เทคนิคการเขียนและประเมินค่างาน
การประเมินค่างาน (Job Evaluation) เป็นการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง หรือการตีค่างาน เพื่อกำหนดระดับตำแหน่งที่สมเหตุสมผล โดยนำมาวิเคราะห์ลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงานที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้เห็นคุณค่างานของตำแหน่ง โดยที่การประเมินค่างานเป็นการวัดความสัมพันธ์หรือคุณค่าของตำแหน่งที่ไม่ใช่เป็นการวัดที่ปริมาณงาน หรือไม่ใช่การประเมินตัวบุคคล
วัตถุประสงค์ของการประเมินค่างาน
1. เพื่อให้หน่วยงานสามารถกำหนดโครงสร้างของตำแหน่งได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับโครงสร้างและลักษณะของงาน มีความสมเหตุสมผลในแง่ของความสำคัญหรือค่าของงานต่าง ๆ ที่มีต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
2. เพื่อให้การกำหนดระดับตำแหน่งสำหรับการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ปฏิบัติงานอย่าง
เป็นธรรม
องค์ประกอบในการพิจารณากำหนดระดับตำแหน่ง
1. ลักษณะของงาน ต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจะต้องปฏิบัติงานลักษณะใด บทบาทใด ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของงานนั้น โดยจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง
2. ระดับความรับผิดชอบของงาน ต้องแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งนั้นมีขอบเขตความรับผิดชอบระดับใด โดยพิจารณาจาก
- การตัดสินใจ
- ความอิสระในการปฏิบัติ
- การบังคับบัญชา
- ผลกระทบของงาน
3. ระดับความยากง่ายของงาน ต้องแสดงให้เห็นคุณภาพของงานว่างานนั้นมีคุณภาพสูงต่ำเพียงใด โดยพิจารณาจาก
- ความรู้และประสบการร์ที่จำเป็นในงาน
- แนวทางการทำงาน
- ความคิดริเริ่ม
- ความยุ่งยากซับซ้อน
- ความหลากหลายของงาน
องค์ประกอบในการประเมินค่างาน
1. ตำแหน่งประเภททั่วไป และประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
ก. หน้าที่ความรับผิดชอบ
ข. ความยุ่งยากของงาน
ค. การกำกับตรวจสอบ
ง. การตัดสินใจ
2. ตำแหน่งประเภททั่วไป และประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน)
ก. หน้าที่ความรับผิดชอบ
ข. ความยุ่งยากของงาน
ค. การกำกับตรวจสอบ
ง. การตัดสินใจ
จ. การบริหารจัดการ
การเขียนประเมินค่างาน
1. จัดเตรียม
- มาตรฐานกำหนดตำแหน่งปัจจุบัน และมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะขอกำหนดในระดับสูงขึ้น
- งาน (Job Analysis) ของผู้ที่จะเสนอขอ
- แบบฟอร์มประเมินค่างาน
2. ศึกษามาตรฐานกำหนดตำแหน่งปัจจุบันที่ปฏิบัติงานอยู่กับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะขอกำหนดให้สูงขึ้น ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
3. นำงาน (Job Analysis) มาจัดกลุ่มให้เข้ากับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ซึ่งการจัดกลุ่มงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งจะแบ่งเป็น 4 ด้าน
(1) ด้านปฏิบัติการ
(2) ด้านวางแผน
(3) ด้านการประสาน
(4) ด้านการบริการ
(5) ด้านการพัฒนางาน
สำหรับหัวหน้างาน/ฝ่าย ให้เพิ่มอีกด้าน
(6) ด้านบริหาร
4. พิจารณาด้านการพัฒนางาน มีวิธีการพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างไรบ้าง เช่น
- มีการใช้วงจรควบคุมคุณภาพ (PDCA) ในการปฏิบัติงาน
- มีการปรับปรุง/ลดขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ Kaizen, Lean ฯลฯ
- มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติ เช่น มีการพัฒนาโปรแกรมในการติดตามงาน มีการใช้ Google Drive ทำตารางนัดหมายงาน หรือ มีการใช้ QR Code ในการรับลงทะเบียนสมัครอบรม
- มีการคิดหลักเกณฑ์/แนวปฏิบัติที่ดีในการทำงาน
5. พิจารณาการจัดกลุ่มงานเพื่อดูว่าการทำงานของเราสอดคล้องกับพันธกิจ กลยุทธ์ของหน่วยงานเราข้อใดบ้าง
6. จัดทำแบบประเมินค่างาน