การวิเคราะห์ หมายถึง การกลั่นกรองใจความสำคัญจากข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุน การวัดผล การตัดสินใจ การปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรม การวิเคราะห์รวมถึง การใช้ข้อมูลเพื่อดูแนวโน้ม การคาดการณ์ ตลอดจนการหาความสัมพันธ์ของเหตุและผลซึ่งโดยปกติแล้วอาจไม่เห็นเด่นชัด การวิเคราะห์อาจใช้สนับสนุนจุดมุ่งหมายต่าง ๆ เช่น การวางแผน การทบทวนผลการดำเนินการโดยรวม การปรับปรุง การปฏิบัติงาน และการบรรลุเป้าหมายของการบริหารความเปลี่ยนแปลง และการเปรียบเทียบผลการดำเนินการกับคู่แข่งขัน หรือเทียบเคียงกับสถาบันที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
การบริหารจัดการจะต้องได้จากข้อมูลจริง การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง หมายถึง การบริหารจัดการผลการดำเนินการที่มีประสิทธเผลของสถาบันต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศที่หลากหลายข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้อาจอยู่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ตัวเลข กราฟ ข้อมูลเชิงพรรณา และมาจากหลายหลานแหล่งทั้งกระบวนการภายใน การสำรวจฐานข้อมูลและสื่อสังคม
ทำไมบุคลากรสายสนับสนุนต้องทำงานวิเคราะห์จาก "งานประจำ"
1.เพื่อพัฒนานาองค์กร 2.นำผลมาใช้ได้อย่างไร (เพื่อพัฒนางาน พัฒนาตนเอง) 3. เพื่อพัฒนางานสายอาชีพ
การพัฒนาตนเอง หรือ Self Development หมายถึง การพัฒนาตนเอง ลงมือทำด้วยตัวคุณเอง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เราออกแบบทำขึ้นมาด้วยความจงใจ ตั้งใจและเต็มใจของเราเอง
หัวใจในการพัฒนาตนเองของคุณจะต้องลงมือทำเอง เรารับผิดชอบการพัฒนาตนเองด้วยตัวเราเอง ซึ่งเราต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนก่อนโดย
1. หาและกำหนดก่อนว่าเราต้องการพัฒนาตัวเองในเรื่องอะไรให้ชัดเจน (ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ 2. เขียนเป้าหมายการพัฒนาในเรื่องต้องการให้ชัดเจน วัดผลได้ คือต้องเขียนให้ท้าทาย 3. จากนั้นต้องวางแผนและทำแผนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 4. กำกับดูแลตัวเองอย่างซื่อสัตย์ โดยต้องมีวินัยตัวเองสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เราต้องมีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็น "แฟนพันธ์แท้" ในหน้าที่การงานดังนี้ 1.รับผิดชอบต่อการกระทำ และพฤติกรรมการพัฒนาตนเอง 2.การกระทำของตัวเรามีผลกระทบต่อตัวเองและองค์กรเสมอไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม 3.ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง มีผลกระทบต่อความสำเร็จของตัวเองและองค์กร 4.การพัฒนาตนเอง ในด้านพัฒนาความรู้ความสามารถ ต้องควบคู่ไปก้ับการพัฒนาการเป็นคนที่มีคุณลักษณะน่ารัก มีคุณธรรมและจริยธรรมเสมอ
งานวิเคราะห์คืออะไร?
การวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อค้นหาที่มา ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น การวิเคราะห์จึงเป็นการศึกษาค้นคว้าหรือการศึกษาหาคำตอบอย่างละเอียดรอบคอบตามกระบวนการวิเคราะห์ต่อประเด็นที่เกิดขึ้น เป็นการนำข้อมูลที่จัดทำไว้มาวิเคราะห์โดยเลือกใช้สถิติให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ และลักษณะของข้อมูลโดยที่การวิเคราะห์ข้อมูลมีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ และหลักหรือตรรกวิทยาของการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปร 2 ตัว แต่อาจมุ่งหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรโดยไม่มีนับของความเป็นสาเหตุและผลระหว่างตัวแปร วัตถุประสงค์อาจจะมีเพียงแต่ต้องการใช้ตัวแปรหนึ่งในการคาดคะเนตัวแปรอีกตัวหนึ่ง เช่น การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Reseatch) ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานข้อมูลในรูปแบบจำนวนความถี่ และร้อยละ หรืออาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการเปรียบเทียบข้อมูลโดยการทำการวิเคราะห์เปรียบเทียยความแตกต่างของข้อมูลระหว่างกลุ่ม (between groups) ตั้งแต่ 2กลุ่มขึ้นไป
งานวิเคราะห์ทำยังไร?
งานวิเคราะห์ทำเหมือนวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์การทำงานวิเคราะห์ ดังนี้ 1.ศึกษาหาความจริง 2.ศึกษาตรวจสอบ แยกแยะองค์ประกอบให้ชัดเจน 3.หาข้อสรุปและประเมินตัดสินใจ 4.หาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล 5.ศึกษาตีความทำความเข้าใจ
รูปแบบรายงานการวิเคราะห์
1. บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตของงานเชิงวิเคราะห์ นิยาม ศัพท์เฉพาะ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีต่าง 3. วิธีการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ขั้นตอนการดำเนินการ ประชาการและตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสน 4. ผลการวิเคราะห์ 5. สรุปและอภิปรายผล ประกอบด้วย สรุปและอภิปรายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้ดจำกัดในการวิเคราะห์ ประโยชน์ของการศึกษา ข้อเสนอแนะ
สรุปจากการเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบบริหารและธุรการ ครั้งที่ 6 เรื่อง "เพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารและธุรการด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรม" ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ของนางสาวศรีวรรณ บุญเรืองและนางอุไรภัสร์ ชัยเรืองวุฒิ