ที่มา บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
วันที่เขียน 4/11/2563 11:46:29     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 2:40:06
เปิดอ่าน: 2218 ครั้ง

ที่มา บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๒๔
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีหน้าที่ส่งเสริมการหารายได้ ทรัพย์สิน ทุนการศึกษา ทุนด้านสวัสดิการ ให้คำแนะนำการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบัน ตามที่สภาสถาบันฯ จะเห็นสมควร

พ.ศ. ๒๕๔๐ 
ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยประธานและกรรมการจำนวนหนึ่งซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง สภามหาวิทยาลัยจึงได้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ พอสรุปได้ดังนี้

 - ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขึ้นคณะหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง กรรมการอีกจำนวนหนึ่ง และให้ประธานเลือกกรรมการเป็นรองประธานคนหนึ่งหรือหลายคน โดยให้มีรองอธิการบดีซึ่งอธิการบดีมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ

-  คุณสมบัติของผู้ซึ่งเป็นกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีดังนี้
      ๑. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม
      ๒. เป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และยินดีจะสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
      คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีวาระอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินสองปี และอาจจะได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้

- คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
   ๑. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดหาทรัพยากรในการบริหารงานมหาวิทยาลัย
   ๒. ดำเนินการหาทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
   ๓. ให้คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
   ๔. ดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
   ๕. แต่งตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือในกิจการตามแต่จะเห็นสมควร

พ.ศ. ๒๕๖๐

ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยจึงได้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๐ พอสรุปได้ดังนี้

-  ให้มีคณะกรรมการซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย โดยคำแนะนำของอธิการบดี ประกอบด้วยประธานกรรมการ  และกรรมการอีกจำนวนหนึ่ง ให้แต่งตั้งรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้

-  คุณสมบัติของผู้ซึ่งเป็นกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มีดังนี้
   ๑. เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม
   ๒. เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการอุทิศตนให้แก่กิจการของมหาวิทยาลัย
   ๓. เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและรอบรู้ในกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย
       คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้

- คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย

วาระการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้

วาระการดำรง
ตำแหน่ง

ช่วงเวลา
การดำรงตำแหน่ง

ประธานกรรมการ

     ๑ – ๕

พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๔๐

ศาสตราจารย์ ดร.สง่า  สรรพศรี  

     ๖

พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยรรยง  สิทธิชัย

     ๗ – ๘

พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๘

ดร.สู่บุญ  วุฒิวงศ์

     ๙ – ๑๐

พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๒

ดร.สุทธิธรรม  จิราธิวัฒน์

     ๑๑

พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔

ดร.ณรงค์  ตนานุวัฒน์

     ๑๒ – ๑๔

พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๐

ดร.องอาจ  กิตติคุณชัย

     ๑๕ - ๑๖

พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน

ดร.วรพงศ์  นันทาภิวัฒน์



ทำเนียบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย  Click !! 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1135
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
คนึงนิตย์ กอนแสง » การให้บริการที่เป็นเลิศ
หลักการและหัวใจสำคัญในการบริการที่เป็นเลิศ ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ โดยต้องสังเกตุหรือทราบถึงสถานะ เรื่องราว และกลยุทธ์ในการให้บริการ หลักการจิตวิทยาบริการ ได้แก่ ยิ้มทักทายจากห...
การให้บริการที่เป็นเลิศ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 16/11/2566 11:37:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 22:21:15   เปิดอ่าน 269  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การจัดเตรียมวาระการประชุม การทำบันทึกเสนอที่ประชุม และการทำรายงานการประชุม
การจัดทำหนังสือและเอกสารเกี่ยวกับการประชุม โดยปกติ ประกอบด้วย การกำหนดนัดหมายการประชุม หนังสือเชิญประชุม และหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ระเบียบวาระการประชุม และเอกสารการประชุมอื่นตามกฎหมา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 29/9/2566 17:39:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 2:38:46   เปิดอ่าน 213  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ คือ เขียนให้ดี สร้างสรรค์ เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง สื่อเข้าใจ ตรงกัน เรียบง่าย กระชับ ภาษาสวย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความ บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นผลดี ไม่ให้เ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 30/8/2565 9:27:44  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 23:02:37   เปิดอ่าน 4345  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม » สรุปการอบรมหลักสูตร “กฎหมายปกครองสำหรับนักบริหารมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน จงรักษ์ บัวลอย  วันที่เขียน 3/8/2565 10:14:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 16:34:49   เปิดอ่าน 2037  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง