การเตรียมความพร้อมขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
วันที่เขียน 8/3/2562 11:53:40     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:51:23
เปิดอ่าน: 4680 ครั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ประเภทอำนวยการ (ขึ้นด้วยตำแหน่งบริหาร) ซึ่งเป็นแท่งอำนวยการของสายสนับสนุน 2. ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และประเภททั่วไป (ขึ้นด้วยผลงาน) ซึ่งเป็นแท่งวิชาการของสายสนับสนุน

หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ (ขึ้นด้วยตำแหน่งบริหาร) 

พนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่

  1. ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
  2. ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก
  3. หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มภารกิจ

คุณสมบัติ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานและระยะเวลา ของผู้ที่จะขอเข้ารับการคัดเลือก 

  1. ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต

       1.1  ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน HRD Training Roadmap และ

       1.2  เคยดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการกอง/หัวหน้าสำนักงานคณบดี/เทียบเท่า มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ

       1.3  มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

    2. ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก

       2.1  ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน HRD Training Roadmap และ

       2.2  เคยดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ  หรือหัวหน้างาน/เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ

       2.3  มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

    3. หัวหน้างาน และหัวหน้างานกลุ่มภารกิจ

       3.1  ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน  HRD Training Roadmap และ

       3.2  ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการ ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี

การแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ให้ประเมินตามองค์ประกอบ ดังนี้

  1. ผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่  (ใช้คะแนนจากแบบ ป.สน.01 และแบบ ป.สน.02 ในรอบการประเมินที่แล้วมา)
  2. ความรู้ ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน (ประเมินจากการสอบข้อเขียน) 
  3. สมรรถนะทางการบริหาร และหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะประเมิน (ประเมินจากการสอบสัมภาษณ์)
  4. วิสัยทัศน์การพัฒนางานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (สัมภาษณ์จากวิสัยทัศน์และตัวโครงการที่นำเสนอ)

เกณฑ์การผ่านการคัดเลือก 

  1. ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผลรวมทุกองค์ประกอบ (1-4) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก ผลรวมทุกองค์ประกอบ (1-4) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  3. หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มภารกิจ  ผลรวมทุกองค์ประกอบ (1-4) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ให้ ก.บ.ม. ประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อเข้ารับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ทั้งนี้ ตำแหน่งหัวหน้างานและตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ส่วนงานอาจไม่ประกาศรับสมัครก็ได้ โดยแจ้งความประสงค์ต่อ ก.บ.ม. เพื่อพิจารณา

ก.บ.ม. ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560 มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน สำหรับผู้ที่รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มภารกิจอยู่แล้วว่าไม่ต้องเข้ารับการสอบข้อเขียน โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. วุฒิ ป.ตรี/โท/เอก
  2. ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการ 6 ปี (ป.ตรี) / 4 ปี (ป.โท) / 2 ปี (ป.เอก)
  3. ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
  4. เงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มภารกิจ คือ 27,000 บาท
  5. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัย/จรรยาบรรณ
  6. ดำรงตำแหน่ง รก. มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  7. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการระดับดีขึ้นไป (70% ขึ้นไป) ใน 2 รอบการประเมิน
    ที่ผ่านมา

คณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย 

  1. อธิการบดีหรือรองอธิการบดีที่อธิการบดีมอบหมาย เป็นประธาน
  2. รองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีที่กำกับดูแลงานด้านบุคลากร เป็นกรรมการ
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในมหาวิทยาลัยซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
  4. หัวหน้าส่วนงานหรือหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของตำแหน่ง จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ
  5. หัวหน้างานตำแหน่งและอัตรากำลัง เป็นเลขานุการและอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการได้

คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกจะดำเนินการ ดังนี้

  1. พิจารณาคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของผู้ขอรับการประเมิน
  2. ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดที่ครองอยู่ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน  สมรรถนะทางการบริหารและหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะประเมิน และวิสัยทัศน์การพัฒนางานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
  3. รายงานผลการประเมินต่อ ก.บ.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบและพิจารณาอนุมัติตามผลการประเมิน

หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะและตำแหน่งประเภททั่วไป (ขึ้นด้วยผลงาน)

 

ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่

  1. ปฏิบัติงาน
  2. ชำนาญงาน
  3. ชำนาญงานพิเศษ

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่

  1. ปฏิบัติการ
  2. ชำนาญการ
  3. ชำนาญการพิเศษ
  4. เชี่ยวชาญ
  5. เชี่ยวชาญพิเศษ

คุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้

  1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
  2. ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

ตำแหน่งประเภททั่วไป 

ระดับชำนาญงาน

ปฏิบัติงาน ปวช.

6 ปี

 

ปฏิบัติงาน ปวท.

5 ปี

 

ปฏิบัติงาน ปวส.

4 ปี

ระดับชำนาญงานพิเศษ

ชำนาญงาน

6 ปี

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ 

ระดับชำนาญการ

ปฏิบัติการ ป.ตรี

6 ปี

 

ปฏิบัติการ ป.โท

4 ปี

 

ปฏิบัติการ ป.เอก

2 ปี

ระดับชำนาญการพิเศษ

ชำนาญการ

4 ปี

ระดับเชี่ยวชาญ

ชำนาญการพิเศษ

3 ปี

 

บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำขั้นสูงพนักงานมหาวิทยาลัย

 

ตำแหน่งประเภททั่วไป 

ตำแหน่ง 

ขั้นต่ำ 

ขั้นสูง 

ระดับปฏิบัติงาน

ปวช.

12,450

36,000

 

ปวท.

14,310

36,000

 

ปวส.

15,300

36,000

ระดับชำนาญงาน

 

19,000

67,000

ระดับชำนาญงานพิเศษ

 

29,000

95,000

 

ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ 

ตำแหน่ง 

ขั้นต่ำ 

ขั้นสูง 

ระดับปฏิบัติการ

ป.ตรี

19,950

48,000

 

ป.โท

24,600

48,000

 

ป.เอก

30,000

48,000

ระดับชำนาญการ

 

27,000

75,000

ระดับชำนาญการพิเศษ

 

37,000

100,000

ระดับเชี่ยวชาญ

 

47,000

120,000

ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ

 

55,000

130,000

 

องค์ประกอบสำหรับการประเมิน 

 

 

ระดับตำแหน่ง

 

ผลสัมฤทธิ์
ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่
ครองอยู่

 

ความรู้   ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน

 

 

ผลงาน

การใช้ความรู้ ความสามารถ
ในการสนับสนุนงานบริการวิชาการหรือ
งานวิชาชีพบริการต่อสังคม

 

ความเป็นที่ยอมรับในด้านนั้น ๆ หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพ

 

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

ชำนาญงาน

 

 

ชำนาญงานพิเศษ

 

 

ชำนาญการ

 

 

ชำนาญการพิเศษ

 

 

เชี่ยวชาญ

 

เชี่ยวชาญพิเศษ

 

จำนวนผลงานขั้นต่ำที่ใช้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง  

 

 

 

 

ระดับตำแหน่ง

 

 

 

คู่มือปฏิบัติงานหลัก

ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรืองานวิจัย หรือผลงานลักษณะอื่นซึ่งแสดง ให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่

 

 

ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางาน

 

 

 

งานวิจัยหรือผลงานลักษณะอื่น     โดยต้องเป็นผู้วิจัยหลักหรือหัวหน้าโครงการวิจัยซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อ

 

หน่วยงาน/ส่วนงาน/มหาวิทยาลัย

 

มหาวิทยาลัย

 

หน่วยงาน/ส่วนงาน/มหาวิทยาลัย

 

       มหาวิทยาลัย      โดยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ

ชำนาญงาน

 

 

 

 

 

ชำนาญงานพิเศษ

 

 

 

 

ชำนาญการ

 

 

 

 

ชำนาญการพิเศษ

 

 

 

 

เชี่ยวชาญ

 

 

 

 

เชี่ยวชาญพิเศษ

 

 

 

 

ทั้งนี้ ผลงานทุกรายการต้องสอดคล้องกับภาระงานของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง

เงื่อนไขของผลงานที่ใช้ประกอบการพิจารณา 

  1. ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม
  2. ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นมาแล้ว
  3. กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
  4. กรณีที่เป็นงานวิจัยต้องมีคำรับรองโครงการวิจัยหรือสำเนาคำรับรองจากแหล่งทุนหรือผู้บังคับบัญชาระดับส่วนงาน แนบประกอบด้วย

ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงาน 

  1. คู่มือปฏิบัติงานหลัก  ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50%
  2. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักหรือหัวหน้าผู้ดำเนินการ
  3. งานวิจัย ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% โดยต้องเป็นผู้วิจัยหลักหรือหัวหน้าโครงการวิจัย
  4. ผลงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นหัวหน้าโครงการหรือหัวหน้าผู้ดำเนินการ
  5. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงาน หากมีการเสนอผลงานที่มีผู้ร่วมงานหลายคนจะต้องให้ผู้ร่วมงานทุกคนลงนามรับรองว่าแต่ละคนมีส่วนร่วมในผลงานเรื่องนั้นร้อยละเท่าใด รวมทั้งระบุบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในผลงานนั้น
  6. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานแต่ละชิ้น เมื่อได้ลงนามรับรองแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ผลงานที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งต้องได้รับการเผยแพร่ผลงานตามรายละเอียด ดังนี้

  1. คู่มือการปฏิบัติงานหลัก

       1.1  เผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์โดยโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ หรือ

       1.2  จัดทำเป็นสำเนาเย็บเล่มและได้ส่งเผยแพร่ภายนอกมหาวิทยาลัยรวมกันไม่น้อยกว่า 5 แห่ง และภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วย

             ก. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อย่างน้อย 1 เล่ม

             ข. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ อย่างน้อย 1 เล่ม

             ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร อย่างน้อย 1 เล่ม

    2. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือผลงานเชิงสังเคราะห์

       2.1  เผยแพร่ในรูปของบทความในวารสารทางวิชาการของส่วนงานหรือมหาวิทยาลัย หรือ

       2.2  เผยแพร่ในรูปของบทความในวารสารทางวิชาการ หรือ

       2.3  เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความทางวิชาการ หรือ

       2.4  เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceeding)

    3. งานวิจัย

       3.1  เผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้ วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน หรือ

       3.2  เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ หรือ

       3.3  นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceeding) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

       3.4  การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานได้ว่าผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพนั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างกว้างขวาง

     4. ผลงานลักษณะอื่น

       4.1  เผยแพร่โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานและหน่วยงานภายนอก หรือ

       4.2  เผยแพร่ โดยการจัดนิทรรศการหรือการจัดแสดง หรือ

       4.3  เผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์โดยโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์

 

การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 

  1. ระดับชำนาญงาน ระดับชำนาญการ

       1.1  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า

      1.2   ประกอบไปด้วยกรรมการที่แต่งตั้งจากบุคคลภายในมหาวิทยาลัยแต่ต้องอยู่
ต่างสังกัดส่วนงานหรือหน่วยงานกับผู้เสนอขอ และกรรมการภายนอกมหาวิทยาลัยอีกอย่างน้อย 1 คน รวมกรรมการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3 คน

    2. ระดับชำนาญงานพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ

       2.1  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า

      2.2   ประกอบไปด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.บ.ม. กำหนด

 

หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ต้องผ่านการประเมิน ดังนี้

กลุ่ม

ประเภทตำแหน่ง

เกณฑ์การผ่านประเมินค่างาน

ผลสัมฤทธิ์และสมรรถนะ (TOR)

เกณฑ์ผ่านการประเมิน/คุณภาพผลงาน

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

วิธีปกติ

วิธีพิเศษ

1

ระดับชำนาญงาน

64/100

70/100

≥ 3.00

ดี

≥ 3.50

ดีมาก

 

 

 

เหมาะสม

ระดับชำนาญการ

64/100

70/100

2

ระดับชำนาญงานพิเศษ

84/100

70/100

≥ 3.50

ดี

≥ 4.00

ดีมาก

ระดับชำนาญการพิเศษ

84/100

70/100

3

ระดับเชี่ยวชาญ

170/300

80/100

≥ 4.00

ดี

≥ 4.50

ดีมาก

4

ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ

235/300

90/100

≥ 4.50

ดีมาก

≥ 4.75

ดีเด่น

 

 

 

กรรมการ

3 คน

5 คน

 

 

 

 

ผลการประเมิน

เสียงข้างมาก

≥ 4 ใน 5

 

 

การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ดังนี้

  1. ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือวิชาชีพมากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
  2. ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาชีพของตนเองและแสดงหลักฐานของ  การค้นคว้า
  3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาชีพจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
  4. ผลงานทางวิชาชีพต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาชีพเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาชีพ
  5. ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

 

วันที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง 

  1. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน  แต่งตั้ง ณ วันที่กองการเจ้าหน้าที่ประทับรับเรื่อง
  2. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน  แต่งตั้ง ณ วันที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่เกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน  ให้ถือว่าการดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งเป็นอันสิ้นสุด

ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง เนื่องจากคุณภาพของผลงาน การใช้ความรู้ความสามารถ
ในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคม หรือความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้นหรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพ ไม่อยู่ในเกณฑ์ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีสิทธิขอให้ ก.บ.ม. พิจารณาทบทวนได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง โดยในคำขอทบทวนนั้นต้องแสดงข้อเท็จจริง ข้ออ้างและเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ และจะต้องยื่นเรื่องขอทบทวนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับทราบมติ โดยส่งผลงานฉบับแก้ไขปรับปรุงให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ชุดเดิมพิจารณา และหากผลงานเป็นไปตามเกณฑ์ วันที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คือวันที่กองการเจ้าหน้าที่ได้รับผลงานฉบับปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว

 

ประเด็นเพิ่มเติม

 1.  จากปฏิบัติการ 6 ปี เข้าสู่ชำนาญการ เปิดทุกกรอบโดยไม่ต้องประเมินค่างาน แต่ต้องดูผลงานว่าต้องเสนออะไรบ้าง ซึ่งเป็นผลงานตามภาระงานประจำ ผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ก็สามารถขอรับการประเมิน สำหรับภาระงานของสายสนับสนุนที่ประจำแต่ละคณะ ได้มีการทำความเข้าใจกับเลขานุการคณะและคณบดีไปแล้ว ในส่วนของสายสนับสนุนที่อยู่ตามสำนักซึ่งมีภาระงานที่เฉพาะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์มาร่วมกันวิเคราะห์ แต่ในส่วนของคณะค่างานได้ทำค่ากลางไว้แล้วเหลือแต่ให้บุคลากรไปกรอกข้อมูลปริมาณงาน ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับผลงานที่จะเสนอเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วย

2.  จากชำนาญการขึ้นสู่ชำนาญการพิเศษ และชำนาญการพิเศษขึ้นสู่เชี่ยวชาญจะต้องมีการประเมินค่างาน เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีค่าตอบแทน ซึ่งการที่จะประเมินค่างานต้องมีการกำหนดกรอบ เมื่อมีโครงสร้างแล้วก็จะได้มีการแต่งตั้งกรรมการวิเคราะห์และกำหนดกรอบ เพื่อกำหนดว่าแต่ละคณะ/สำนัก ควรจะมีกรอบชำนาญการพิเศษหรือเชี่ยวชาญอยู่กี่กรอบ ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถขึ้นได้ ตำแหน่งอาจจะขยับข้ามหน่วยงานได้

3.  โครงการเตรียมความพร้อมการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นหลักสูตรตาม Training Roadmap ที่สายสนับสนุนจะต้องเข้ารับการอบรม ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรได้กำหนดให้บุคลากรที่จะเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นต้องผ่านหลักสูตรตาม HRD Training Roadmap

4.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้สายสนับสนุนทำงานวิจัยสถาบัน ซึ่งจะสามารถนำไปเป็นผลงานได้ 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=933
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:14   เปิดอ่าน 1876  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:03:46   เปิดอ่าน 2095  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัยสถาบัน » ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในกา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ภัคสุณีย์ ดวงงา  วันที่เขียน 5/11/2562 16:11:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:24:06   เปิดอ่าน 3956  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:33   เปิดอ่าน 2342  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง