ระบบการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศอาเซียนทุกประเทศให้ความสําคัญกับการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการที่ จะทําให้การศึกษานั้นมีส่วนสําคัญในการทําให้ประเทศมีพัฒนาการทางเศรฐกิจ สังคมที่ก้าวหน้ามากขึ้น ความสําคัญของการศึกษาในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน เป็นกลไกสําคัญในการนําอาเซียนบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 โดยกําหนดให้อาเซียน มี วิสัยทัศน์สู่ภายนอก มีสันติสุข และมีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วนใน สิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตยและอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน
ในฐานะที่มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การเข้าใจระบบการศึกษาพื้นฐานในแต่ละประเทศ มีผลต่อการรับนักศึกษาที่จะเข้ามาในระบบการศึกษาของประเทศไทย การศึกษาในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน มีระบบดังนี้
1. บรูไนดารุสซาลาม : Brunei Darussalam
การศึกษาของบรูไนดารุสซาลามหน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education – Brunei Darussalam) ไม่มีการจัดการศึกษาภาคบังคับ แต่มีการจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ระบบการจัดการศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม มีดังนี้
• ระดับก่อนประถมศึกษา 1 ปี
• ระดับประถมศึกษา 6 ปี
• ระดับมัธยมศึกษา 7-8 ปี แบ่งเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2-3 ปี
และระดับเตรียมอุดมศึกษา 2 ปี
• ระดับมหาวิทยาลัย 3-4 ปี
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และการกีฬา (Ministry of Education, Youth and Sport – Cambodia)
การจัดระบบการศึกษาของกัมพูชา มีดังนี้
• ระดับก่อนประถมศึกษา 3 ปี
• ระดับประถมศึกษา 6 ปี
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
• ระดับอุดมศึกษา 4-7 ปี
การจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3-5 ปี โดยจะเน้นการฝึกทักษะ
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการแห่งชาติ (Ministry of National Education – Indonesia)
ระบบการศึกษาของอินโดนีเซีย มีดังนี้
• การศึกษาก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ ใช้เวลา 9 ปี
• การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาจะกำหนดโครงการการศึกษาเป็นเวลา 6 ปี ซึ่งโรงเรียนจะมี
ลักษณะแตกต่างกัน 2 แบบ คือ
- โรงเรียนประถมศึกษาแบบทั่วไป (General Primary School)
- โรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (Special Primary School for Handicapped Children)
• การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น3 ปี
• การศึกษาระดับสูงหรืออุดมศึกษา เป็นการขยายจากการศึกษาระดับมัธยมศึกษาระดับปริญญาตรีใช้เวลา เรียน 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการโพลีเทคนิค สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: The Loa People's Democratic Republic
หน่วยงานจัดการศึกษาได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ(Ministry of Education – Lao PDR)
ระบบการจัดการศึกษาประกอบด้วย
• การศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปี
• การศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของ
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้ระบบการศึกษาแบบ 11 ปี คือระบบ 5:3:3 ดังนี้
• ระดับประถมศึกษา 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี การศึกษาในระดับนี้เป็นการศึกษาภาคบังคับ
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
การอุดมศึกษาหรือการศึกษาชั้นสูงรวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค
สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย
การศึกษาสายอาชีพใช้เวลาศึกษา 3 ปี ในวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ เช่น ทางด้านไฟฟ้า ก่อสร้าง บัญชี ป่าไม้
5. มาเลเซีย : Malaysia
หน่วยงานจัดการศึกษาได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education – Malaysia)
ระบบการศึกษาของประเทศมาเลเซียแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
• ระดับการเตรียมความพร้อม
• ระดับประถมศึกษา
• ระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วยมัธยมศึกษาตอนต้น (ปี 1-3)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (4-5) เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากระดับประถมศึกษา
• ระดับเตรียมอุดมศึกษา คือการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาแต่ยัง ไม่ถึงระดับปริญญาตรี
โดยที่นักศึกษาที่จะจบระดับนี้ สามารถก้าวไปสู่ระดับปริญญาตรีได้การศึกษาในระดับนี้ใช้เวลา 2 ปี
• ระดับอุดมศึกษา แบ่งสถาบันออกเป็น 2 ส่วนคือ สถาบันของรัฐและสถาบันของเอกชน
6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ :The Republic of the Union of Myanmar
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education – Myanmar)
ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียน
โดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
ระบบการศึกษาแต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่างๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษาเป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน
ระบบการศึกษาของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นระบบ 5 : 4 : 2 ดังนี้
•ระดับประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
•ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
•ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
•ระดับอาชีวศึกษา 1-3 ปี อุดมศึกษา 4-6 ปี กรมการเทคโนโลยี เกษตรและอาชีวศึกษาเป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรม และการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิค
7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Department of Education – Philippines)
ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
โดยการศึกษาแบบที่เป็นทางการนั้นมีลำดับขั้นตอนของการเรียนอยู่สามระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์ มีดังนี้
•ระบบการศึกษาปฐมวัย เป็นการเรียนชั้นอนุบาลเพื่อเตรียมตัวเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา
•ระดับประถมศึกษาใช้เวลาศึกษาภาคบังคับ 6 ปีที่โรงเรียนของรัฐบาลหรือ 7 ปีในโรงเรียนของเอกชน
•ระดับมัธยมศึกษาใช้เวลา 4 ปี
•การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษารวมไปถึงหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบ 1-3 ปี ที่อาจไม่มีการมอบปริญญาก็ได้
•ระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ในหลากหลายสาขาวิชา
การจัดการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ หรือนอกระบบโรงเรียน ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือนอกจากนี้ประเทศฟิลิปปินส์ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษาบางวิชาจะสอนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ จะสอนเป็นภาษาตากาล็อค
8. สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education – Singapore)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาลและโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
ระบบการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ แบ่งได้ดังนี้
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับใช้เวลา 10 ปี แบ่งได้ดังนี้
• ระดับประถมศึกษา 6 ปี
• ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี
• เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ผู้ที่สนใจเรียนสายวิชาชีพเทคนิคหรืออาชีวศึกษา
ก็สามารถแยกไปเรียนตามสถาบันต่างๆได้ ส่วนผู้ที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษา อีก 2 ปี
• ระดับอุดมศึกษา มีมหาวิทยาลัยหลัก3แห่ง ได้แก่ National University of Singapore(NUS),
Nanyang Technological University และ Singapore Management University
9. ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education – Thailand)
ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดการศึกษา 3 รูปแบบ
คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบเป็นแบบ 6 : 3 : 3 โดยจัดการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
1.1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3-6 ปี
1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา ใช้เวลาเรียน 6 ปี
1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาเรียน 3 ปี
1.4 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
และประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับ อาชีพชั้นสูงต่อไป
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรม (Ministry of Education and Training – Vietnam)
ระบบการศึกษาของเวียดนาม การศึกษาสามัญ 12 ปี มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้มีจิตวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถ ในด้านอาชีพ
ระบบการจัดการศึกษาของเวียดนาม มีดังนี้
1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education)
ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี
และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
2. การศึกษาสามัญ (5 : 4 : 3)
• ระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12
3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา
5. การศึกษาต่อเนื่องเป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ