|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
การวิเคราะห์เส้นทางของปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา โดยทำการเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 82 คน โดยใช้การชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากทุกด้าน
ตัวแปรเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ (1) การมีเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) การมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (4) การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ (5) การมีความมีวินัยในตนเอง โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 1.1248 , 0.9111 , 0.8582 , 0.64 และ 0.5376 ตามลำดับ
การมีเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิทธิพลสูงสุดต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.77 ส่วนอิทธิพลทางอ้อมผ่านการมีความมีวินัยในตนเอง และการมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ 0.3548
การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีเฉพาะอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองเท่ากับ 0.64 ส่วน การมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และความมีวินัยในตนเองมีเฉพาะอิทธิพลทางอ้อม โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.9111 ,0.8582 และ 0.5376 ตามลำดับ
คำสำคัญ: การวิเคราะห์เส้นทาง ความพร้อมในการเรียนรู้
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4960
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
8/9/2559 10:17:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 17:38:02
|
|
|
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของความพร้อมของบุคลากร และ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้แบบสอบถามเก็บจากตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 318 คน ผู้วิจัยได้ชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว (Simple Random Sampling) ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL 8.52 และวิเคราะห์หาปัจจัยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)
จากผลการวิจัยที่ได้พบว่า องค์ประกอบความพร้อมด้านความรู้ ความพร้อมด้านจิตพิสัย และความพร้อมด้านทักษะ มีค่าความเที่ยงสูง และองค์ประกอบส่วนใหญ่อธิบายความแปรปรวนของตัวแปรในองค์ประกอบได้สูง
ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาพบว่าในด้านความรู้ ประกอบด้วย ประสบการณ์ทำงาน ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลสื่อสาร และการได้รับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ส่วนในด้านจิตพิสัย ประกอบด้วย ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การสร้างแรงจูงใจของผู้บริหาร และการได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านทักษะ ประกอบด้วยความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการรับรู้กำหนดการของแผนการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
|
คำสำคัญ :
การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ปัจจัย ความพร้อม
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3750
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
28/8/2558 9:23:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:16:52
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์จำนวน 18 เรื่อง จำแนกตามประเภทงานวิจัยทางด้านลำไยอินทรีย์ ทางด้านทรัพยากรนิเวศทางเกษตรอินทรีย์ และทางด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ พบว่าด้านการผลิตลำไยอินทรีย์ และด้านทรัพยากรนิเวศทางเกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 1) ประสิทธิภาพการผลิต ขึ้นอยู่กับระบบการผลิตลำไยที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับ ความรู้ความเข้าใจ การมีประสบการณ์ของเกษตรกรผู้ผลิต สภาพพื้นที่เพาะปลูก สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ความสมบูรณ์ของต้นลำไย ความต้องการของตลาด และความร่วมมือของเกษตรกร 2) สาเหตุที่เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีสาเหตุเนื่องจากเพื่อลดอันตรายจากสารเคมีตกค้าง และสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน เป็นต้น และ 3) วิธีเพิ่มผลผลิตของลำไย ได้แก่ การควั่นกิ่งและการตัดราก การใช้ต้นตอของพันธุ์ลำไยที่สามารถออกดอกได้มาก และการใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ เช่น มูลวัว มูลค้างคาว มูลไก่ เป็นต้น
ส่วนด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 1) ด้านการบริโภคของผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมการบริโภค โดยสิ่งที่ผู้บริโภคคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ราคาสมเหตุสมผล ความรู้ที่ได้รับ และการคำนึงด้านสุขภาพ 2) ด้านการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ แบ่งเป็น ก) ประสิทธิภาพการผลิต และรูปแบบการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสม ซึ่งควรใช้การปลูกพืชแบบผสมผสาน และ ข) ปัญหาที่ส่งผลต่อระบบการผลิต มีหลายสาเหตุ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ แมลงศัตรูพืช ราคาสินค้าตกต่ำ และระบบชลประทาน
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3280
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
9/4/2558 16:01:39
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:20:48
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
The Current Problems of Education Assessment in USA
|
The Current Problems of Education Assessment in USA
โดย Dr.Scott G.Paris Ph.D Vice President, Research Educational Testing Service
เป็นการถอดความการปาฐกถา โดย อาจารย์สามารถ ศรีจำนงค์ ใจความว่า ปัญหาการวัดประเมินผลในอเมริกา ซึ่งก็คงจะมีนัยต่อประเทศไทยเช่นกันทั้งในระดับประถมและมัธยม ประการแรกคือปัญหาการสอบมากเกินไป น่าจะต้องเน้นการวัดที่ใช้ฐานการปฏิบัติมากขึ้น และทุกประเทศจะต้องเตรียมเกี่ยวกับการวัดผลสำหรับการวัดและประเมิน ในอเมริกามีกฎหมายที่เน้นเรื่อง No Child Left Behind (ไม่มีเด็กคนไหนที่จะต้องถูกทิ้งไม่ดูแล) โดยกำหนดให้เด็กทุกคนต้องสอบประจำปีในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ พ่อแม่ต่างก็บ่นว่าการสอบเหล่านี้กดดันให้พวกเด็กวิตก เครียด และเด็กก็บ่นว่าพวกเขามัวแต่เตรียมตัวสอบ ส่วนครูก็บ่นว่าต้องใช้เวลาในการเตรียมงานด้านการทดสอบ ออกแบบทดสอบ ไม่มีเวลาติดตามหลักสูตรหรือสอนในวิชาอื่น และแบบทดสอบต้องใช้เวลาในการตรวจมากและไม่สามารถใช้ผลการสอบนั้นมาปรับปรุงการสอนได้ อีกทั้งประสิทธิภาพการสอนก็ถูกประเมินด้วยคะแนนสอบ ปัญหาเหล่านี้ก็พบที่สิงค์โปร จีน ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ควรมีทางแก้ คือ ลดการสอบ และควรมีการประเมินผลหลายๆ แบบ และครูผู้สอนเองก็ควรที่จะได้รับการฝึกฝนวิธีการใช้การประเมินที่ใช้ฐานการปฏิบัติอย่างได้ผล ต้องมีการบันทึกความก้าวหน้าของนักเรียน มีการสอนการอ่าน การเขียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณแก่นักเรียน มีการเชื่อมโยงระหว่างการสอนและการเรียนรู้ในหลักสูตร เพื่อให้การศึกษาไทยมีทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครูผู้สอนเองควรจะเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและการสร้างการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3274
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
3/3/2558 11:36:05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:14:36
|
|
|
ผลงานวิจัย
»
ทิศทางการวิจัยทางการศึกษาและวัดประเมินผลการศึกษา
|
ทิศทางการวิจัยทางการศึกษาและวัดประเมินผลการศึกษา โดย ศาสตราจารย์ ดร.รัตนะ บัวสนธ์ กล่าวว่า ทิศทางการวิจัยแยกเป็นสองส่วน คือ ทิศทางการวิจัยทางการศึกษา มีขอบข่ายประเด็นสำคัญที่ควรมุ่งเน้นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยต่างๆ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมหรือแบบอิงฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิจัยเชิงคุณภาพแบบอิงฐานเชิงพื้นที่และการวิจัยเชิงผสมผสาน สำหรับส่วนที่สอง ทิศทางการวิจัยเชิงการวัดและประเมินผลการศึกษา มีขอบข่ายประเด็นสำคัญที่ควรมุ่งเน้นรูปแบบการประเมินแบบอิงฐานผู้มีส่วนร่วม การประเมินความร่วมมือ การประเมินเสริมพลัง การประเมินมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ การประเมินเชิงสร้างสรรค์หรือเชิงคุณภาพ และการประเมินเชิงผสมผสาน ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นประเด็นที่ควรมุ่งทำวิจัยทางการศึกษาวัดและประเมินผลการศึกษา เพื่อการใช้ประโยชน์ได้จริงและต่อยอดเติมเต็มองค์ความรู้ของศาสตร์ด้านการวัดผล วัดและประเมินผลการศึกษาโดยตรง
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3047
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
หนึ่งหทัย ชัยอาภร
วันที่เขียน
3/3/2558 11:33:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
14/11/2567 6:49:32
|
|
|
|