|
|
|
สรุปรายงานการอบรม
»
การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
|
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills) 2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills) 3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills) เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ และที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนทันเวลาตามสถานการณ์ได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม และนำไปสู่สภาวะซึมเศร้าได้ จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ
|
คำสำคัญ :
4P Active learning Digital skills Look-Smile-Talk Personal skills Teaching skills แบบสอบถามใจ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2296
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช
วันที่เขียน
15/11/2564 16:19:38
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 17:58:11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
»
การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
|
การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning) ซึ่งจัดโดย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร
เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาต้องมีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไทย และสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศสู่ยุค Thailand 4.0 วิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถทำได้หลากหลายวิธี เรียกแบบรวมว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยในวิธีการที่หลากหลายนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ Project-based learning ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ และสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ การค้นคว้าหาความรู้ รวมไปถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
ในการอบรมนั้น ผู้บรรยายได้กล่าวถึงลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีดังนี้ 1. เป็นกระบวนการทางปัญญา พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. บูรณาการสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจ ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน 4. เน้นกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ 5. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยโครงงาน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่าผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหาและการค้นพบด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้กลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ความรู้ไม่ใช่เกิดจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนสามารถสร้างเองได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถเก็บข้อมูลของสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นโครงสร้างของสมองตนเอง และสามารถนำความรู้เดิมที่มีอยู่ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ จนเกิดเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเรียนรู้แบบร่วมมือยังส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน รับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
จากความรู้ที่ได้รับในการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชา สต 413 สถิติสำหรับวิจัยทางการเกษตร ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานี้(1/2561) ในบทของการเขียนโครงร่างการวิจัย โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 11 กลุ่ม ๆ ละ 4 คน แต่ละกลุ่มให้เลือกประเภทของการเกษตรที่สนใจและตั้งประเด็นคำถามจนเกิดเป็นหัวข้อในการวิจัย และเขียนโครงร่างการวิจัยทางการเกษตร มีการนำเสนอโครงร่างการวิจัย และให้กลุ่มอื่น ๆ แสดงความเห็น และซักถาม รวมทั้งประกวดผลงานของแต่ละกลุ่ม ซึ่งนักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
|
คำสำคัญ :
Project-based learning
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4088
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ลัคนา วัฒนะชีวะกุล
วันที่เขียน
9/8/2561 16:51:53
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 11:39:48
|
|
|
|
|