แนวทางในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการใหม่
วันที่เขียน 1/10/2561 0:07:34     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/12/2567 0:20:51
เปิดอ่าน: 3411 ครั้ง

-

แนวทางในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการใหม่

 

                                                                        สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์1 และอารัทรา พิเชษฐพันธ์2

 

ตามที่ ก.พ.อ. ได้ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป นั้น

ในการนี้ งานตำแหน่งและอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี จึงประสงค์จะแจ้งเวียนให้ท่าน/คณาจารย์/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบดังนี้

1) สำหรับเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามหลักเกณฑ์เก่านั้น ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสามารถยื่นภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2561

      ในการนี้ หากเอกสารของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ได้ยื่นประทับรับเรื่องที่กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดีภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2561 แล้วแต่เอกสารไม่สมบูรณ์และมีการแก้ไข หรือมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการตามช่องทางใดช่องทางหนึ่ง หรือได้ยื่นประทับรับเรื่องตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป กรณีเช่นนี้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใหม่ทันที

      อนึ่ง ทางฝ่ายเลขานุการได้หารือเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรณีหากท่านมีหลักฐานการตอบรับจากวารสารก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2561 ว่าจะมีการลงในวารสารฉบับนั้น ๆ หลังวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ท่านสามารถใช้เกณฑ์เก่าได้ แต่การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจะเป็นวันที่ท่านได้ลงการเผยแพร่ในวารสารนั้น ๆ

       ในส่วนของบทความทางวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 จะใช้ได้เฉพาะสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยผู้ขอดังกล่าวอาจใช้บทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัยได้

       ดังนั้น หากคณาจารย์ที่มีบทความทางวิชาการ ทั้งในส่วนของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และส่งก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2561 เพื่อเสนอขอกำหนดตำแหน่งตามเกณฑ์เก่า ซึ่งบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี ก็สามารถจะผ่านการประเมินได้

       ในส่วนที่ตามที่มีข่าวว่า ก.พ.อ. จะเลื่อนหลักเกณฑ์ใหม่ทั้งหมดไปอีกนั้น เกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่ง ก.พ.อ. โดยข้อเสนอแนะของ ทปอ. โดย ก.พ.อ. ได้มีมติให้ผ่อนผันการนำผลงานก่อนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม มาใช้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีผลงานใหม่ด้วย (หากเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564) โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะแจ้งเวียนประกาศ ก.พ.อ. ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

2. สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป และขณะนี้ทางกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดีได้ยกร่างข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง พ.ศ. …. และอยู่ระหว่างนำเสนอมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัยต่อไป และอยู่ระหว่างยกร่างกฎหมายลูกคู่ขนานไปด้วยแล้ว แต่โดยหลักการแล้วฝ่ายเลขานุการจะยกร่างคล้ายแบบเดิมเพื่อให้ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ดำเนินการจัดทำเอกสารเชื่อมต่อกันในช่วงรอยต่อของหลักเกณฑ์เก่าและหลักเกณฑ์ใหม่ จะมีเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่หลักเกณฑ์ใหม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเท่านั้น

ดังนั้น หากปัจจุบันผู้ที่จะขอกำหนดตำแหน่งที่มีคุณสมบัติประสงค์จะขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการให้รีบดำเนินการ และเผื่อระยะเวลาหากต้องมีการแก้ไขเอกสารต่าง ๆ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2561 เพื่อใช้หลักเกณฑ์เก่าอันจะเป็นประโยชน์กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย

ในการดำเนินการในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในกรณีที่ผู้ขอมีผลการประเมินที่เป็นเอกฉันท์ทั้งผู้ที่ผ่านการประเมิน หรือไม่ผ่านการประเมิน กระบวนการจะรวดเร็วเนื่องจากไม่ต้องมีการประชุม ส่วนผู้ขอที่ผ่าน 2/3 หรือไม่ผ่าน 2/3 จะต้องจัดให้มีการประชุม ทำให้กระบวนการล่าช้า เนื่องจากฝ่ายเลขานุการได้พยายามนัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากแต่ละท่านมีวันเวลาว่างไม่ตรงกัน จึงเป็นผลให้ต้องเลื่อนการประชุมไป แต่ฝ่ายเลขานุการได้ดำเนินการแก้ไขปัญหานี้แล้ว โดยยกร่างไว้ในข้อบังคับใหม่ที่ยกร่าง สำหรับผู้ขอที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอาจยกเว้นการประชุมหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้กระบวนการขอกำหนดตำแหน่งดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้นต่อไป

สำหรับตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (ดังประกาศ ก.พ.อ. ที่แนบท้าย และ(ดังแบบสรุปเกณฑ์ พ.ศ.2560 แนบท้าย))โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้

1) คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับปริญญาตรี จากเดิมไม่น้อยกว่า 9 ปี เป็น 6 ปี ปริญญาโท จากเดิมไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็น 4 ปี และปริญญาเอก จากเดิมไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็น 1 ปี และพ้นระยะทดลองปฏิบัติงานที่กำหนดโดยสถาบันนั้นๆ สำหรับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว จากเดิมไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็น 2 ปี และตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว จากเดิมไม่น้อยกว่า 2 ปี เป็น 2 ปีตามเดิม

 2) ผลการสอน ต้องประเมินคุณภาพการสอนของผู้ขอที่ครอบคลุมข้อมูลที่จำเป็นทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสามารถประเมินการเรียนรู้ได้ผลถูกต้องที่สุด ทั้งในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ แต่สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้สูงขึ้นตามระดับตำแหน่งที่ประเมินได้

ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีความชำนาญในการสอนสำหรับระดับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีความชำนาญพิเศษในการสอนสำหรับระดับ
รองศาสตราจารย์ จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน สำหรับกรณีที่ผู้ขอได้ทำการสอนหลายวิชาหรือสอนวิชาที่มีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอน ในทุกวิชาหรือทุกหัวข้อที่ผู้ขอเป็นผู้สอน แล้วแต่กรณี ซึ่งรวมกันได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีคุณภาพดีมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวการประเมินการสอนที่ ก.พ.อ. กำหนด และระดับศาสตราจารย์ ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา

กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่า สถาบันอุดมศึกษามีระบบการประเมินผลการสอนของคณาจารย์ประจำที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ข้างต้นอย่างเป็นรูปธรรม เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ คณะกรรมการอาจให้ใช้ระบบการประเมินผลการสอนดังกล่าวนั้นแทนแนวทางการประเมินผลการสอนตามที่ ก.พ.อ. กำหนดได้ นอกจากนี้คณะกรรมการอาจกำหนดแนวทางในการประเมินเพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้ โดยจัดทำเป็นประกาศให้เป็นที่ทราบทั่วกันก่อนการประเมิน   

ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดให้คณาจารย์ประจำขอรับการประเมินผลการสอนล่วงหน้าได้ ก่อนนำเสนอผลงานทางวิชาการเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง และให้ผลการประเมินนี้มีอายุได้ ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบ

สำหรับผลการประเมินผลการสอน ทั้งผลการประเมินผลการสอนปกติ และผลการประเมินผลการสอนล่วงหน้าทางฝ่ายเลขานุการได้ยกร่างไว้ในบทเฉพาะกาลของข้อบังคับฯ ให้มีผลดังนี้

(1) ผลการประเมินผลการสอน ทั้งผลการประเมินผลการสอนปกติ และผลการประเมินผลการสอนล่วงหน้าที่มีผลการประเมินอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบ และเอกสารประกอบการสอน (แบบที่ 1-ตามเกณฑ์ใหม่) หรือเอกสารคำสอน (แบบที่ 2-ตามเกณฑ์ใหม่)ดังกล่าวที่ผู้ขอมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาคให้มีผลต่อไปจนครบ 2 ปีโดยอนุโลม นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบ

(2) ผลการประเมินผลการสอน ทั้งผลการประเมินผลการสอนปกติ และผลการประเมินผลการสอนล่วงหน้าที่มีผลการประเมินอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบ และเอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอนดังกล่าว ที่ผู้ขอมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเทียบค่าได้น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค ให้มีผลต่อไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561

ในกรณีผู้ขอประเมินผลการสอนตาม (2) ได้เพิ่มชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งและเพิ่มเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งเทียบค่าได้รวมกับชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งเดิมแล้วไม่น้อยกว่าสาม
หน่วยกิตระบบทวิภาค เพื่อขอประเมินผลการสอนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ทั้งผลการประเมินผลการสอนปกติ และผลการประเมินผลการสอนล่วงหน้า ที่มีผลการประเมินอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบ ให้มีผลต่อไปจนครบ 2 ปีโดยอนุโลม นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะพิจารณาเห็นชอบในครั้งแรก และหากจะมีการประเมินผลการสอนใหม่ ให้ดำเนินการประเมินผลการสอนตามหลักเกณฑ์ใหม่ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด

3) ผลงานทางวิชาการ มีการแบ่งประเภทผลงานทางวิชาการให้ครอบคลุม โดยแบ่งออกเป็น 2 สายหลัก คือ สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

4) วิธีในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  (ดังแบบสรุปเกณฑ์ พ.ศ.2560 แนบท้าย)

5) การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 

1) ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์

    (1) วิธีปกติ จากเดิมจำนวน 3-5 คน คุณภาพดี (เสียงข้างมาก) เป็น จำนวนอย่างน้อย 3-5 คน คุณภาพดี (เสียงข้างมาก)

    (2) วิธีพิเศษ จากเดิมจำนวน 5 คน คุณภาพดีมาก (เสียง 4ใน 5) เป็น จำนวนอย่างน้อย 5 คน คุณภาพดีมาก (เสียงข้างมาก)

2) ตำแหน่งศาสตราจารย์

    (1) วิธีปกติ

          (1.1) โดยวิธีที่ 1 จากเดิมจำนวน 3-5 คน คุณภาพดีมาก (เสียงข้างมาก) เป็น จำนวนอย่างน้อย 3-5 คน คุณภาพดีมาก (เสียงข้างมาก)

          (1.2) โดยวิธีที่ 2 จากเดิมจำนวน 3-5 คน คุณภาพดีเด่น (เสียงข้างมาก) เป็น จำนวนอย่างน้อย 3-5 คน คุณภาพดีเด่น (เสียงข้างมาก)

    (2) วิธีพิเศษได้เฉพาะโดยวิธีที่ 1 เท่านั้น จากเดิมจำนวน 5 คน คุณภาพดีเด่น (เสียง 4ใน 5) เป็น จำนวนอย่างน้อย 5 คน คุณภาพดีเด่น (เสียง 4ใน 5)

6) ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ มีการระบุสัดส่วนการมีส่วนร่วมเป็นร้อยละ และกำหนดให้งานที่ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ผู้ขอจะต้องอธิบายบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในผลงานของเจ้าของผลงาน (ดังเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. ตามข้อ 3 และแบบการมีส่วนร่วมในข้อ 4)

              7) หากผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอตำแหน่งจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ

ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดว่ากรณีผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หากมีผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของหน่วยงาน หรือสถาบันที่มีการดำเนินการ หรือคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

 แต่สำหรับผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีผลงานการวิจัยในคนหรือสัตว์ดังกล่าวก่อนข้อบังคับดังกล่าวใช้บังคับ หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการทำวิจัยก่อนวันที่ข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยดังกล่าว

ในการนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดีได้ดำเนินการจัดทำแนวทางในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการใหม่ เพื่อให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ตลอดจนผู้ที่สนใจได้เข้าไปศึกษาแนวทางในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการใหม่นี้ ทั้งใน KM BLOG และเว็ปไซต์ของกองการเจ้าหน้าที่ ที่ : http://personnel.mju.ac.th/ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์1 บุคลากรชำนาญการพิเศษ งานตำแหน่งและอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี

อารัทรา พิเชษฐพันธ์2  บุคลากรปฏิบัติการ งานตำแหน่งและอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี

ดาวน์โหลดเอกสารแนบ

ประกาศ กพอ. 2560

1.เกณฑ์ 60 แม่โจ้ (6 กค.61)

1.แนวคิด การพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 60

2.หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 2560 (พค.61

3. ผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

4.สรุปเกณฑ์ 60

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=885
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:20:06   เปิดอ่าน 1894  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 22:42:41   เปิดอ่าน 2122  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัยสถาบัน » ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในกา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ภัคสุณีย์ ดวงงา  วันที่เขียน 5/11/2562 16:11:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/12/2567 12:20:06   เปิดอ่าน 3967  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 8:27:56   เปิดอ่าน 2351  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง