หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) ประเภทอำนวยการ (ขึ้นด้วยตำแหน่งบริหาร) ซึ่งเป็นแท่งอำนวยการของสายสนับสนุน
พนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
- ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
- ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก
- หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
คุณสมบัติ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานและระยะเวลา ของผู้ที่จะขอเข้ารับการคัดเลือก
- ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
1.1 ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน HRD Training Roadmap และ
1.2 เคยดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ หรือผู้อำนวยการกอง/หัวหน้าสำนักงานคณบดี/เทียบเท่า
มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
1.3 มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก
2.1 ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน HRD Training Roadmap และ
2.2 เคยดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ หรือหัวหน้างาน/เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ
2.3 มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. หัวหน้างาน และหัวหน้างานกลุ่มภารกิจ
3.1 ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ใน HRD Training Roadmap และ
3.2 ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการ ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี
การแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ให้ประเมินตามองค์ประกอบ ดังนี้
- ผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ครองอยู่ (ใช้คะแนนจากแบบ ป.สน.01 และแบบ ป.สน.02
ในรอบการประเมินที่แล้วมา)
- ความรู้ ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะหลัก สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน (ประเมินจากการสอบ
ข้อเขียน)
- สมรรถนะทางการบริหาร และหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะประเมิน (ประเมินจากการสอบสัมภาษณ์)
- วิสัยทัศน์การพัฒนางานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (สัมภาษณ์จากวิสัยทัศน์และตัวโครงการ
ที่นำเสนอ)
เกณฑ์การผ่านการคัดเลือก
ระดับตำแหน่ง
|
ผลรวมทุกองค์ประกอบ (1-4)
|
ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการสำนักงานสภามหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
|
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
|
ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า
หัวหน้าสำนักงานคณบดีหรือเทียบเท่า
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน และ
หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการสำนัก
|
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
|
หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
|
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
|
วิธีการสรรหา
ให้ ก.บ.ม. ประกาศรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อเข้ารับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ทั้งนี้ ตำแหน่งหัวหน้างานและตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ส่วนงานอาจไม่ประกาศรับสมัครก็ได้ (ร.ก ไม่ต้องสอบข้อเขียน ใช้วิธีการประเมิน 3 องค์ประกอบ) โดยแจ้งความประสงค์ต่อ ก.บ.ม. เพื่อพิจารณา
ก.บ.ม. ครั้งที่ 6/2560 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2560 มีมติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินบุคคลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน สำหรับผู้ที่รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มภารกิจอยู่แล้วว่าไม่ต้องเข้ารับการสอบข้อเขียน โดยต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
- วุฒิ ป.ตรี/โท/เอก
- ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการ 6 ปี (ป.ตรี) / 4 ปี (ป.โท) / 2 ปี (ป.เอก)
- ปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- เงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มภารกิจ คือ 27,000 บาท
- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต้องไม่ถูกลงโทษทางวินัย/จรรยาบรรณ
- ดำรงตำแหน่ง รก. มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการระดับดีขึ้นไป (70% ขึ้นไป) ใน 2 รอบการประเมินที่ผ่านมา
คณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย
- อธิการบดีหรือรองอธิการบดีที่อธิการบดีมอบหมาย เป็นประธาน
- รองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีที่กำกับดูแลงานด้านบุคลากร เป็นกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในมหาวิทยาลัยซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
- หัวหน้าส่วนงานหรือหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของตำแหน่ง จำนวน 1 คน เป็นกรรมการ
- หัวหน้างานตำแหน่งและอัตรากำลัง เป็นเลขานุการและอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการได้
คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกจะดำเนินการ ดังนี้
- พิจารณาคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของผู้ขอรับการประเมิน
- ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานตามตัวชี้วัดที่ครองอยู่ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน สมรรถนะทางการบริหารและหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะประเมิน และวิสัยทัศน์การพัฒนางานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
- รายงานผลการประเมินต่อ ก.บ.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบและพิจารณาอนุมัติตามผลการประเมิน
2) ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ และประเภททั่วไป (ขึ้นด้วยผลงาน) ซึ่งเป็นแท่งวิชาการของสายสนับสนุน
ประเภททั่วไป
|
ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
|
- ปฏิบัติงาน
- ชำนาญงาน
- ชำนาญงานพิเศษ
|
- ปฏิบัติการ
- ชำนาญการ
- ชำนาญการพิเศษ
- เชี่ยวชาญ
- เชี่ยวชาญพิเศษ
|
คุณสมบัติเบื้องต้น ดังนี้
- มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ตำแหน่งประเภททั่วไป
|
ระดับชำนาญงาน
|
ปฏิบัติงาน ปวช.
|
6 ปี
|
|
ปฏิบัติงาน ปวท.
|
5 ปี
|
|
ปฏิบัติงาน ปวส.
|
4 ปี
|
ระดับชำนาญงานพิเศษ
|
ชำนาญงาน
|
6 ปี
|
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
|
ระดับชำนาญการ
|
ปฏิบัติการ ป.ตรี
|
6 ปี
|
|
ปฏิบัติการ ป.โท
|
4 ปี
|
|
ปฏิบัติการ ป.เอก
|
2 ปี
|
ระดับชำนาญการพิเศษ
|
ชำนาญการ
|
4 ปี
|
ระดับเชี่ยวชาญ
|
ชำนาญการพิเศษ
|
3 ปี
|
บัญชีค่าจ้างขั้นต่ำขั้นสูงพนักงานมหาวิทยาลัย
ตำแหน่ง
|
ขั้นต่ำ
|
ขั้นสูง
|
ตำแหน่งประเภททั่วไป
|
ระดับปฏิบัติงาน
|
ปวช.
|
12,450
|
|
|
ปวท.
|
14,310
|
36,000
|
|
ปวส.
|
15,300
|
|
ระดับชำนาญงาน
|
19,000
|
67,000
|
ระดับชำนาญงานพิเศษ
|
29,000
|
95,000
|
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
|
ระดับปฏิบัติการ
|
ป.ตรี
|
19,950
|
|
|
ป.โท
|
24,600
|
48,000
|
|
ป.เอก
|
30,000
|
|
ระดับชำนาญการ
|
|
27,000
|
75,000
|
ระดับชำนาญการพิเศษ
|
37,000
|
100,000
|
ระดับเชี่ยวชาญ
|
47,000
|
120,000
|
ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
|
55,000
|
130,000
|
องค์ประกอบสำหรับการประเมิน
ระดับตำแหน่ง
|
ผลสัมฤทธิ์ ของงานตามตัวชี้วัดของตำแหน่งที่ ครองอยู่
|
ความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน
|
ผลงาน
|
การใช้ความรู้ ความสามารถ ในการสนับสนุนงานบริการวิชาการหรือ งานวิชาชีพบริการต่อสังคม
|
ความเป็น ที่ยอมรับในด้านนั้น ๆ หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพ
|
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
|
ชำนาญงาน
|
ü
|
ü
|
ü
|
|
|
ü
|
ชำนาญงานพิเศษ
|
ü
|
ü
|
ü
|
|
|
ü
|
ชำนาญการ
|
ü
|
ü
|
ü
|
|
|
ü
|
ชำนาญการพิเศษ
|
ü
|
ü
|
ü
|
|
|
ü
|
เชี่ยวชาญ
|
ü
|
ü
|
ü
|
ü
|
|
ü
|
เชี่ยวชาญพิเศษ
|
ü
|
ü
|
ü
|
ü
|
ü
|
ü
|
จำนวนผลงานขั้นต่ำที่ใช้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง
ระดับตำแหน่ง
|
คู่มือปฏิบัติงานหลัก
|
ผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ หรืองานวิจัย หรือผลงานลักษณะอื่นซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานในหน้าที่
|
ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนางาน
|
งานวิจัยหรือผลงานลักษณะอื่น โดยต้องเป็นผู้วิจัยหลักหรือหัวหน้าโครงการวิจัยซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อ
|
หน่วยงาน/
ส่วนงาน/มหาวิทยาลัย
|
มหาวิทยาลัย
|
หน่วยงาน/
ส่วนงาน/มหาวิทยาลัย
|
มหาวิทยาลัย
โดยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ
|
ชำนาญงาน
|
ü
|
|
|
|
|
|
ชำนาญงานพิเศษ
|
ü
|
ü
|
|
|
|
|
ชำนาญการ
|
ü
|
ü
|
|
|
|
|
ชำนาญการพิเศษ
|
|
|
ü
|
|
ü
|
|
เชี่ยวชาญ
|
|
|
|
ü
|
|
ü
|
เชี่ยวชาญพิเศษ
|
|
|
|
ü
|
|
ü
|
หมายเหตุ: ผลงานทุกรายการต้องสอดคล้องกับภาระงานของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่ง
เงื่อนไขของผลงานที่ใช้ประกอบการพิจารณา
1. ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม
2. ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นมาแล้ว
3. กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
4. กรณีที่เป็นงานวิจัยต้องมีคำรับรองโครงการวิจัยหรือสำเนาคำรับรองจากแหล่งทุนหรือผู้บังคับบัญชาระดับส่วนงาน แนบประกอบด้วย
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงาน
1. คู่มือปฏิบัติงานหลัก ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50%
2. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักหรือ
หัวหน้าผู้ดำเนินการ
3. งานวิจัย ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% โดยต้องเป็นผู้วิจัยหลักหรือหัวหน้าโครงการวิจัย
4. ผลงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ต้องมีส่วนร่วมในผลงาน ไม่น้อยกว่า 50% และต้องเป็นหัวหน้าโครงการหรือหัวหน้า ผู้ดำเนินการ
5. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงาน หากมีการเสนอผลงานที่มีผู้ร่วมงานหลายคนจะต้องให้ผู้ร่วมงานทุกคน ลงนามรับรองว่าแต่ละคนมีส่วนร่วมในผลงานเรื่องนั้นร้อยละเท่าใด รวมทั้งระบุบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบใน ผลงานนั้น
6. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานแต่ละชิ้น เมื่อได้ลงนามรับรองแล้วจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ผลงานที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งต้องได้รับการเผยแพร่ผลงานตามรายละเอียด ดังนี้
1. คู่มือการปฏิบัติงานหลัก
1.1 เผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์โดยโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ หรือ
1.2 จัดทำเป็นสำเนาเย็บเล่มและได้ส่งเผยแพร่ภายนอกมหาวิทยาลัยรวมกันไม่น้อยกว่า 5 แห่ง และภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
ก. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อย่างน้อย 1 เล่ม
ข. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ อย่างน้อย 1 เล่ม
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร อย่างน้อย 1 เล่ม
2. ผลงานเชิงวิเคราะห์หรือผลงานเชิงสังเคราะห์
2.1 เผยแพร่ในรูปของบทความในวารสารทางวิชาการของส่วนงานหรือมหาวิทยาลัย หรือ
2.2 เผยแพร่ในรูปของบทความในวารสารทางวิชาการ หรือ
2.3 เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความทางวิชาการ หรือ
2.4 เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceeding)
3. งานวิจัย
3.1 เผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้ วารสารทางวิชาการนั้นอาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเลคทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน หรือ
3.2 เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ หรือ
3.3 นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการ
ได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceeding) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
3.4 การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานได้ว่า
ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพนั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างกว้างขวาง
4. ผลงานลักษณะอื่น
4.1 เผยแพร่โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานและหน่วยงานภายนอก หรือ
4.2 เผยแพร่ โดยการจัดนิทรรศการหรือการจัดแสดง หรือ
4.3 เผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์โดยโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
- ระดับชำนาญงาน ระดับชำนาญการ
1.1 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่ง ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า
1.2 ประกอบไปด้วยกรรมการที่แต่งตั้งจากบุคคลภายในมหาวิทยาลัย แต่ต้องอยู่ต่างสังกัดส่วนงานหรือหน่วยงานกับผู้เสนอขอ และกรรมการภายนอกมหาวิทยาลัยอีกอย่างน้อย 1 คน รวมกรรมการทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3 คน
2.ระดับชำนาญงานพิเศษ ระดับชำนาญการพิเศษ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
2.1 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า
2.2 ประกอบไปด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.บ.ม. กำหนด
หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ต้องผ่านการประเมิน ดังนี้
หลักเกณฑ์การแต่งตั้ง ต้องผ่านการประเมิน ดังนี้
กลุ่ม
|
ประเภทตำแหน่ง
|
เกณฑ์การผ่านประเมินค่างาน
|
ผลสัมฤทธิ์และสมรรถนะ (TOR)
|
เกณฑ์ผ่านการประเมิน/คุณภาพผลงาน
|
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
|
วิธีปกติ
|
วิธีพิเศษ
|
1
|
ระดับชำนาญงาน
|
64/100
|
70/100
|
≥ 3.00
ดี
|
≥ 3.50
ดีมาก
|
เหมาะสม
|
ระดับชำนาญการ
|
64/100
|
70/100
|
2
|
ระดับชำนาญงานพิเศษ
|
84/100
|
70/100
|
≥ 3.50
ดี
|
≥ 4.00
ดีมาก
|
ระดับชำนาญการพิเศษ
|
84/100
|
70/100
|
3
|
ระดับเชี่ยวชาญ
|
170/300
|
80/100
|
≥ 4.00
ดี
|
≥ 4.50
ดีมาก
|
4
|
ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
|
235/300
|
90/100
|
≥ 4.50
ดีมาก
|
≥ 4.75
ดีเด่น
|
|
|
|
กรรมการ
|
3 คน
|
5 คน
|
|
|
|
|
ผลการประเมิน
|
เสียงข้างมาก
|
≥ 4 ใน 5
|
|
การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ดังนี้
1. ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือวิชาชีพมากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
2. ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาชีพของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
3. ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาชีพจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
4. ผลงานทางวิชาชีพต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาชีพเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตาม
ความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาชีพ
5. ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
วันที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
1. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน แต่งตั้ง ณ วันที่กองการเจ้าหน้าที่ประทับรับเรื่อง
2. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน แต่งตั้ง ณ วันที่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. กรณียื่นส่งผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วต่อกองการเจ้าหน้าที่เกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่รับทราบมติของคณะอนุกรรมการตรวจสอบผลงาน ให้ถือว่าการดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งเป็นอันสิ้นสุด
ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง เนื่องจากคุณภาพของผลงาน การใช้ความรู้ความสามารถ
ในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคม หรือความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้นหรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพ ไม่อยู่ในเกณฑ์ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีสิทธิขอให้ ก.บ.ม. พิจารณาทบทวนได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง โดยในคำขอทบทวนนั้นต้องแสดงข้อเท็จจริง ข้ออ้างและเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ
และจะต้องยื่นเรื่องขอทบทวนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับทราบมติ โดยส่งผลงานฉบับแก้ไขปรับปรุงให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ชุดเดิมพิจารณา และหากผลงานเป็นไปตามเกณฑ์ วันที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คือวันที่กองการเจ้าหน้าที่ได้รับผลงานฉบับปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว
ตำแหน่ง
|
ขั้นต่ำ
|
ขั้นสูง
|
ตำแหน่งประเภททั่วไป
|
ระดับปฏิบัติงาน
|
ปวช.
|
12,450
|
|
|
ปวท.
|
14,310
|
36,000
|
|
ปวส.
|
15,300
|
|
ระดับชำนาญงาน
|
19,000
|
67,000
|
ระดับชำนาญงานพิเศษ
|
29,000
|
95,000
|
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
|
ระดับปฏิบัติการ
|
ป.ตรี
|
19,950
|
|
|
ป.โท
|
24,600
|
48,000
|
|
ป.เอก
|
30,000
|
|
ระดับชำนาญการ
|
|
27,000
|
75,000
|
ระดับชำนาญการพิเศษ
|
37,000
|
100,000
|
ระดับเชี่ยวชาญ
|
47,000
|
120,000
|
ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
|
55,000
|
130,000
|