ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2567 18:52:37
เปิดอ่าน: 21 ครั้ง

เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ในการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE รุ่นที่ ๗” โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม มีรายละเอียดดังนี้

ได้รับฟังการบรรยายหัวข้อ “ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE รุ่นที่ ๗” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงกัญคดา อนุวงศ์ โดยประเด็นการบรรยาย ประกอบด้วย

AFIs ที่ผู้ประเมินน่าจะเข้าใจ OBE คลาดเคลื่อนประกอบไปด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

- หลักสูตรควรนำเสนอผลการเรียนรู้เรียงตามระดับการเรียนรู้ตาม Learning level เสมอ

- 1 PLO ต้องมีแค่ ๑ คำกริยาเท่านั้น

- จำนวน PLOs มากเกินไปควรมีเท่า ABET หรือ ควรมีไม่เกินจำนวนที่ระกำหนดต่อหลักสูตร

- แต่ละหลักสูตรต้องมีทั้ง PLOs และ Sub-PLOs

- ทุกหลักสูตรต้องเขียน PLOs ครบทุกด้านของ Learning Taxonomy

- PLOs ต้องมีครบทุก Learning level ของ Learning Taxonomy ใด ๆ

- PLOs ต้องเป็น Learning level สูง ๆ เท่านั้น

- PLOs หลักสูตร ป.ตรี ต้องมีถึงระดับ Creating

โดยประเด็นที่กล่าวมาแล้วนั้น คือความคลาดเคลื่อนที่ผู้ประเมินอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การประเมินคุณภาพเกิดความคลาดเคลื่อนไปด้วย โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในประเด็นต่าง ๆ นอกจากนี้วิทยากรได้บรรยายสิ่งที่พึงระวังสำหรับผู้ประเมินให้พึงระวังในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

          - ทุกหลักสูตรต้องจัดทำหลักสูตรโดยการทำ KAS เสมอไป จึงจะเป็นการทำหลักสูตรตามหลักการ Backward Design / เกณฑ์ AUN-QA

          - ถ้ามีการทำ KAS จะเป็นการทำหลักสูตรตามหลักการ Backward Curriculum Design / เกณฑ์ AUN-QA ข้อ ๒.๒ เสมอ

          - ถ้ามีการทำ Mapping ก็สามารถสรุปได้ว่าวิชาต่าง ๆ ถูกสร้างจาก PLOs

          - ถ้ามีการใช้ PLOs เป็นตัวตั้งในการสร้าง CLOs ก็สรุปได้ว่าหลักสูตรสร้างจาก BCD

          - หลักสูตร Non-coursework ไม่สามารถ/ไม่จำเป็นที่จะต้องทำหลักสูตรตามหลักการ Backward Curriculum Design ได้

          - หลังจากทำ Backward Curriculum Design แล้ว ควรมีการพิจารณาการทำจุดดำ จุดขาว โดยให้ผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบรายวิชาต่าง ๆ มามีส่วนร่วมในการปรับย้ายจุดดำให้เหมาะสมกับสาระของวิชา

          - PLOs บางตัวมีวิชามารองรับน้อยเกินไป นักศึกษาอาจไม่บรรลุ PLOs นั้น ๆ?

          - มีจำนวนวิชาผลักดัน PLO น้อยเกินไป

          - CLOs ต้องสร้างมาจากวิธี BCD เท่านั้น

          - ถ้าอาจารย์ผู้สอนเล่าวิธีการทำ CLOs ไม่ได้ แสดงว่าหลักสูตรไม่ได้ทำ BCD

          - ถ้า PLO อยู่ใน Learning level ใด CLOs ต้องอยู่ใน Learning level เดียวกัน

          - CLOs คือสิ่งที่อยู่ใน Mapping

          - ทุกวิชาต้องมีครบ CLOs ครบทั้ง K-A-S

          - ทุกวิชาต้องมี CLOs ครบทั้ง Generic และ Specific

          - การมี CLOs ที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ และ/หรือไม่มีประโยชน์

          - การเขียน CLOs โดยแทรกชื่อวิชาลงใน PLOs

          จากประเด็นดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นประเด็นที่วิทยากรได้อธิบายว่าเป็นสิ่งที่ผู้ประเมินมักจะเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยวิทยากรได้ทำการชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ผู้ประเมินควรประเมิน และซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกัน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1461
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2567 18:17:29   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้ด้านการแก้ไขจีโน...
การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้  ประชุมวิชาการ  ภาวะโลกร้อน     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 19/6/2567 16:18:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2567 17:40:33   เปิดอ่าน 36  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/6/2567 9:29:24   เปิดอ่าน 134  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/6/2567 0:33:42   เปิดอ่าน 141  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง