พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ
วันที่เขียน 16/3/2560 11:13:53     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:39:26
เปิดอ่าน: 6262 ครั้ง

จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “สวัสดี พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ” จัดโดยสมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2559 ซึ่ง ณ ขณะนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักการ "คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้" โดยจะใช้แทนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่เดิม ซึ่งรวมถึง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทําให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

สรุปประเด็นความแตกต่าง 

ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.... 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549

ประเด็น 

ร่าง พ.ร.บ.

ระเบียบฯ พ.ศ. 2535

ระเบียบฯ พ.ศ. 2549

ขอบเขตการใช้บังคับ

ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

(ม.6 วรรคหนึ่ง)

ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ

(ข้อ 6)

ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดการบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร

(ข้อ 4)

หลักการจัดซื้อจัดจ้าง

- คุ้มค่า

- โปร่งใส (ต้องกระทำโดยเปิดเผย และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม)

- ประสิทธิภาพประสิทธิผล (มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้า มีการประเมิน)

- ตรวจสอบได้

(มาตรา 8)

เปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม

(ข้อ 15 ทวิ)

เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535

การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

เมื่อทราบยอดเงินให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐ

(มาตรา 11)

เมื่อทราบยอดเงิน ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน... (ข้อ 13) ทั้งนี้ ไม่ได้กำหนดรูปแบบของการจัดทำแผนไว้

เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต

(หมวด 2 : มาตรา 15-18)

ไม่มี

องค์ประกอบของคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ ให้มีกรรมการซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำอย่างน้อยหนึ่งคน

(ข้อ 8 (3))

 

 

การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์

เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง การประกาศเชิญชวน ราคากลาง เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ การประกาศผลผู้ชนะ การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญาและการบริหารสัญญา

(มาตรา 11, 62-63)

ไม่มี

-   ให้คณะกรรมการประกวดราคาฯ นำสาระสำคัญของเอกสารประกวดราคาเชิญชวน เอกสารการประกวดราคา ที่สามารถเผยแพร่ได้ลงประกาศในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน (ข้อ 8)

-   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมย.53 กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ลงประกาศจัดซื้อจัดจ้าง (วิธีสอบราคา ประกวดราคา e-Auction) เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน

-   ปัจจุบันวิธี e-Market, e-Bidding มีการกำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติ ต้องลงประกาศเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน

คณะกรรมการ

- คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 19)

- คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 26)

- คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (มาตรา 31)

- คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (มาตรา 37)

- คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน (มาตรา 41)

คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.)

(ข้อ 11)

คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.)

(ข้อ 6)

ราคากลาง (ราคาอ้างอิง)

ราคากลาง”

(1)    ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด

(2)   ราคาอ้างอิงของพัสดุ

(3)   ราคามาตรฐาน (สงป./ICT)

(4)   สืบราคาจากท้องตลาด

(5)   ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ

(6)   ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์  วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ นั้น ๆ

(มาตรา 4)

ให้ใช้ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ หรือราคาที่สืบได้จากท้องตลาด

(ข้อ 27 (3))

เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535

การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง

คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด และประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและในราชกิจจานุเบกษา

(มาตรา 34)

ไม่มี

ไม่มี

*คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 เมย.55 กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการที่ทบทวนและปรับปรุงใหม่

ระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์

การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ

กำหนดให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้ประกาศและขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด

(หมวด 5 : มาตรา 51-53)

การกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือการจ้างแต่ละส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นแตกต่างกัน

(ข้อ 30)

เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535

การมีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา

ในการจัดซื้อจัดจ้างผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการ เช่น เจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการต่าง ๆ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น

(มาตรา 13)

ไม่มี

ไม่มี

วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง

  1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (เดิมวิธีสอบราคา, ประกวดราคา)
  2. วิธีคัดเลือก (เดิมวิธีพิเศษ)
  3. วิธีเฉพาะเจาะจง (เดิมวิธีตกลงราคา, วิธีพิเศษ, วิธีกรณีพิเศษ)

(มาตรา 55)

1.  วิธีตกลงราคา

2.  วิธีสอบราคา

3. วิธีประกวดราคา

4.  วิธีพิเศษ

5. วิธีกรณีพิเศษ

(ข้อ 18)

-   วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

-   แนวทางการปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธี e-market/ e-bidding

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ

การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้พิจารณาประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงเกณฑ์ราคา และพิจารณาด้านคุณภาพประกอบ

(มาตรา 65)

ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด

ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด

การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ

เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้าทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐ

ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจะถูกพักการเสนอราคาหรือทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

(มาตรา 104-106)

 

ไม่มี

ไม่มี

การพัฒนาบุคลากรด้านการพัสดุภาครัฐ

การฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามหลักวิชาชีพและตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินเพิ่มหรือเงินอื่นทำนองเดียวกัน

(มาตรา 49)

ไม่มี

ไม่มี

การอุทธรณ์

หมวด 14 การอุทธรณ์พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

(มาตรา 112-117)

ไม่มี

การอุทธรณ์ผลการคัดเลือกเบื้องต้น (ข้อ 9 (3)) การอุทธรณ์ผลการพิจารณา (ข้อ 10 (5))

บทกำหนดโทษ

บทกำหนดโทษเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนรับโทษตามที่กำหนดไว้

(มาตรา 118)

หมวดที่ 1 ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษผู้ดำเนินการรับโทษทางวินัยและไม่เป็นเหตุหลุดพ้นจากความรับผิดทางแพ่งและอาญา

(ข้อ 10)

เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535

ข้อมูล : สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง

ในการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “สวัสดี พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ”

สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
คนึงนิตย์ กอนแสง » การให้บริการที่เป็นเลิศ
หลักการและหัวใจสำคัญในการบริการที่เป็นเลิศ ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ โดยต้องสังเกตุหรือทราบถึงสถานะ เรื่องราว และกลยุทธ์ในการให้บริการ หลักการจิตวิทยาบริการ ได้แก่ ยิ้มทักทายจากห...
การให้บริการที่เป็นเลิศ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 16/11/2566 11:37:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:08:45   เปิดอ่าน 348  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การจัดเตรียมวาระการประชุม การทำบันทึกเสนอที่ประชุม และการทำรายงานการประชุม
การจัดทำหนังสือและเอกสารเกี่ยวกับการประชุม โดยปกติ ประกอบด้วย การกำหนดนัดหมายการประชุม หนังสือเชิญประชุม และหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี) ระเบียบวาระการประชุม และเอกสารการประชุมอื่นตามกฎหมา...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 29/9/2566 17:39:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:43   เปิดอ่าน 219  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คนึงนิตย์ กอนแสง » การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือราชการ ต้องมีศาสตร์และศิลป์ คือ เขียนให้ดี สร้างสรรค์ เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง สื่อเข้าใจ ตรงกัน เรียบง่าย กระชับ ภาษาสวย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความ บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นผลดี ไม่ให้เ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน คนึงนิตย์ กอนแสง  วันที่เขียน 30/8/2565 9:27:44  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 23:23:51   เปิดอ่าน 4416  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความรู้จากการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม » สรุปการอบรมหลักสูตร “กฎหมายปกครองสำหรับนักบริหารมหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของร...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
ผู้เขียน จงรักษ์ บัวลอย  วันที่เขียน 3/8/2565 10:14:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 22:41:43   เปิดอ่าน 2060  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง