง

จากการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2562 ณ จังหวัดระยอง ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง มี 3 สาขาวิชา 4 หลักสูตรคือ สาขาบริการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน สาขากระบวนการอุตสาหกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม (ตรี + โท) สาขาเทคโนโลยีพลังงานและการจัดการ (ตรี + โท) มีศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน มีทางเดินเส้นทางธรรมชาติ มีการใช้รถจักรยาน มีแผงพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในมหาวิทยาลัย 

        การบริหารจัดการแบบบูรณาการ

  • ใช้งบประมาณและทรัพยากรแบบศูนย์รวม ทำให้การของบประมาณง่ายขึ้น
  • ใช้ระบบสารสนเทศช่วยในการบริหารจัดการ

ระบบการจัดการห้องปฏิบัติการ

  • ห้องปฏิบัติการออกแบบให้โปร่ง เพื่อการถ่ายเทสารเคมี เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
  • ห้องสำนักงาน แม่บ้านจะต้องเปิดหน้าต่างทั้งหมดเพื่อระบายอากาศที่มีผงหมึกพิมพ์ที่กระจายอยู่ในห้องปรับอากาศ
  • ปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยจัดโครงการขึ้นมาร่วมกับชุมชนและบริษัท
  • ห้องปฏิบัติการมีจำนวน 8 ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการเคมีและสิ่งแวดล้อม ห้องปฏิบัติการชีววิทยาและจุลชีววิทยา ห้องปฏิบัติการพื้นฐานทางไฟฟ้า ห้องปฏิบัติการพลังงาน ห้องปฏิบัติการเครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง แต่ละชั้นจะมีหนังสือมอบหมายให้อาจารย์รับผิดชอบ เรื่องการเยี่ยมชม เรื่องการทำความสะอาด เรื่องเครื่องมือชำรุดเสียหาย สั่งซื้อเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่ต้องทำเอกสารผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละชั้น หรือรองคณบดีบริหาร (ผู้ดูแลอาคาร) ก่อนที่จะไปถึงคณบดี
  • การจองใช้งานเครื่องมือชั้นสูงจะผ่านระบบออนไลน์ ควบคุมการทำงานผ่านนักวิจัยทั้งหมด
  • การใช้งานเครื่องมือจะมีการฝึกปฏิบัติให้ชำนาญก่อนทุกครั้ง (3 ครั้ง)
  • การจัดการวัสดุและสารเคมี มีฐาน data base ทำเป็นระบบออนไลน์ มีระบบตาม ESPRel Checklist
  • มีระบบมาตรฐาน safety ต่างๆ
  • จัดอบรมนักศึกษาเกี่ยวกับ safety ให้จัดทำฐานข้อมูลระบบการจัดเก็บสารเคมี ตามมาตรฐาน NFPA โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา นักศึกษาต้องสอบ

การจัดการของเสีย

  • มีระบบบำบัดเคมี ปรับ pH ก่อนปล่อยออกจากมหาวิทยาลัย รถน้ำต้นไม้ในวิทยาเขต
  • ทำเป็นศูนย์วิจัย ศูนย์การเรียนรู้ การเรียนการสอนในวิชา unit operation และวิชา waste water นักศึกษาจะสุ่มเก็บน้ำเพื่อทดสอบว่าค่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง จำลองให้เป็น pilot scale

 

ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาได้มาตรฐานความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ เชื้อจุลินทรีย์ที่มีความเสี่ยงประเภทที่ 2 และคณะพยายามนำห้องปฏิบัติการทั้งหมดเข้าสู่ระบบ ESPRel ตอนนี้ขึ้นเลขทะเบียนและจัดทำ ISO ด้วยข้อกฎหมายบังคับต้องมี เพื่อการจัดซื้อสารเคมีมาใช้

 

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตนเองและหน่วยงาน

จากการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 1:45:29   เปิดอ่าน 154  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 22:29:38   เปิดอ่าน 341  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง