การเขียนผลงานวิเคราะห์จากงานประจำ
ความหมายของการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งหนึ่ง เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไรเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อค้นหาสาเหตุแท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.2547:2)
การวิเคราะห์ หมายถึง ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ
มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพ่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา (เอกสาร 5 ประกาศแนบท้าย ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น พ.ศ. 2523 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 53)
โครงร่างของผลงานวิเคราะห์
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์ดังนี้
- การกำหนดปัญหา
- การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
- การวิเคราะห์ระบบแนวทางเลือก
- การกำหนดความเป็นไปได้
- การพัฒนาเค้าโครงหรือโครงร่างระบบ
- การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ
- การออกแบบระบบ
- การใช้ระบบ
- การติดตามประเมินผลระบบ
สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยจะวิเคราะห์อะไรได้บ้าง
- การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) หมายถึง กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ชนิดของบุคคลความรู้ ความสามารถและทักษะที่ต้องการสำหรับงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งาน
- วิเคราะห์ปรับปรุงงาน
- วิเคราะห์เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน
- วิเคราะห์เพื่อขจัดความสูญเสียในการปฏิบัติงาน
- วิเคราะห์เพื่อวางแผนกำลังคน
- วิเคราะห์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน
- วิเคราะห์เพื่อประเมินค่างาน
- วิเคราะห์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน
2) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) หมายถึง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข แบบฟอร์ม พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคม ประการ หนังสือเวียน มติที่ประชุม คำสั่ง ระบบ
ไอที ฯลฯ เช่น วิเคราะห์งบประมาณ วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์หลักเกณฑ์ต่าง ๆ วิเคราะห์การเลื่อนเงินเดือน ฯลฯ
ขั้นตอนในการวิเคราะห์เอกสาร
- กำหนดเรื่องหรือหัวข้อที่จะทำการวิเคราะห์
- กำหนดวัตถุประสงค์/จุดหมายของการวิเคราะห์
- กำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์
- รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา คัดเลือก เอาเอกสารที่เชื่อถือได้ ที่มีความสมบูรณ์
- ศึกษา/วิเคราะห์ ตามหลักเกณฑ์ แนวคิด ทฤษฎี เทคนิคของการวิเคราะห์
- สรุปผลการศึกษา
- เขียนรายงานการวิเคราะห์
องค์ประกอบของเอกสารการวิเคราะห์
การวิเคราะห์เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ดังนั้นในที่นี้ให้ผู้ที่จะเขียนผลงานการวิเคราะห์เขียนองค์ประกอบของงานวิเคราะห์ ให้ล้อตามองค์ประกอบของงานวิจัย ดังนี้
- ความเป็นมาและความสำคัญ
- วัตถุประสงค์
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ขอบเขต
- คำจำกัดความ
- ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์
- เอกสารอ้างอิง
โครงร่างของเอกสารการวิเคราะห์
จากการที่การวิเคราะห์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับการวิจัย ดังนั้นในการเขียนโครงร่างของการวิเคราะห์จึงเขียนล้อตามโครงร่างของการเขียนงานวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
เทคนิคการเขียนรายงานการวิเคราะห์
แบบเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
- ส่วนหน้า ประกอบด้วย ปกหน้า ปกใน บทสรุป คำนำ สารบัญ
- ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
- บทที่ 1บทนำ
- บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง
- บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์
- บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์
- บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
- ส่วนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก
บทที่ 1 บทนำ
บทนำ เป็นเนื้อหาส่วนแรกหรือบทเริ่มต้นของงานที่เขียนจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นในการนำเข้าสู่เนื้อเรื่องของงานที่เขียน การเขียนบทนำจะต้องกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของงานที่จะปฏิบัติให้ชัดเจน รวมถึงแนวคิด วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิเคราะห์
หลักการทั่วไปของการเขียนบทนำ
- ควรเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหา แนวคิด วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์ของเรื่องที่กำลังเขียน
- ควรเขียนให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องที่กำลังเขียนวาเป็นเรื่อที่สำคัญ มีความท้าทาย และน่าสนใจอย่างไร
- ควรกล่าวนำให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญ เหตุผล ตลอดจนความจำเป็นที่ต้องมีการวิเคราะห์นี้
- ควรมีการใช้ภาษาที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย สอดคล้อง กลมกลืน ไม่สบสน วกไปเวียนมา
- การเขียนบทนำไม่ควรให้มีจำนวนหลายๆ หน้า ให้มีจำนวนหน้าพอประมาณ 2-3 หน้า
ส่วนประกอบของบทที่ 1
- ความเป็นมาและความสำคัญ : ต้องเขียนถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิเคราะห์ให้ชัดเจน โดยเขียนถึงความเป็นมาของงานที่จะทำการวิเคราะห์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร หรือมีความจำเป็นอะไรที่ต้องมีมาทำการวิเคราะห์เรื่องนี้
- วัตถุประสงค์ : ต้องเขียนอธิบาย ชี้แจง ให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เรื่องนั้นๆ เช่น เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของกำลังคนในหน่วยงาน
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ทราบประโยชน์ของการศึกษาวิเคราะห์เรื่องนั้น เช่น ได้สภาพปัจจุบันของกำลังคนในหน่วยงาน ได้ภาระงานของบุคลากรในหน่วยงาน
- ขอบเขต : ต้องเขียนอธิบายชี้แจง ให้ทราบถึงขอบเขต หรือ ข้อจำกัดของการวิเคราะห์เรื่องนั้น ๆ ว่ามีขอบเขตครอบคลุมอะไรบ้าง ประเด็นอะไรบ้าง อาจจะระบุเป็นปี เช่นการวิเคราะห์นี้ครอบคลุมเฉพาะ ปี 2556-2557
- คำจำกัดความเบื้องต้น : ต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ทราบถึงคำจำกัดความต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเรื่องที่ทำการศึกษาวิเคราะห์นั้น ๆ คำศัพท์เฉพาะที่มีในคู่มืออาจเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาต่างประเทศ หรือคำย่อ ก็ได้
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักการเขียน แนวคิด ทฤษฎี มีดังนี้
- จัดหมวดหมู่ของแนวคิด-ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นหมวดๆ เพื่อให้เห็นแนวทางในการ review literature อย่างชัดเจน
- จัดลำดับของหมวดหมู่ให้เหมาะสม
- เขียนและเรียบเรียงความรู้ด้านภาษาวิชาการให้เป็นความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
การเขียน งานวิเคราะห์/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- ชื่อผู้เขียน
- ชื่อเรื่องที่เราค้นคว้ามา
- ชื่อหน่วยงานหรือสถานบันของเรื่อง
- ปี พ.ศ. ที่พิมพ์
- วัตถุประสงค์ของวรรณกรรมนั้น
- วิธีการที่เข้าศึกษา/วิเคราะห์ (ทำอย่างไรเขาจึงได้ข้อสรุปออกมา)
- ผลการศึกษา/วิเคราะห์ของเขา ค้นพบความจริงอะไรบ้าง
บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์
ในบทที่ 3 จะมีข้อข้อและรูปแบบเหมือนวิจัย คือ
- ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ มีหลักความรู้ ทฤษฎี หรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราห์งานหรือวิเคราะห์เอกสาร มีหลากหลายวิธี คือ
- ระดับสมอง
- ผังรากไม้
- ผังก้างปลา
- เดลฟาย
- จุดแข็งจุดอ่อน
- วัดรอบเท้าช้าง
- เกณฑ์มาตรฐาน
- เปรียบเทียบข้อมูล
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์
ในบทนี้ จะเขียนถึงของการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาการวิเคราะห์ การใช้สถิติวิเคราะห์ การแปลความหมาย อาจนำเสนอในรูปแบบที่เป็นตาราง แผนภูมิ หรือ กราฟ ในการช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอผลการศึกษา ควรนำเสนอตามลำดับเรื่องของวัตถุประสงค์ที่ไว้ในในทบที่ 1 ซึ่งผลของการศึกษาวิเคราะห์จะต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ทุกข้อตามที่ตั้งไว้
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
การเขียนข้อเสนอแนะ
หลังจากการตรวจสอบ หรือการวิจัย/วิเคราะห์เสร็จ ก็จะเจอกับปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ แล้วต้องมานั่ง สรุปปัญหาทั้งหมด เมื่อสรุปปัญหาทั้งหมดแล้วเราก็จะมาแยกว่าแต่ละปัญหา ถ้าเกิดแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร และมีผลกระทบมากในระดับไหน สุดท้ายก็เสนอแนะวิธีการแก้ไข หรือเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหานั้น ส่วนข้อดีไม่ต้องเอามาเสนอ การเสนอแนะจะทำก็ต่อเมื่อเจอข้อเสีย หรือต้องการให้เกิดสิ่งที่ดีและเหมาะสมกว่า
การเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย/วิเคราะห์ในครั้งต่อไป เป็นการนำเสนอว่า ถ้าจะมีการวิจัย/วิเคราะห์ต่อไปควรคำนึงถึงอะไรบ้าง หรือควรทำเรื่องอะไรบ้าง หรือควรจะเพิ่มตัวแปรอะไรบ้าง ควรปรับปรุงวิธีดำเนินการอย่างไร เครื่องมือในการวิจัย/วิเคราะห์ควรใช้แบบไหน
ให้เสนอแนะว่าใคร หน่วยงานใด ควรจะดำเนินการอะไรต่อไป ข้อเสนอแนะต้องเป็นข้อเสนอที่ได้จากการวิจัย/วิเคราะห์ ไม่ใช่ข้อเสนอแนะในเชิงทฤษฎี ที่ไม่ได้มาจากข้อค้นพบในการวิจัย/วิเคราะห์ และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย/วิเคราะห์
การเขียนบรรณานุกรม
โดยแยกบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาษาต่างประเทศ และแต่ละภาษานั้น ให้เรียงตามลำดับอักษร แบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษทั่วไป
การเขียนบรรณานุกรมจะเรียงลำดับอักษรและพยัญชนะโดยเป็นภาษาไทยก่อนตามด้วยภาษาอังกฤษ