การส่งเสริมการใช้งานระบบแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
วันที่เขียน 17/9/2562 13:22:20     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 10:19:01
เปิดอ่าน: 2884 ครั้ง

เพื่อหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ในระบบแบบสอบถามออนไลน์

เพื่อให้การวิเคราะห์ผลในแบบสอบถาม มีความน่าเชื่อถือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถืออย่างมีนัยสำคัญ จึงได้มีการวางแผนเพื่อหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม ในระบบแบบสอบถามออนไลน์ ขึ้น (ในรายการแบบสอบถามที่ใช้เป็นตัวชี้วัดของหน่วยงานหรือแผนปฏิบัติราชการ)

ดังนี้

  1. กำหนดการออกแบบคำถามให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม
  2. กำหนดเปิดให้ตอบแบบสอบถาม ผ่านระบบออนไลน์ โดยกระจาย เดือนละ ไม่เกิน 5 แบบสอบถาม
  3. กำหนดเริ่มต้นเปิดระบบแบบสอบถามโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคลากรและนักศึกษา ให้กรอกแบบสอบถามโดยผ่านการเข้ารหัสผ่าน แล้วเว้นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อเปิดให้สามารถเข้ากรอกระบบโดยไม่ต้องเข้ารหัสผ่าน

ผลการปฏิบัติงาน

  1. จัดทำแบบสอบถามที่ต้องดำเนินการเป็นอย่างต่อเนื่อง จากเดิม ปี 2561 เปิดระบบแบบสอบถามพร้อมกันทุกหน่วยงาน ทำให้มีรายการแบบสอบถามขึ้นหน้าแรกของผู้ใช้จำนวนมากในครั้งเดียว และในปี 2562 ได้มีการปรับการเปิดระบบแบบสอบถามแยกเป็นรายเดือน เพิ่มเติมการกรอกข้อมูลผ่านเอกสาร สำหรับบุคคลทั่วไป ผลการดำเนินงาน จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามลดลง
  2. ในแบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร จากเดิม ปี 2561 เปิดให้ตอบแบบสอบถามเฉพาะในระบบ และในปี 2562 ได้เพิ่มช่องทางการตอบแบบสอบถามแบบกระดาษและผ่านระบบ โดยไม่ต้องเข้ารหัสผ่าน ผลการดำเนินงาน  จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามลดลง และมีผู้บริหารตอบกลับเพียง 1 ท่านเท่านั้น

หน่วยงานผู้ให้บริการ

ปี 2561 (จำนวนชุด)

ปี 2562 (จำนวนชุด)

ปริมาณ

หน่วยงานในสำนักงานมหาวิทยาลัย 12 หน่วยงาน

2,740

1,933

ลดลง

ผู้ใช้งาน

200

166

ลดลง

ผู้บริหาร

16

10

ลดลง

 

สรุปผลการดำเนินงาน

          การดำเนินงานโดยแยกเป็นรายเดือนและการแจงเวียนหนังสือ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนการตอบแบบสอบถามของผู้รับบริการได้

แนวทางการแก้ปัญหา

  1. กำหนดตัวชี้วัดคุณภาพของหน่วยงาน ประสานงานร่วมกันเป็นทีม และทำงานร่วมกับผู้บริหารโดยตรงเพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่สอดคล้องกับความต้องการ
  2. ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจการแจกแบบสอบถามโดยตรงกับผู้บริหาร

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://gg.gg/f6yaq

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1019
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » Ann algorithm กับ Multi-labels
Approximate Nearest Neighbor (ANN) algorithm ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในด้านการค้นหาข้อมูลที่ใกล้เคียง (nearest neighbors) ในฐานข้อมูลหรือดาต้าเซ็ตที่มีขนาดใหญ่มาก โดยไม่ต้องค้นหาทุก ๆ ตัวในฐานข้อมูลที่...
Approximate Nearest Neighbor  classification  Multi-labels     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 11/2/2568 9:52:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:59   เปิดอ่าน 134  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 1:04:06   เปิดอ่าน 283  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 1:06:54   เปิดอ่าน 706  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง