การเสนอปรับเงินเดือน
อาจารย์มหาวิทยาลัย ร้องปรับเงินเดือนร้องปรับเงินเดือนเท่าครู สพฐ. ที่กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 24 มิ.ย.56 เวลา14.00 น. ตัวแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน ราชมงคลและมหาลัยวิทยาลัยราชภัฎ ประมาณ 50 คน ได้เดินทางมาพบ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้พิจารณาปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เหมือนกับข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)โดยได้แนบร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ฉบับที่3)(พ.ศ.2556) และร่างก.พ.อ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่2) พ.ศ.2556 มาด้วย ตัวแทนอาจารย์ฯ กล่าวว่า เดิมครู สพฐ. ครูอาชีวศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นข้าราชการครูเหมือนกันอยู่ในบัญชีเงินเดือนเหมือนกัน ขึ้นเงินเดือนเหมือนกัน เพียงแต่ชื่อและตำแหน่งแตกต่างกัน แต่ต่อมา ศธ.แยกเราออกจากกัน โดยสพฐ.และอาชีวศึกษา แยกไปเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย แยกไปเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแยกบัญชีเงินเดือนออกจากกัน แต่ภาระหน้าที่ของเรายังคงเหมือนกัน คือ มีภาระหน้าที่ในการพัฒนาคน เพื่อไปพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาสังคม "เมื่อปี 2554 ศธ.ได้ปรับเงินเดือนให้กับครู สพฐ. และครูอาชีวศึกษา จำนวน 8% โดยไม่ได้ปรับเงินเดือนให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย และไม่มีเหตุผลรองรับ และเมื่อปี 2555 ศธ.ก็ได้ปรับเงินเดือนขั้นสูงให้กับครู สพฐ.และครูอาชีวศึกษาอีก จึงเป็นเหตุให้ขณะนี้ ครู สพฐ.และอาชีวศึกษา มีเงินเดือนขั้นสูงมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างมาก ทั้งที่การประเมินผลงานทางวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ประเมินให้ผ่าน ดังนั้น เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของอาจารย์ เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลปรับเงินเดือน 8% ปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูงเหมือนกันกับ สพฐ. และหาก สพฐ.ปรับเงินเดือนเมื่อไหร่ก็ขอให้ปรับเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย" ตัวแทนอาจารย์ กล่าว ด้านนายพงศ์เทพ กล่าวว่า เป็นข้อเรียกร้องที่มีความแตกต่างระหว่างครูกับอาจารย์ เพราะที่ผ่านมาครูได้ขั้นเงินเดือนไปแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับขึ้นตามความเหมาะสม จึงมีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งเหตุผลของอาจารย์ก็น่าฟัง เพราะถ้ามองในแง่การให้การศึกษาก็ให้การศึกษาเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ไปดูว่าจะต้องใช้จำนวนเงินเท่าไร ซึ่ง ศธ.ก็พยายามเร่งดำเนินการให้อยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้ก็กำลังศึกษาว่า เมื่อปรับเงินเดือนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องใช้งบประมาณจำนวนเท่าไรมีผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งก็ต้องกลับมามองพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย เพราะหากขึ้นเงินเดือนอาจารย์ พนักงานมหาวิทยาลัยก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะกระทบกับมหาวิทยาลัยโดยรวม ดังนั้นวันนี้จึงไม่สามารถพิจารณาจำนวนเงินได้ชัดเจน ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ที่กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 24 มิ.ย.56 เวลา14.00 น. ตัวแทนอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน ราชมงคลและมหาลัยวิทยาลัยราชภัฎ ประมาณ 50 คน ได้เดินทางมาพบ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้พิจารณาปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เหมือนกับข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)โดยได้แนบร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ฉบับที่3)(พ.ศ.2556) และร่างก.พ.อ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่2) พ.ศ.2556 มาด้วย
ตัวแทนอาจารย์ฯ กล่าวว่า เดิมครู สพฐ. ครูอาชีวศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นข้าราชการครูเหมือนกันอยู่ในบัญชีเงินเดือนเหมือนกัน ขึ้นเงินเดือนเหมือนกัน เพียงแต่ชื่อและตำแหน่งแตกต่างกัน แต่ต่อมา ศธ.แยกเราออกจากกัน โดยสพฐ.และอาชีวศึกษา แยกไปเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย แยกไปเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแยกบัญชีเงินเดือนออกจากกัน แต่ภาระหน้าที่ของเรายังคงเหมือนกัน คือ มีภาระหน้าที่ในการพัฒนาคน เพื่อไปพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาสังคม
"เมื่อปี 2554 ศธ.ได้ปรับเงินเดือนให้กับครู สพฐ. และครูอาชีวศึกษา จำนวน 8% โดยไม่ได้ปรับเงินเดือนให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย และไม่มีเหตุผลรองรับ และเมื่อปี 2555 ศธ.ก็ได้ปรับเงินเดือนขั้นสูงให้กับครู สพฐ.และครูอาชีวศึกษาอีก จึงเป็นเหตุให้ขณะนี้ ครู สพฐ.และอาชีวศึกษา มีเงินเดือนขั้นสูงมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างมาก ทั้งที่การประเมินผลงานทางวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ประเมินให้ผ่าน ดังนั้น เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของอาจารย์ เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลปรับเงินเดือน 8% ปรับอัตราเงินเดือนขั้นสูงเหมือนกันกับ สพฐ. และหาก สพฐ.ปรับเงินเดือนเมื่อไหร่ก็ขอให้ปรับเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย" ตัวแทนอาจารย์ กล่าว ด้านนายพงศ์เทพ กล่าวว่า เป็นข้อเรียกร้องที่มีความแตกต่างระหว่างครูกับอาจารย์ เพราะที่ผ่านมาครูได้ขั้นเงินเดือนไปแล้ว แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับขึ้นตามความเหมาะสม จึงมีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งเหตุผลของอาจารย์ก็น่าฟัง เพราะถ้ามองในแง่การให้การศึกษาก็ให้การศึกษาเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ ไปดูว่าจะต้องใช้จำนวนเงินเท่าไร ซึ่ง ศธ.ก็พยายามเร่งดำเนินการให้อยู่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้ก็กำลังศึกษาว่า เมื่อปรับเงินเดือนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องใช้งบประมาณจำนวนเท่าไรมีผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งก็ต้องกลับมามองพนักงานมหาวิทยาลัยด้วย เพราะหากขึ้นเงินเดือนอาจารย์ พนักงานมหาวิทยาลัยก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะกระทบกับมหาวิทยาลัยโดยรวม ดังนั้นวันนี้จึงไม่สามารถพิจารณาจำนวนเงินได้ชัดเจน