Blog : การประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 298
ชื่อสมาชิก : เชิดชัย มีเอียด
เพศ : ชาย
อีเมล์ : cherdchai_m@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 14/3/2554 11:17:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 14/3/2554 11:17:16

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้ ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ Principle-based QA Model Role-based QA Model โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒) ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ Curriculum design Teaching-Leaning activities Student Assessment Co-curricular activities Lecturer’s competency Student service Facilities โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓ ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0 จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Criteria 1 – Expected Learning Outcomes Requirements: หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4) หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition Criteria 2 – Programme Structure and Content Requirements: 2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้ 2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ 2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes 2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ 2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ 2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้ Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach Requirements: 3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities 3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน 3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ 3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ Criteria 4 – Student Assessment ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้ Criteria 5 – Academic Staff ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ Criteria 6 – Student Support Service ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Criteria 7 – Facilities and Infrastructure ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน Criteria 8 – Output and Outcomes ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้ ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0 2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) 3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้ 3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้ ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ Principle-based QA Model Role-based QA Model โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒) ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ Curriculum design Teaching-Leaning activities Student Assessment Co-curricular activities Lecturer’s competency Student service Facilities โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓ ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0 จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Criteria 1 – Expected Learning Outcomes Requirements: หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4) หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition Criteria 2 – Programme Structure and Content Requirements: 2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้ 2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ 2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes 2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ 2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ 2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้ Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach Requirements: 3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities 3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน 3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ 3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ Criteria 4 – Student Assessment ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้ Criteria 5 – Academic Staff ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ Criteria 6 – Student Support Service ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Criteria 7 – Facilities and Infrastructure ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน Criteria 8 – Output and Outcomes ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้ ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0 2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) 3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้ 3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1488  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 17:56:27
การประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 (International Conference on Applied Statistic (ICAS) 2018) ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทรารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 เลขที่ ศธ.0523.4.7/349 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ซึ่งเข้าร่วมอบรมโครงการดังกล่าว ข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรกรณีที่ 2 และข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมอบรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 โดยTheme การประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติครั้งนี้คือ Data Science โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย 1 การจัด Workshop 2 การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 3 การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 4 การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation) 5 การนําเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (poster presentation) ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับความรู้ จากการเผยแพร่ผลงานการวิจัยทางสถิติสถิติประยุกต์ คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และคณิตศาสตร์ศึกษา ของนิสิต/นักศึกษา/คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยมีการตีพิมพ์ใน Proceeding ของการประชุม และได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทําวิจัย กับผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษา เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของงานวิจัย จากความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้พัฒนาความรู้ทักษะด้านการวิจัยและทักษะด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและการวิจัยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2217  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 7/10/2562 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 16:35:27

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้