ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตรเชิงลึก ครั้งที่ 1
วันที่เขียน 20/3/2560 22:33:02     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 16:15:59
เปิดอ่าน: 6516 ครั้ง

การเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ที่ดี ผู้เขียนรายงานจะต้องมีความเข้าใจเกณฑ์ ว่าวัดอะไร โดยในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ในแต่ละตัวบ่งชี้ จะมีคำอธิบายเขียนอยู่ ซึ่ง ในการเขียนรายงานการดำเนินการของหลักสูตรให้เขียนตามคำอธิบายตัวบ่งชี้ เพราะผู้ประเมินจะใช้คำอธิบายเหล่านี้ในการให้คะแนนการประเมิน

              ในการเข้าร่วมประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึกใน วันที่ 19 - 20 มีนาคม 256 นี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายการเขียน SAR ที่ถูกต้องตามเกณฑ์ จากวิทยากรจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผศ.ปราณี พรรณวิเชียร วิทยากรกลางจาก สกอ. และ รศ.เพ็ญรัตน์  หงส์วิทยากร วิทยากรประจำเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งได้กล่าวถึง ว่า กระบวนการคือ ขั้นตอนการทำงานในระบบที่ผลักดันให้เกิดผลการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเกณฑ์คุณภาพ ซึ่งในการทำงานเชิงคุณภาพ ความสำคัญอยู่ที่การทำงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ดังนั้นกระบวนการย่อยเพื่อขับเคลื่อนจึงมีคามสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบนั้นยั่งยืน ดังนั้นการเขียนรายงานในตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการที่ดีต้องเข้าใจเกณฑ์ ว่าวัดอะไร โดยในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ในแต่ละตัวบ่งชี้ จะมีคำอธิบาย ดังนี้

              ตัวบ่งชี้ที่.....

              ชนิดของตัวบ่งชี้......

              คำอธิบายตัวบ่งชี้......

              เกณฑ์การประเมิน..................

ซึ่งในการเขียนรายงานการดำเนินการของหลักสูตรให้เขียนตามคำอธิบายตัวบ่งชี้ เพราะผู้ประเมินจะใช้คำอธิบายเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการให้คะแนน ดังนี้

 

ตัวบ่งชี้ที่ 3 นักศึกษา จะมีเกณฑ์การประเมิน คือ

     3.1 การรับนักศึกษา : นักศึกษามีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร

     3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา : นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข และมีทักษะที่จำเป็น ต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

     3.3 ผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา : นักศึกษามีความพร้อมทั้งการเรียน มีอัตราการคงอยู่

 

ตัวบ่งชี้ที่ 4 อาจารย์ จะมีเกณฑ์การประเมิน คือ

     4.1 การและพัฒนาอาจารย์ : อาจารย์มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านคุณวฒิการศึกษา และตำแหน่งทางวิชาการ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

                                    : การส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์ที่สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร

     4.2 คุณภาพอาจารย์ : อาจารย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางสาขาวิชา และมีประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการผลิตบัณฑิต

     4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ : อัตรากำลังอาจารย์เหมาะสมกับนักศึกษา

                                   : อัตราคงอยู่ของอาจารย์

                                   : อาจารย์มีความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน จะมีเกณฑ์การประเมินคือ

     5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร : หลักสูตรมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ

     5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน

                   : กระบวนการจัดการเรียนการสอนตอบสนองต่อความแตกต่างของผู้เรียน

                   : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                   : ผลการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย

      5.3 การประเมินผู้เรียน

                        : การประเมินที่สะท้อนสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอน

                        : อาจารย์ใช้ข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอน

                        : นักศึกษาใช้ข้อมูลในการปรับปรุงตัวเองให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

                        : ประเมินนักศึกษาตามผลการเรียนรู้ที่ตั้งไว้

 

ตัวบ่งชี้ที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จะมีเกณฑ์การประเมินคือ

6.1  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

                : การเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอน

                : การมีส่วนร่วมในแต่ละระดับในการจัดทำแผนหรือจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

                : การเรียนการสอนมีประสิทธิผล

 

              หลังจากนั้นวิทยากรให้แต่ละหลักสูตรได้นำเสนอรายงานการดำเนินการของหลักสูตรแล้วให้ข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้

              ในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา : นักศึกษามีความพร้อมในการเรียนในหลักสูตร การเขียนเป้าหมายจะต้องเขียนทั้งเชิงปริมาณ (เช่น เพื่อให้ได้นักศึกษา จำนวน 40 คน) และเชิงคุณภาพ (เช่น เพื่อให้ได้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด ได้แก่ สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.50 เป็นต้น) และให้เขียนแยกประเภทของการรับให้ชัดเจนเลย โดยจะต้องทำการประเมินว่า นักศึกษาที่รับเข้ามาเป็นไปตามเป้าหรือไม่ กระบวนการใดไม่เป็นไปตามเป้า จึงพิจารณาการปรับปรุงกระบวนการเดิม โดยการรับนักศึกษาจะเป็นกระบวนการรับนักศึกษาที่จะเข้าเรียนในปีการศึกษา 2559

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา : นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข และมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งในประเด็นของการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษานั้น จะต้องดำเนินการก่อนเรียน หรืออย่างช้าภายในภาคการศึกษาแรกเท่านั้น โดยจะต้องมีการทราบถึงความแตกต่างของนักศึกษาแต่ละคนว่าจะต้องเพิ่มเติมความรู้ความสามารถด้านใดให้   ถ้านักศึกษาไปเรียนวิชาต่าง ๆ จะไม่ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาทุกกรณี

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา : นักศึกษาพร้อมทั้งการเรียน และมีอัตราการคงอยู่ที่ดี เป็นต้น โดยในส่วนของอัตราการคงอยู่จะต้องเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาที่จบตามกำหนดเวลาของหลักสูตร กับจำนวนนักศึกษาแรกเข้า แล้วย้อนหลังไปอย่างน้อย 3 ปี เพื่อจะดูพัฒนาการ โดยจะนับเฉพาะนักศึกษาที่รับเข้าตั้งแต่เริ่มต้นเท่านั้น จะไม่นับนักศึกษาที่ย้ายเข้ามา และในการประเมินความ พึงพอใจ จะต้องระบุชัดเจนว่าจะประเมินเรื่องใดบ้าง และพิจารณาว่าแบบประเมินตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ ซึ่งจะต้องรายงานใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1.การรับและการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร 2. การบริหารอาจารย์ 3. การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ โดยจะรายงานเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตรเท่านั้น

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์ รายงานตามข้อมูลจริง

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ ซึ่งจะต้องรายงานใน 2 ประเด็น ดังนี้ 1. อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ 2. ความพึงพอใจของอาจารย์ โดยถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรเลย จะถือว่ามีแนวโน้มที่ดี

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การออกแบบหลักสูตร และ สาระรายวิชาในหลักสูตร ให้เขียนเปรียบเทียบระหว่างหลักสูตรปี 2548(หลักสูตรเดิม) และ หลักสูตรปี 2555 (หลักสูตรปัจจุบัน) ว่าหลักสูตรปี 2555 ต่างจากหลักสูตรปี 2548 อย่างไร โครงสร้างหลักสูตรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รายวิชาแกน/วิชาเอก/วิชาเอกเลือกเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รายละเอียดวิชาเปลี่ยนแปลงหรือไม่ มีการยุบรายวิชา จาก 2 รายวิชาเป็น 1 รายวิชาหรือไม่ วิธีการสอน/เทคนิคการสอนเปลี่ยนแปลงหรือไม่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรชัดเจนหรือมีอะไรที่ชัดเจนขึ้นหรือไม่ และที่สำคัญ ในช่วง 3 ปี หลังจากที่ได้รับการรับรองจาก สกอ. มีการปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัย

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การกำหนดผู้สอน การกำกับติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ. 3, มคอ.4) การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีทีมีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เขียนอธิบายว่าหลักสูตรมีการมอบหมายงานสอนให้กับอาจารย์ผู้สอนอย่างไร มีเกณฑ์อย่างไร โดยนับเฉพาะรายวิชาในหลักสูตรเท่านั้น ซึ่งการจักการเรียนการสอนจะต้องตอบสนองต่อความแตกต่างของผู้เรียนเป็นหลัก และในภาคเรียนเดียวกัน นักศึกษาไม่ควรเรียนกันอาจารย์แต่ละท่านหลายวิชา(จะให้ดีต้องเรียนกับอาจารย์แต่ละท่านเพียง 1 รายวิชา เท่านั้น) และนอกจากจะรายงานจำนวนรายวิชาที่บูรณาการด้านต่าง ๆ แล้ว ต้องรายงานด้วยว่าบูรณาการอย่างไร และต้องรายงานในส่วนของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางด้วย เช่น รายวิชาสหกิจศึกษา หรือการนำนักศึกษาไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้จริง เป็นต้น

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การประเมินผู้เรียน หลักสูตรจะต้องมีการสรุปว่านักศึกษาแต่ละชั้นปีจะได้อะไรจากหลักสูตร เช่น ปี 1 ได้ความเป็นคน ...... ปี 4 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในวิชาชีพได้ เป็นต้น

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ รายงานตามจริง โดยในข้อของบุคลากรสายสนับสนุน ถ้าไม่ได้เป็นบุคลากรที่ได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของหลักสูตรให้ไปนับในส่วนของคณะแทน

 

              ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จะต้องรายงานใน 2 ประเด็นคือ 1. ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน และ 2. กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้รายงานสิ่งสนับสนุนจริง ๆ เช่น e-book e-journal โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เป็นต้น โดยไม่เน้นสิ่งสนับสนุนทั่วไป เช่น ห้องเรียน เครื่องฉาย หรือ LCD

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=662
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/4/2567 22:17:03   เปิดอ่าน 22  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/4/2567 16:56:52   เปิดอ่าน 41  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง