|
คู่มือ
»
การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความออนไลน์
|
ในปัจจุบัน วารสารมีการจัดพิมพ์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และการจัดพิมพ์เป็นแบบออนไลน์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดหาวารสารทั้งสอง 2 รูปแบบ เพื่อให้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการให้บริการแบบตัวเล่ม ต้องมีการคัดเลือกวารสารที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการ โดยมีการจัดทำดรรชนีบทความวารสาร ซึ่งบางสำนักพิมพ์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำวารสารเป็นแบบออกไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางฝ่ายได้รับมีการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำดรรชนีบทความวารสารทั้งฉบับที่เป็นรูปเล่มและออนไลน์ เป็นประจำทุกปี
สำหรับปีปัจจุบันนี้การจัดทำดรรชนีบทความของวารสารฉบับออนไลน์ ขึ้นเป็นปีแรก ทางฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการประชุมเพื่อสรุปประเด็นเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารฉบับออนไลน์ขึ้น
|
คำสำคัญ :
บทความออนไลน์ บรรณานุกรมบทความ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
162
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จิณาภา ใคร้มา
วันที่เขียน
18/6/2567 8:51:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:14:12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ
ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2
- 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด
- 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน)
คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
|
คำสำคัญ :
การค้นคืนสารสนเทศ บริการบรรณานุกรม ภาพยนตร์ออนไลน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3218
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
27/8/2563 8:36:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:04:34
|
|
|
|
|
|
|