ธรรมาภิบาล เดิมมีการใช้เป็น ประชารัฐ ธรรมรัฐ ระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี การปกครองโดยธรรม เป็นต้น
หลักการสำคัญของธรรมาภิบาล ได้แก่
1) หลักความโปร่งใส (transparency)ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา
2) หลักความรับผิดชอบ (accountability) ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
3) หลักการมีส่วนร่วม (participation) ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ
4) หลักนิติธรรม (rule of law) ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น
5) หลักความคุ้มค่า (efficiency and effectiveness) ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6) หลักคุณธรรม (virtues)ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
จริยธรรมสังคม ได้แก่
1) ความอ่อนโยน อ่อนน้อม
2) ความเข้มแข็ง หนักแน่น
3) การควบคุมอารมณ์
4) ความไม่มุ่งทำร้ายต่อกัน
5) การให้อภัย
นอกจากนี้วิทยากรได้บอกเล่าประสบการณ์ในการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตีความ/ตัดสินข้อพิพาทเกี่ยวกับประเด็นข้อร้องเรียนการประพฤติผิดจรรยาบรรณและวินัย ในกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานทางการแพทย์ ดังเช่นการนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นของตน การใช้คำพูดไม่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงาน การไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการเรียนต่อ เป็นต้น