ก๊าซชีวภาพ (biogas) เป็นก๊าซหลายชนิดที่เกิดจากกระบวนการทางชีวภาพ ก๊าซที่นิยมนำไปทำเชื้อเพลิงได้คือ มีเทน การทำบริสุทธิ์ก๊าซชีวภาพโดยสาหร่ายคลอเรลลา ทำให้ทราบกระบวนการและกลไกต่างๆ ของการทำบริสุทธิ์ก๊าซโดยวิธีทางชีวภาพเพื่อให้มีปริมาณก๊าซมีเทนสูงขึ้น โดยอาศัยหลักการการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายคลอเรลล่า คลอเรลล่าจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการสร้างน้ำตาลหรืออาหาร ในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากกระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจนนั้น ผลผลิตที่เกิดขึ้นได้แก่ ก๊าซมีเทน ก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ สาหร่ายสีเขียวทุกชนิด รวมถึงคลอเรลล่า สามารถดำรงชีพโดยการรับพลังงานแสงและสารอนินทรีย์มาใช้สร้างอาหาร หรือที่เรียกว่าการสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์แสงจำเป็นต้องอาศัยรงควัตถุ (pigment) เนื่องจากสาหร่ายคลอเรลล่ามีคลอโรฟิลล์เอ และบี การสังเคราะห์แสงของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารตั้งต้นเพื่อที่จะนำมาสร้างน้ำตาลและชีวมวลต่อไป ดังนั้นเมื่อนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมาผ่านสาหร่ายคลอเรลเรลล่าที่เลี้ยงไว้ในอาหารเลี้ยงจะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ลดลงได้ เนื่องจากการดูดไปใช้ของสาหร่าย แต่การทำบริสุทธิ์เช่นนี้จะต้องพิจารณาถึงการออกแบบท่อต่อเพื่อให้ก๊าซผ่านสาหร่าย และอัตราการไหลของก๊าซด้วย เนื่องจากหากให้อัตราการไหลของก๊าซเร็วเกินไปจะทำให้เกิดแรงดันภายในถังปฏิกรณ์สูงได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษา รวมถึงสภาวะที่เหมาะสมของการเจริญของสาหร่าย เนื่องจากสาหร่ายต้องการแสงในการสังเคราะห์แสง ดังนั้นจึงต้องออกแบบสภาวะให้เหมาะสม และปัจจัยที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ สาหร่ายจะปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาในระบบเนื่องจากการสังเคราะห์แสง จึงต้องมีการศึกษาในระดับต่อไป