มคอ. แปลว่า ไม่มีใครเอา / ไม่มีคนอ่าน จริงหรือ
วันที่เขียน 13/5/2558 21:44:59     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 12:07:08
เปิดอ่าน: 11985 ครั้ง

เมื่อวันที่ 6, 7 และ 8 พฤษภาคม 2558 ผมได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในโครงการความร่วมมือกับสหภาพยุโรปของ สกอ. โดยเขามีผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์มาจัดอบรมที่เชียงใหม่ในหัวข้อเรื่อง "TQF and The Development of Professional Standards Framework" จึงขอนำมาแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

เมื่อวันที่ 6, 7 และ 8 พฤษภาคม 2558 ผมได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในโครงการความร่วมมือกับสหภาพยุโรปของ สกอ. โดยเขามีผู้เชี่ยวชาญจากสกอตแลนด์มาจัดอบรมที่เชียงใหม่ในหัวข้อเรื่อง "TQF and The Development of Professional Standards Framework" ซึ่งมีเนื้อหาการอบรม 3 เรื่อง 3 วันด้วยกัน คือ

1. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) หรือ Thailand Qualification Framework (TQF) หรือ National Qualification Framework (NQF) 
1.1 บทเรียนการใช้ NQF ในสหภาพยุโรป
1.2 การเปรียบเทียบการใช้ TQF ในประเทศไทย กับ NQF ในประเทศ และ สหภาพยุโรป
1.3 การจัดทำหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่เรากำหนดขึ้นได้เองใน TQF และยังเป็นไปตามวิสัยทัศน์และอัตลักษณ์ของสถาบันนั้นๆ

2. Verification of Standards of Learning Outcomes
2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ คือ อะไร
2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ตาม TQF ในระดับรายวิชา ระดับหลักสูตร และระดับคณะ/มหาวิทยาลัย ทำอย่างไร

3. Professional Standards Framework (PSF) หรือ กรอบมาตรฐานความเป็นมืออาชีพของอาจารย์และบุคลากรสนับสนุนวิชาการ
3.1 Professional Standards Framework (PSF) คืออะไร
3.2 การพัฒนา PSF สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย

ผมจึงอยากถ่ายทอดความรู้ที่ผมได้จากการเข้าอบรมในครั้งนี้ออกมาเป็นบทความสั้นๆ ดังนี้ครับ

ในตอนแรกๆ บรรยากาศของการอบรมเป็นไปด้วยความเงียบสงัดครับ แม้ผู้จัด (สกอ.) จะแบ่งผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นคณาจารย์ที่เดินทางมาจากทั่วทุกสถาบันในภาคเหนือ โดยให้อาจารย์นั่งด้วยกันเป็นโต๊ะกลมๆ ตามสาขาวิชาหมวดเดียวกัน มีทั้งอาจารย์หมอ-พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สัมคมศาสตร์ ฯลฯ แต่ผมสังเกตุได้เลยครับว่าทุกคนมานั่งฟังกันอย่างเดียว ไม่มีคำถาม ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับวิทยากรใดๆ (แอบสงสารวิทยากรมาก) จนผมอดรู้สึกไม่ได้ว่าทุกคนคงมาด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย มคอ. ขนาดที่ว่าไม่รู้จะถามไปทำไม และที่มานั่งฟังนี่ก็มีความหวังลึกๆ ว่า เมื่อไหร่จะถึงตอนที่ สกอ. ยอมรับถึงผลกระทบของ มคอ. และบอกให้เราเลิกทำได้แล้ว (ฮา)

เมื่อฟังการบรรยายของวิทยากรไปเรื่อยๆ สลับสมองไปมาระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย พวกเราก็ยังเงียบนิ่งอยู่ครับ แต่ข้อมูลที่ส่งผ่านเข้าไปในสมองของผม คือ ฝรั่งก็มี มคอ. เหรอ จากการนั่งฟังเขาบรรยายทฤษฎีเรื่องนี้ ทำให้ผมทราบว่า เบื้องหลังของ มคอ. นี้ มาจากความพยายามให้ "การจัดการศึกษา" เป็นไปตาม "ทฤษฎีทางการศึกษา" ที่ชื่อว่า Bloom's taxonomy ซึ่งเป็นที่มาของ characteristics/domains of learning outcome หรือ "มาตรฐานผลการเรียนรู้" ที่เราใช้กันใน มคอ. นั่นเอง และได้ทราบว่า ในแต่ละประเทศก็เลือกกำหนดจำนวน characteristic หรือ domain ที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ 2-8 domains ซึ่งของประเทศไทยเรากำหนดไว้ 5 ด้านคล้ายๆ กับของสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นต้นตำรับให้กับสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก แต่ของสกอตแลนด์เป็น

1. knowledge and understanding (mainly subject based)
2. practice (applied knowledge and understanding)
3. generic cognitive skills (e.g. evaluation, critical analysis)
4. communication, numeracy and IT skills
5. autonomy, accountability and working with others

ในขณะที่ของเราเป็น
1. คุณธรรม จริยธรรม (Morality and Ethics) 
2. ความรู้ (Knowledge development) 
3. ทักษะทางปัญญา (Intellectual development) 
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal relationship and responsibility) 
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)

ผมยังได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่า การทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Qualification Framework) ของทางยุโรปนั้น มีการกำหนดระดับ (levels) เอาไว้ เช่น
ระดับ Certificatre คือ level 7
ระดับ Diploma คือ level 8
ระดับ ปริญญาตรี คือ level 9 
ระดับ Honours degree คือ level 10 
ระดับ ปริญญาโท คือ level 11 
ระดับ ปริญญาเอก คือ level 12

ซึ่งในแต่ละระดับมีการกำหนดคุณลักษณะมาตรฐานผลการเรียนรู้ (learning outcome) ในแต่ละ domain เอาไว้อย่างชัดเจน เป็นต้นว่า

ผู้เรียนที่เรียนในระดับปริญญาตรี (level 9) จะต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ในด้าน Practice: Apply knowledge, skills and understanding ดังนี้
- In using a range of the principal professional skills, techniques, practices and/or materials associated with the subject/discipline/sector.
- In using a few skills, techniques, practices and/or materials that are specialised and/or advanced.
- In practising routine methods of enquiry and/or research.
- To practise in a range of professional level contexts that include a degree of unpredictability.

ส่วนผู้เรียนที่เรียนในระดับปริญญาโท (level 11) จะต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ในด้าน Practice: Apply knowledge, skills and understanding ดังนี้
- In using a significant range of the principal professional skills, techniques, practices and/or materials associated with the subject/discipline/sector.
- In using a range of specialised skills, techniques, practices and/or materials that are at the forefront of, or informed by forefront 
developments.
- In applying a range of standard and specialised research and/or equivalent instruments and techniques of enquiry.
- In planning and executing a significant project of research, investigation or development.
- In demonstrating originality and/or creativity, including in practices.
- To practise in a wide and often unpredictable variety of professional level contexts.

เมื่อนำไปประกอบเข้ากับวิชาความรู้ในหมวดต่างๆ ถ้อยคำเหล่านี้ก็จะถูกดัดแปลงให้มีความเฉพาะเจาะจงตามบริบทของหมวดวิชาความรู้นั้นๆ เช่น ผู้เรียนจะต้องสามารถประยุกต์ความรู้และมีทักษะในการแก้ปัญหา "ทางวิศวกรรม" ได้ เป็นต้น และผมเข้าใจว่านี่คือส่วนที่ถูกบรรจุไว้ใน มคอ.1 ที่ สกอ. ให้หลักสูตรสาขาวิชาเดียวกันยึดถือเป็นกรอบมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศนั่นเอง

ในต่างประเทศยังก้าวหน้าไปถึงขั้นใช้ Qualification Framework นี้เป็นกรอบในการเทียบโอนรายวิชาระหว่างมหาวิทยาลัย ในกรณีที่นักศึกษาต้องย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวไปเรียนอีกสถาบันหนึ่ง หรือ ใช้เทียบวุฒิการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรในระดับชั้นที่ต่ำกว่า ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่นักศึกษาต้องเลิกเรียนกลางคัน หรือ ใช้ในการเทียบเคียงรายวิชา โดยนักศึกษาสามารถกระโดดข้ามรายวิชาที่สามารถเทียบเคียงได้กับรายวิชาที่นักศึกษาเคยเรียนมาก่อนในโรงเรียนมัธยม หรือแม้กระทั่งใช้เทียบเคียงกับประสบการณ์ตรงจากการทำงานของนักศึกษาก่อนจะมาเข้าเรียนก็ได้ครับ มาถึงตรงนี้ ผมเริ่มเห็นข้อดีของ Qualification Framework แล้วล่ะครับ

ต่อมาเมื่อพวกเราเริ่มลงมือทำงานกลุ่ม คือ workshop การจัดทำหลักสูตร (มคอ.2) และ การจัดการเรียนการสอน (มคอ.3/4) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ TQF หรือสำหรับสาขาที่มี มคอ.1 แล้ว ก็ให้สอดคล้องกับ มคอ.1 ในสาขานั้นๆ นั่นเอง แต่เนื่องจากหลักสูตรส่วนใหญ่ มคอ.1 ยังไม่เสร็จ ความพยายามที่จะเชื่อมโยงตรงนี้เลยตกเป็นภาระของอาจารย์เป็นกรรมการประจำหลักสูตรนั้นๆ ในฐานะผู้จัดทำเล่มหลักสูตร มคอ.2 และพบว่าในปีที่เราปรับปรุงหลักสูตรกันนั้น เราก็ทำกันอย่างเร่งรีบ wording ต่างๆ ก็ยังไม่เข้าใจกันชัดเจน ที่จริงในเอกสาร SCQF Level Descriptors ของสกอตแลนด์ช่วยได้มากครับ โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์http://scqf.org.uk/the-framework/scqf-levels/ ครับ หากเรากำหนดกรอบตรงนี้ไว้ได้ดี และเห็นภาพชัดว่า TQF ของเราต้องการเห็นคุณลักษณะบัณฑิตของเราอย่างไรบ้าง ก็จะมีผลให้เรา "ออกแบบ" มคอ.2 ได้ดี โดยสามารถเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นบริบทของสาขาวิชา คณะ หรือสถาบันเข้าไปได้ด้วยครับ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ ทำให้คณาจารย์สามารถ "ออกแบบ" มคอ.3 รายวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าจะต้องสอนอะไรบ้าง วัด/ประเมินอะไรบ้างครับ

จะเห็นว่า ผมใช้คำว่า "ออกแบบ" นะครับ
สกอ. ออกแบบ Thailand Quality Framework (TQF) โดยดัดแปลงมาจาก Scottish Credit and Qualifications Framework (SCQF)
ผู้ทรงคุณวุฒิ ออกแบบ มคอ.1
กรรมการประจำหลักสูตร/สาขาวิชา ออกแบบ มคอ.2
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ออกแบบ มคอ.3/4
ซึ่งการออกแบบนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ในการออกแบบครั้งแรกสุด ... ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาจารย์หลายท่านยังไม่ส่ง มคอ.3/4 หรือส่งล่าช้า และมีการกร่นด่ากันทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ครับ

นอกจาก มคอ.3/4 แล้ว อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชายังต้องรายงานผลการดำเนินงานออกมาในรูป มคอ.5/6 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ และใช้เวลา (หลายท่านใช้คำว่า "เสียเวลา") ในเขียนรายงานหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสอนในแต่ละเทอม ซึ่ง มคอ. แปลว่า ไม่มีใครอ่าน อันนี้ก็ยิ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ซึ่งประเด็นความยุ่งยากในการทำงานเอกสารเหล่านี้ ผมคิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพครับ

นอกจาก สกอ. จะออกแบบระบบ TQF ออกมาให้พวกเราใช้แล้ว เขายังกำหนดตัวชี้วัด 12 ข้อในการบริหารจัดการหลักสูตรออกมาด้วยและหนึ่งในตัวชี้วัดเหล่านี้ คือ กำหนดให้ทุกหลักสูตรต้องมี "การทวนสอบ" หรือ Verification ซึ่งทำให้พวกเราต้องงุนงงกับกรรมวิธีดังกล่าวนี้อยู่พักใหญ่ๆ ว่าอย่างไรกันที่เรียกว่า "การทวนสอบ" จากการเข้าอบรมคราวนี้ ผมสรุปได้เป็นคำสั้นๆ ว่า "การทวนสอบ" คือ "การไม่คิดเอง ทำเอง" ครับ กล่าวคือให้มีการช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และมีการ recheck กันเอง โดยในทุกๆ กระบวนการให้มีผู้เกียวข้องมากกว่า 1 คนนั่นเองครับ

การบริหารหลักสูตร ก็ต้องมีการทวนสอบ ว่าผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา "บรรลุ" ตามวัตถุประสงค์/มาตรฐานผลการเรียนรู้หรือไม่ ซึ่งจำแนกออกเป็นภาพย่อยๆ คือ

1. หลักสูตร: การจัดทำหลักสูตร (มคอ.2) ขึ้นมาสักหลักสูตร รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตร ก็ต้องมีการทวนสอบโดย "การวิพากษ์หลักสูตร" โดยคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบตามที่ สกอ. กำหนด

2. การจัดการเรียนการสอน: ในแต่ละรายวิชาก็ต้องมีการออกแบบกระบวนการทวนสอบไว้ใน มคอ.3 เช่น
Value added ของการสอน ทวนสอบโดย pre-test & post-test
ข้อสอบที่ใช้ประเมินนักศึกษา ก็ต้องทวนสอบโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ ว่าครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่รายวิชานั้นรับผิดชอบทั้งหมดหรือไม่ ข้อสอบมีอำนาจในการจำแนกหรือไม่ คำถามชัดเจนหรือไม่ ข้อสอบง่าย/ยากเกินไปหรือไม่ ฯลฯ
การให้คะแนนและการออกเกรด ก็ต้องทวนสอบโดยคณะกรรมการประจำหลักสูตร ว่าการให้คะแนนตรงตามความจริงหรือไม่

3. ผู้เรียน: การทวนสอบผู้เรียน อาจทำโดยการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในระหว่างการสอนและเมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละเทอม เมื่อจะจบการศึกษาก็อาจทวนสอบโดยการสอบออก (Exit exam) เพื่อดูว่าผู้เรียนได้รับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (เน้นทางทฤษฎี)/การแสดงออกทางวิชาการ (เน้นทางปฏิบัติ) ตรงตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ครบถ้วนหรือไม่ รวมทั้งทวนสอบจากข้อมูลย้อนกลับของผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว (ศิษย์เก่า) และทวนสอบจากนายจ้าง/ผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จจากเราไป

4. ผู้สอน: ความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ผู้สอนเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการทั้งหมด เพราะแม้ว่า หลักสูตรดี course description รายวิชาดี คลังข้อสอบดี การจัดตรางสอนดี สิ่งอำนวยความสะดวกดี แต่ตัวอาจารย์ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ก็ไม่อาจทำให้การศึกษาบรรลุผลสัมฤทธิ์ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการทวนสอบตัวอาจารย์ด้วย วิทยากรกล่าวถึงข้อนี้ว่าในบางประเทศ อาจารย์ที่สอนวิชาอื่นๆ สามารถเข้ามา sit in ฟังการสอนของอาจารย์ได้ เป็นเรื่องธรรมดา และอาจมีระบบอาจารย์พี่เลี้ยง (mentor) ให้กับอาจารย์ใหม่ด้วย หรือแม้จะไม่ใช่อาจารย์ใหม่ การทำแบบนี้ก็จะส่งผลดี ทำให้คณาจารย์ตั้งใจสอนมากขึ้น มีการอัพเดทตลอดเวลา ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงการสอนของตนเองเข้าหารายวิชาอื่นๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนกับรายวิชาอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงวิธีการให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนด้วย แต่ดูเหมือนจะไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลคะแนนมาประเมินอาจารย์อย่างที่ทำกันอยู่ (ห้ามต่ำกว่า 3.51) แต่ทำเพื่อเก็บ feedback ไว้เพื่อปรับปรุงวิธีการสอนของตัวเองมากกว่า

สำหรับเรื่องกรอบมาตรฐานความเป็นมืออาชีพ (Professional Standards Framework) หรือ การเป็นอาจารย์และการเป็นบุคลากรสนับสนุนวิชาการมืออาชีพนั้น สหราชอาณาจักรเขากำหนดออกมาเป็น 3 domain ดังนี้ ครับ

1. Area of activity - อาจารย์และบุคลากรสนับสนุนวิชาการมืออาชีพควรต้องทำอะไรบ้าง
A1 - Design and plan learning activities and/or programmes of study
A2 - Teach and/or support learning
A3 - Assess and give feedback to learners
A4 - Develop effective learning environments and approaches to student support and guidance
A5 - Engage in continuing professional development in subjects/disciplines and their pedagogy, incorporating research, scholarship and the evaluation of professional practices

2. Core knowledge - อาจารย์และบุคลากรสนับสนุนวิชาการมืออาชีพควรต้องรูอะไรบ้าง
K1 - The subject material 
K2 - Appropriate methods for teaching, learning and assessing in the subject area and at the level of the academic programme 
K3 - How students learn, both generally and within their subject/ disciplinary area(s) 
K4 - The use and value of appropriate learning technologies 
K5 - Methods for evaluating the effectiveness of teaching 
K6 - The implications of quality assurance and quality enhancement for academic and professional practice with a particular focus on teaching

3. Professional values - อาจารย์และบุคลากรสนับสนุนวิชาการควรแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพอย่างไรบ้าง
V1 - Respect individual learners and diverse learning communities 
V2 - Promote participation in higher education and equality of opportunity for learners 
V3 - Use evidence-informed approaches and the outcomes from research, scholarship and continuing professional development 
V4 - Acknowledge the wider context in which higher education operates recognising the implications for professional practice

บุคลากรใหม่ๆ ที่เขารับสมัครเข้ามาจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องเหล่านี้ให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ผ่านการอบรมจนครบก็ไม่สามารถผ่านการประเมินเพื่อรับการบรรจุได้ครับ เรื่องนี้ผมมองว่ามันเชื่อมโยงคล้ายๆ กับเรื่องสมรรถนะของบุคลากรและแผนการพัฒนาบุคลากรของเราครับ หากสนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.heacademy.ac.uk/ukpsf ครับ

โดยสรุปแล้ว 3 วันที่ผมเข้ารับการอบรม ทำให้ผมมองเห็นประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้ชัดเจนขึ้น เพราะเป็น "หลักการ" ที่ดี ที่เมืองนอกเมืองนาเขาใช้กัน แต่ "วิธีการ" ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้น ยังเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะสุดท้าย หลักการเหล่านี้ ถูกพี่ไทยถ่ายทอดสู่การปฏิบัติออกมาเป็น "งานเอกสารที่คณาจารย์ต้องทำเอง" เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากภารกิจที่ต้องทำ เพื่อให้เป็น "อาจารย์มืออาชีพ" ตลอดจน "วิธีการ" ตรวจประเมินการประกันคุณภาพที่เรากำลังทำอยู่นี้ ทำให้ผมนึกถึง "หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg uncertainty principle)" ซึ่งอธิบายว่า เราไม่สามารถระบุตำแหน่งของอิเล็กตรอนได้อย่างแน่ชัด เพราะทุกครั้งที่เราต้องเห็นอิเล็กตรอนอย่างชัดเจน เราก็ต้องส่องแสงสว่างไปที่อิเล็กตรอน แต่ปรากฎว่าเมื่อส่องแสงสว่างไปที่อิเล็กตรอน อิเล็กตรอนนั้นก็จะเปลี่ยนตำแหน่งไปอีก เราก็ต้องตามส่องแสงสว่าง เพื่อจะหาตำแหน่งใหม่ของอิเล็กตรอน ถ้าเปรียบเปรยให้อิเล็กตรอนเป็นผึ้ง ถ้าเรามองไม่เห็นผึ้ง เราก็ต้องส่องไฟไปที่ผึ้งเพื่อหาตำแหน่งของมัน เมื่อเราเห็นผึ้งแล้ว ผึ้งก็ตกใจบินไปที่อื่น เราก็ต้องส่องไฟหาผึ้งอีกและหาไปเรื่อยๆ จึงอาจบอกได้ว่า เราไม่มีทางทราบตำแหน่งและความเร็วที่แท้จริงของผึ้งได้ครับ

ที่สำคัญคือ ตอนนี้ผึ้งทั้งรังกำลังช่วยกันแบกไฟฉายอยู่นี่สิครับ

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมองเห็นความงดงามของผึ้งที่จะได้โบยบินตามจังหวะที่เป็นธรรมชาติ และเมื่อผึ้งงานไม่ได้ทำงานของมันอย่างเต็มที่ เราคงไม่มีทางได้ลิ้มรสความหอมหวานของน้ำผึ้งแห่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นแน่ครับ

หมายเหตุ: การแบกไฟฉาย อาจหมายถึง การแบกรับภาระงานที่ไม่ชอบไม่อยากทำก็ได้ หรือ อาจหมายถึง ความคิด ที่เป็นอคติก็ได้ ใช่ไหมครับ ทีนี้การปล่อยวางก็มี 2 ทาง คือ วางงานลง หรือ วางอคติลง ว่าไหมครับ

คำสำคัญ :
PSF  TQF  มคอ  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=379
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 14:40:29   เปิดอ่าน 1500  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 8:54:05   เปิดอ่าน 1889  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัยสถาบัน » ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในกา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ภัคสุณีย์ ดวงงา  วันที่เขียน 5/11/2562 16:11:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 4:56:42   เปิดอ่าน 3744  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:50:37   เปิดอ่าน 2220  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง