โครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft Skill
วันที่เขียน 19/4/2562 14:37:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 7:17:55
เปิดอ่าน: 3289 ครั้ง

โครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft Skill จัดขึ้นวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

        จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft Skill เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 256ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับความรู้และประโยชน์อย่างมาก ซึงแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆ 2 หัวข้อ คือ

1. เรื่องการเรียนการสอนแบบ Active Learning

เนื่องจากมนุษย์ทุกคนจะมีเปอร์เซ็นของการเรียนรู้เป็นไปตามพีระมิดแห่งการเรียนรู้ (The Cone of Learning) คือ เรียนรู้ได้ 10% จากการอ่าน เรียนรู้ได้ 20% จากการได้ยิน เรียนรู้ได้ 30% จากการได้เห็น เรียนรู้ได้ 50% จากสิ่งที่เห็นและได้ยิน เรียนรู้ได้ 70% จากสิ่งที่พูด และเรียนรู้ได้ 90% จากสิ่งที่ีพูดและทำ ดังนั้นหากการเรียนการสอนได้เน้นให้ผู้เรียนได้ทั้งพูดและทำ ผู้เรียนก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ โดยผู้สอนควรลดบทบาทในการถ่ายทอดความรู้แต่เพิ่มบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้แทน ซึ่งตัวอย่างของรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เช่น แบบระดมสมอง แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา แบบแสดงบทบาทสมมุติ  แบบแลกเปลี่ยนความคิด แบบสะท้อนความคิด แบบตั้งคำถาม แบบใช้เกม เป็นต้น โดยความเสี่ยงของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้แก่ 1. เนื้อหาหลักสูตรมากไม่สามารถเหมาะสมกับเวลา 2. ต้องใช้เวลาในการเตรียมการ 3. ห้องเรียนที่มีขนาดใหญ่ จำนวนผู้เรียนมาก 4. ผู้สอนคิดว่าตนเองเป็นผู้บรรยายที่ดี 5. ขาดวัสดุอุปกรณ์จำเป็น 6. ผู้เรียนต่อต้านวิธีการสอนที่เป็นแบบบรรยาย โดยท่านวิทยากรได้ให้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของวิทยากร : กรณีศึกษาการใช้ Google Classroom ซึ่ง Google Classroom เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถสื่อสารกับผู้เรียนผ่านทางห้องเรียนที่สร้างขึ้นบนแอพพลิเคชัน โพสต์เอกสารต่างๆ ได้ เชื่อมต่อกับ content ในอินเตอร์เน็ตได้ มีการแจ้งเตือนการโพสต์สู่โทรศัพท์มือถือ มีหน้าเพจสำหรับการถาม-ตอบ แจ้งข่าว ใส่ตารางสอน นัดหมาย หรือเตือนการนัดหมายได้ และลิงค์กับแอพพลิเคชันอื่นๆที่เป็นประโยชน์ได้

2. เรื่องคุณลักษณะของผู้ที่มี Soft Skills และแนวทางการประยุกต์ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับผู้เรียน

Soft Skill เป็นลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Quotient) เช่นทักษะการสื่อสารการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การจูงใจ การจัดการอารมณ์ของตัวเอง การเจรจาต่อรอง การคิดเชิงกลยุทธ์ การสร้างทีมงาน ซึ่งแตกต่างจาก Hard Skills ที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient) Rohidas Nitonde, 2014 ได้ระบุไว้ว่า Soft Skills มีทั้งหมด 75 skills โดยกระบวนการในการพัฒนา soft skills มีด้วยกัน 4 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 เริ่มต้นเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับ soft skills โดยต้องระบุ soft skills ที่ต้องการก่อน ขั้นที่ 2 สร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับ soft skills โดยต้องสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายทราบ เข้าใจ และยอมรับถึง soft skills ที่ควรมี ขั้นที่ 3 เริ่มนำวิธีการพัฒนา soft skills มาปฏิบัติจริง โดยต้องลงมือทำการพัฒนา soft skills ตามที่วางไว้และกำหนดข้อตกลงร่วมกันกับลูกทีม และขั้นที่ 4 มีความเชี่ยวชาญและถ่ายทอดได้ 

ในยุคปัจจุบัน 10 Soft Skills ที่ผู้เรียนควรมี ได้แก่ 1. มีการสื่อสาร (Communication)  2. มีการจัดการองค์กร (Organization) 3. มีการทำงานเป็นทีมเวิร์ก (Teamwork) 4. ตรงต่อเวลา (Always Punctual) 5. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 6. การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 7. มีการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) 8. มีความยืดหยุ่นในการทำงาน (Adaptability) 9. มนุษยสัมพันธ์ดี (Friendly Personality) 10. มีทักษะทางสังคม (Social Skills)

ซึ่งจากการได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวข้าพเจ้าได้รับความรู้อันเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนของข้าพเจ้าในอนาคตได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=949
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 0:40:03   เปิดอ่าน 8  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 9:34:29   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 17:16:27   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง