ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2560
วันที่เขียน 12/9/2560 14:44:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:47:22
เปิดอ่าน: 3107 ครั้ง

การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงานแยกตามสถานที่ศึกษาดูงาน

          การเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้มีการเข้าศึกษาดูงานหลักๆ 3 แห่ง ประกอบด้วย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้าพเจ้าขอสรุปเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าร่วมศึกษาดูงานแยกตามสถานที่ศึกษาดูงานรายละเอียดดังนี้

  1. 1.        องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ 22 เมษายน 2560 

ได้มีการเข้าศึกษาและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเรื่องของอาหารการกินที่ปลอดภัยสำหรับสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการเข้าศึกษาดูงานทำให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งยังสามารถนำประโยชน์และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาดูงานนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

2.  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 24 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะแรกที่ตั้งขึ้น ณ ศูนย์รังสิต และนับเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งเป็นแห่งที่ 18 ของประเทศ ในขณะนั้น ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เริ่มเปิดการเรียนการสอนใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต่อมาคณะฯได้ขยายการเรียนการสอนในสาขาวิชาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ควบคู่กับมหาวิทยาลัยก่อตั้งคณะวิชาใหม่ ๆ ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งคณะฯรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหมดให้กับทุกคณะวิชาณศูนย์รังสิต 

ซึ่งจากการรับฟังการบรรยายและการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้ทราบถึงการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะต้องมีการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งในการปรับโครงสร้างขององค์กรจะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่ของบุคลากรเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน หลังจากมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของการบริหารในแบบมหาวิทยาลัยกำกับ ทำให้ได้เห็นภาพรวมของการทำงานในส่วนงานบริหารชัดขึ้น  

  1. 3.       คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 เมษายน 2560

คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการก่อตั้งในปีพุทธศักราช 2459 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ คณะอักษรศาสตร์แลวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเบื้องต้น สำหรับนิสิตในคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยภาควิชาต่าง ๆ 14 ภาควิชา ที่ทำการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาที่เกิดขึ้นในภายหลังได้แก่ ภาควิชาชีวเคมี พฤกษศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ทางทะเล จุลชีววิทยา และภาควิชาทางด้านเทคโนโลยีอีก 4 ภาควิชา ได้แก่ เคมีเทคนิค เทคโนโลยีทางอาหาร วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ และยังมีหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และ ปิโตรเคมีและโพลิเมอร์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาควิชา นอกจากนี้ คณาจารย์ของภาควิชายังให้การสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับนิสิตจากคณะอื่น ๆ เช่น คณะวิวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และ คณะแพทยศาสตร์

วิธีการนำไปใช้ประโยชน์

ซึ่งจากการได้ศึกษาดูงาน ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้นำมาใช้ประโยชน์ในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทั้งในเรื่องงานบริการ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงอาคาร สถานที่ ภูมิทัศน์ที่ทันสมัย สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์หรือปรับใช้กับหน่วยงานของเราได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=732
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
คนึงนิตย์ กอนแสง » การใช้ Google Forms เพื่อการพัฒนางาน
ในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติงาน และต้องมีทักษะ ความรู้ด้านดิจิทัล ในการมาปรับใช้ในการสื่อสารและการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการทำงา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 24/10/2567 14:35:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:26:33   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การให้บริการที่เป็นเลิศ
หลักการและหัวใจสำคัญในการบริการที่เป็นเลิศ ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ โดยต้องสังเกตุหรือทราบถึงสถานะ เรื่องราว และกลยุทธ์ในการให้บริการ หลักการจิตวิทยาบริการ ได้แก่ ยิ้มทักทายจากห...
การให้บริการที่เป็นเลิศ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 16/11/2566 11:37:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:44:48   เปิดอ่าน 4900  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การจัดเตรียมวาระการประชุม การทำบันทึกเสนอที่ประชุม และการทำรายงานการประชุม
การจัดทำหนังสือและเอกสารเกี่ยวกับการประชุม โดยปกติ ประกอบด้วย การกำหนดนัดหมายการประชุม หนังสือเชิญประชุม และหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ระเบียบวาระการประชุม และเอกสารการประชุมอื่นตามกฎหมา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 29/9/2566 17:39:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:32   เปิดอ่าน 421  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ คือ เขียนให้ดี สร้างสรรค์ เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง สื่อเข้าใจ ตรงกัน เรียบง่าย กระชับ ภาษาสวย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความ บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นผลดี ไม่ให้เ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 30/8/2565 9:27:44  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:37:53   เปิดอ่าน 12076  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม » สรุปการอบรมหลักสูตร “กฎหมายปกครองสำหรับนักบริหารมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน จงรักษ์ บัวลอย  วันที่เขียน 3/8/2565 10:14:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:20:50   เปิดอ่าน 3221  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง