ประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 25 ประจำปี พ.ศ. 2564 "The 25th Annual Meeting in Mathematics (AMM 2021)"
วันที่เขียน 24/9/2564 14:55:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2568 22:22:31
เปิดอ่าน: 1694 ครั้ง

ประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ ๒๕ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ "The 25th Annual Meeting in Mathematics (AMM 2021)" ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom จัดโดยภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยศูนย์ส่งเสริมการวิจัยคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย (Center for Promotion of Mathematics Research of Thailand (CEPMART)) ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมวิชาการ ที่ อว 69.5.5/101 ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2564

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  • สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการบรรยายพิเศษและนำเสนอผลงานวิชาการทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบบรรยาย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจาก Chularat Tanpasert, Executive Vice President of National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Thailand  เรื่อง Practical Mathematics Applications: Recent Case Studies in Thailand ทำให้ได้ทราบว่าคณิตศาสตร์เป็นที่ต้องการนำไปใช้ในการแก้ปัญหากับสถานการณ์จริง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับ Big Data และ Artificial Intelligence (AI) เป็นต้น และการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ช่วยในการทำวิจัยกับโจทย์ปัญหาจริง เช่น การสร้างตัวแบบทำนายผลผลิตและค่าความหวานของอ้อยในจังหวัดสุพรรณบุรี การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในทางธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
  1. ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจาก Royol Chitradon, Chairman, Board of Directors of Hydro Informatics Institute (HII), Thailand เรื่อง คณิตศาสตร์และวิทยาการข้อมูล กับประสบการณ์พัฒนาระบบ ทำให้ได้ทราบถึงภารกิจของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในการบริหารจัดการน้ำของประเทศโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์และวิทยาการข้อมูล โดยในประเทศของเรามีหน่วยงานต่าง ๆ เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลภูมิประเทศเพื่อจัดทำแผนที่ 3 มิติ การวัดการเคลื่อนตัวของอากาศในแนวดิ่ง ข้อมูลน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้มีการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อส่งออกไปนำไปใช้ในภูมิภาค การใช้วิทยาการข้อมูล บริหารสถานการณ์น้ำ ปี 2545 และ 2549 การบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์บริหารจัดการน้ำท่วม เขื่อนลำปาว เป็นต้น สรุปคือการใช้ การหาค่าเหมาะที่สุด ทำนายปริมาณฝนได้ระยะสั้น 1 สัปดาห์ การใช้วิทยาการข้อมูล สามารถทำนายปริมาณฝนได้ระยะ 3-4 เดือน เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการสร้างแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ THAI WATER MOBILE APPLICATION เพื่อรับทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน นับว่ามีประโยชน์อย่างมาก
  1. ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจาก Prof. Dr. Osamu Saeki, Directors of Institute of Mathematics for Industry, Kyushu University, Japan เรื่อง Data Visualization using Differential Topology  ทำให้ได้ทราบถึงภารกิจของสถาบันดังกล่าวว่ามีโครงการวิจัยทางคณิตศาสตร์กับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น 27 โครงการ (22 บริษัท) เช่น Mazda, Toyota, Yahoo, Fujitsu, Hitachi และ Toshiba เป็นต้น มีการเปิดสอนในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก มีการสัมมนาร่วมกันระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และตัวแทนบริษัท เพื่อรับทราบปัญหาและหาโจทย์วิจัยร่วมกัน มีการใช้ความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ในการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้บริษัทต่าง ๆ เช่น การใช้ Operator Algebra, Number Theory, Combinatorics, Numerical Analysis, Mathematical Modeling, Probability, Statistics และ  Topology แก้ปัญหาในอุตสาหกรรม เป็นต้น

    4.ได้รับฟังการอภิปรายแบบคณะ โดย Assoc. Prof. Dr.Suwanee Surasiengsunk สาขาการประกันภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  Assoc. Prof. Dr. Kannapha Amaruchkul สาขาสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อภิปรายเกี่ยวกับ Logistics, Asst. Prof. Dr. Chanwit Boonchuay, Northern Science Park (NSP) อภิปรายเกี่ยวกับ Artificial Intelligence (AI), Dr. Veerapong Chutipat มหาวิทยาลัยรังสิต อภิปรายเกี่ยวกับการลงทุน and Assoc. Prof. Dr. Chartchai Leenawong เป็นผู้ดำเนินรายการ เรื่อง Mathematics for Innovation Development ทำให้ได้ทราบถึงการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในสาขาต่าง ๆ เช่น การประกันภัย  โลจิสติกส์ ปัญญาประดิษฐ์ และการลงทุน ซึ่งคณิตศาสตร์มีบทบาทในการพัฒนานวัตกรรม อีกทั้งแต่ละสาขายังต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถอีกด้วย  

  1. ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรอีกหลายท่านทั้งในและต่างประเทศ และได้รับฟังการนำเสนอผลงานแบบบรรยายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทางด้านสมการเชิงอนุพันธ์ สถิติ ทฤษฎีเชิงการจัดและทฤษฎีกราฟ การวิเคราะห์ ทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานแบบบรรยายทั้งด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ศึกษา และวิทยาการคอมพิวเตอร์

 

  • ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  1. ได้รับความรู้ รับทราบประโยชน์ของคณิตศาสตร์ แขนงต่าง ๆ เป็นการเปิดโลกทรรศน์และมุมมอง มองเห็นแนวทางในการทำวิจัยทางด้านทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ มีประโยชน์ต่อรายวิชา คศ 491 สัมมนา และวท 498 การเรียนรู้อิสระ เป็นต้น
  2. ได้มองเห็นแนวทางการทำวิจัย ควรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
  3. ได้รับประสบการณ์การจัดงานประชุมแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom

 

  • ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  1. เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนคณาจารย์และนักศึกษาต่างสถาบัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต
  2. สามารถนำประสบการณ์การจัดงานประชุมแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom มาช่วยงานระดับหลักสูตร/คณะ ได้

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2568 19:46:21   เปิดอ่าน 37  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2568 10:44:09   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/7/2568 21:02:42   เปิดอ่าน 204  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง