เครื่องมือในการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย
- ระบบ ENoP คือ ฐานข้อมูลความรู้และเผยแผร่กิจกรรมด้านมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- ESPReL ระบบสำรวจสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เป็นความปลอดภัยระดับพื้นฐาน
- Chem Invent โปรแกรมการจัดการข้อมูลและสารเคมี
- NRIIS บริหารจัดการเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดสรรทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ตรวจเช็คสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ (safety checklists) วิธีการเช็คคือการใช้ ESPReL เป็นเครื่องมือประเมินเบื้องต้นและเป็นระบบออนไลน์ ผลของการประเมินจะออกมาในรูปของคะแนน โดยคะแนนจะเป็นตัวบอกว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อย
- การบริหารความเสี่ยง จะเกิดขึ้นหลังจากการประเมินแล้วเพื่อจะใช้พิจารณาว่าจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างไร มีความเสี่ยงมากหรือน้อย โอกาสในการเกิดขึ้นง่ายหรือยาก
- การดำเนินการทำ PCDA พัฒนาและปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง โดยจะเป็นการวนลูบ โดยไม่สามารถจะบอกได้ว่าจะสำเสร็จเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการ ความตั้งใจของผู้ดำเนินงาน รวมถึงงบประมาณ
- ทบทวนการบริหารความเสี่ยง การปฎิบัติเพื่อยกระดับความปลอดภัย
ความปลอดภัยในระดับพื้นฐาน แบ่งเป็นระดับต้นแบบ และระดับมาตรฐาน ซึ่งทั้งสองระดับมีการใช้กณฑ์พื้นฐาน ESPReL ที่มี Checklist 137 ข้อ เป็นเกณฑ์พื้นฐาน
- ระดับต้นแบบ มีลักษณะความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมของกระบวนการและผลผลิต ที่เป็นเอกสารและระบบจัดการที่มีความชัดเจน และมีการใช้เกณฑ์พื้นฐาน ESPReL Checklist
- ระดับมาตรฐาน คือการขอรับรอง มอก 2677-2558 มีลักษณะความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมของกระบวนการและผลผลิตที่เป็นเอกสารและระบบจัดการที่มีความชัดเจน และใช้เกณฑ์พื้นฐาน ESPReL Checklist
ESPReL ระบบสำรวจสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการระบบความปลอดภัย
เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ โดยผู้บริหารต้องเห็นชอบ ทั้งในเรื่องนโยบาย งบประมาณ องค์ประกอบที่ 1 จะเกี่ยวข้องในเรื่องดังนี้
- นโยบายและแผน เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการจัดการ การตรวจติดตาม แผนปฏิบัติการ ระบบกำกับดูแล การสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มพูนควมรู้และฝึกทักษาด้วยการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
- โครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- ส่วนอำนวยการ คือส่วนองค์กรผู้อำนวยการ ที่กำหนดนโยบาย แผนยุทธศาศตร์ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบระดับบริหาร ให้งบประมาณสนับสนุน ทบทวนการรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่วนบริหารจัดการ ส่วนรับคำสั่งจากผู้อำนวยการ มาบริหารจัดการและกำกับดูแลการดำเนินการต่างๆ จัดสรรงบประมาณ กำหนดข้อปฏิบัติความปลอดภัยในองค์กร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบทุกด้าน
- ส่วนปฏิบัติการ เป็นส่วนที่ปฏิบัติตามภาระกิจที่ได้รับมอบจาก ส่วนอำนวยการและส่วนบริหารจัดการ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการปฏิบัติหน้าที่ สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ ประเมินการจัดการความเสี่ยงในระดับห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมกิจกรรมและรับการอบรมฝึกความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และจัดทำรายงานการดำเนินงานความปลอดภัย
1.3 ผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ เนื่องจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี มีสิ่งที่ต้องคำนึงในเรื่องการจัดการสารเคมี การจัดการของเสีย อุกปกรณ์เครื่องมือ การป้องกันและแก้ไขอันตราย การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ การจัดการข้อมูลเอกสาร ดังนั้นจึงควรระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนและสามารถที่จะปฏิบัติงานได้
องค์ประกอบที่ 2 ระบบการจัดการสารเคมี
องค์ประกอบนี้จะเกี่ยวข้องกับสารเคมีเป็นหลัก ใน ESPReL จะเน้นเรื่องการจัดการสารเคมี ประกอบด้วย
2.1 การจัดการข้อมูลสารเคมี มีระบบบันทึกข้อมูลสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น ชื่อสารเคมี CAS Number SDS ประเภทความเป็นอันตรายของสารเคมี ปริมาณสาร ราคา ผู้ขาย ผู้ผลิต วันจดบันทึกนำเข้าสารเคมี และวันหมดอายุของสารเคมี
2.2 การจัดเก็บสารเคมี หลักสำคัญที่ต้องคำนึงคือ ความเป็นอันตรายของสารเคมี และความเข้ากันไม่ได้ของสารเคมี ในการจัดเก็บสารเคมี ควรให้เป็นไปตามข้อกำหนดทั่วไปในการจัดเก็บสารเคมี การจัดเก็บสารไวไฟ สารกัดกร่อน แก๊ส สารออกซิไดซ์ สารที่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี ภาชนะบรรจุภัณฑ์สารเคมี และเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
2.3 การเคลื่อนย้ายสารเคมี ต้องมีรถเข็น มีภาชนะรองขวดสารเคมีเพื่อป้องกันการตกแตก และตัวดูดซับเพื่อป้องกันการประแทกกันระหว่างขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายภายในห้องปฏิบัติการ และการเคลื่อนย้ายภายนอกห้องปฏิบัติการ
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ
ของเสีย (waste) คือ สิ่งที่ใช้แล้ว หรือสิ่งที่ไม่ต้องการใช้อีก อาจจำแนกประเภทของเสียตามลักษณะการเกิดอันตราย “กลุ่มของเสียอันตราย (hazardous waste)” มีเงื่อนไข 3 ข้อ ดังนี้
- เป็นสารที่มีอยู่ในรายชื่อของเสียอันตรายของ US EPA โดยรายชื่อของเสียอันตราย US EPA มีประมาณ 850 รายการ
- เป็นสารที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ สารไวไฟหรือติดไฟ, สารกัดกร่อน, สารที่ไวต่อปฏิกิริยา, สารพิษ ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ US EPA
- เป็นสารที่ผู้ที่ทำให้เกิดของเสียพิจารณาจำแนกให้ของเสียนั้นเป็นของเสียอันตราย โดยอาศัยข้อมูลอื่นๆ เช่น SDS หรือเว็ปไซต์ของผู้ผลิตสารเคมีนั้นๆ
3.1 การจัดการข้อมูลของเสีย ควรมีการจัดทำระบบบันทึกข้อมูลและสารเคมีและของเสีย ที่มีการนำเข้า-ออกและใช้ภายในห้องปฏิบัติการ เช่น รหัสขวด ประเภทของเสีย ประเภทภาชนะ ปริมาณความจุ สถานที่เก็บ และวันที่บันทึกข้อมูล
3.2 การจำแนกประเภทของเสียอันตราย ห้องปฏิบัติการควรมีการจำแนกและจัดเก็บของเสียให้ถูกต้องเหมาะสมตามเกฑณ์ของระบบมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ
3.3 การรวบรวมและจัดเก็บของเสีย
- มีพื้นที่จัดเก็บสะสมของเสีย
- มีประกาศข้อปฏิบัติการเก็บสะสมของเสียติดใกล้กับพื้นที่เก็บสะสมของเสีย
- จำแนกของเสียให้ถูกต้องตามเกณฑ์การจำแนก และจัดเก็บในภาชนะบรรจุของเสียที่เหมาะสม
- ตรวจสภาพภาชนะบรรจุของเสีย เช่น รอยรั่ว หรือ แตกร้าว อย่างสม่ำเสมอ
- ภาชนะบรรจุของเสียต้องมีการ “ติดฉลาก” ให้เขียนชื่อเต็ม ห้ามใช้ชื่อย่อ น้ำหนักรวมต้องได้ 100%
- ห้ามบรรจุของเสียเกิน 80%
- มีภาชนะรองรับ (secondary container) ของเสียที่เหมาะสม
- ห้ามวางภาชนะบรรจุของเสียใกล้ท่อระบายน้ำ ฝักบัวฉุกเฉิน แหล่งความร้อน แหล่งกำเนิดไฟ และเปลวไฟ
- ห้ามเก็บของเสียประเภทไวไฟไว้ในห้องปฏิบัติการมากกว่า 50 ลิตร
- ห้ามเก็บของเสียไว้ในตู้ดูดควันอย่างถาวร
- มี spill kit อยู๋ในบริเวณที่เข้าถึงง่าย
3.4 การบำบัดและการกำจัดของเสีย ได้แก่ การบำบัดของเสียก่อนทิ้ง การบัดบัดของเสียก่อนส่งกำจัด การลดปริมาณก่อนทิ้ง การลดปริมาณก่อนส่งกำจัด และการ Reuse, Recovery, Recycle
3.5 การตรวจติดตามประเมินและรายงานผลการดำเนินการด้านต่างๆ ของการจัดการของเสีย โดยห้องปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบ อย่างสม่ำเสมอ
องค์ประกอบที่ 4 ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ
- งานสถาปัตยกรรมและงานสถาปัตยกรรมภายใน มีสภาพภายนอกและภายในที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ขนาดพื้นที่ห้องเพียงพอกับจำนวนคนและเครื่องมืออุปกรณ์ มีการแยกส่วนพื้นที่แลปออกจากพื้นที่อื่น
- งานวิศวกรรมโครงสร้าง สภาพดี รองรับน้ำหนักบรรทุกของอาคารได้ กันไฟ ทนไฟ และมีการตรวจสอบสภาพอาคารอยู่ประจำ
- งานวิศวกรรมไฟฟ้า มีแสงสว่างเพียงพอต่อการทำงาน มีอุปกรณ์สายไฟ เต้ารับ เต้าเสียบที่ได้มาตรฐาน ต่อสายดิน มีระบบควบคุมไฟฟฟ้า ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ
- งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม มีระบบน้ำที่ใช้งานได้ดี มีการแยกระบบน้ำทิ้งทั่วไปและระบบน้ำทิ้งปนเปื้อนสารเคมีออกจากการ มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนออกสู่รางระบายน้ำ
- งานวิศวกรรมระบบปรับอากาศและระบายอากาศ มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมกับการทำงาน ติดตั้งระบบปรับอากาศที่เหมาะสมกับการทำงานและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ ตรวจสอบดูแลระบบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
- งานระบบฉุกเฉินและระบบติดต่อสื่อสาร มีระบบแจ้งเหตุไฟไหม้ด้วยมือ อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ทางหนีไฟ ป้ายบอกทางหนีไฟ ถังดับเพิลง ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ มีระบบติดต่อสื่อสารของห้องปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน มีการตรวจสอบระบบฉุกเฉินและระบบติดต่อสื่อสารและมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ
องค์ประกอบที่ 5 ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
5.1 การบริหารความเสี่ยง คือการบ่งชี้ความเป็นอันตราย การประเมินความเสี่ยง การจัดการควมเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยง และการรายงานบริหารความเสี่ยง
รูปแบบทั่วไปของการจัดการความเสี่ยง คือ การกำจัดทิ้ง การแทนที่ของเดิม การสร้างก่อสร้าง ต่อเติมหรือดัดแปลง การควบคุมและดูแลระบบ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม โดยเครืองมือในการสื่อสารความเสี่ยง เช่น การบรรยาย การแนะนำการพูดคุย ปรึกษาหารือ การมีป้าย สัญลักษณ์ เอกสารแนะนำ แผ่นผับ คู่มือ และการใช้สื่อเทคโนโลยีอื่นๆ
- ความพร้อม/ตอบโต้กรณีฉุกเฉิน มีการจัดการความพร้อม/ตอบโต้เหตุฉุกเฉินและ แผนป้องกัน เช่นการซ้อมรับมือ ซ้อมหนีไฟ ตรวจสอบอุปกรณ์และพื้นที่ มีแผนรับมือ และอุปกรณ์การตอบโต้
- ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไป
- มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคคล (PPE) ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันหน้าหน้า อุปกรณ์ป้องกันตา อุปกรณ์ป้องกันมือ อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
- มีการกำหนดระเบียบ/ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
องค์ประกอบที่ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
บุคลากรในองค์กรต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการให้ความรู้ด้วยการฝึกอบรมจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และลดเกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติภัยได้ โดยบุคคลที่ต้องมีการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าห้องปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติงาน พนักงานทำความสะอาด และผู้เข้าเยี่ยมชม
องค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร
การจัดการข้อมูลเอกสารที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆ มีไว้เพื่อความสะดวกในการบันทึกเก็บรวบรวมประมวลผลและค้นหามาใช้ได้ทันการ รวมถึงสามารถนำไปเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อประมวลผลรวมของการบริหารจัดการ และเพื่อใช้ในการติดสินใจบริหารจัดการด้านต่างๆ ของห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ
- ระบบการจัดกลุ่ม คือการจัดกลุ่มข้อมูลเอกสารทั้งหมดในห้องปฏิบัติการโดยการแบ่งกลุ่มชัดเจน เล่นกลุ่มเอกสารข้อมูลความปลอดภัย กลุ่มเอกสารคู่มือ
- ระบบการจัดเก็บ คือวิธีในการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร อาจจะเป็นรูปแบบเอกสารและหรือ อิเล็กทรอนิกส์ โดยต้องคำนึงถึงการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวด และรับรู้ร่วมกัน
- ระบบการนำเข้า ออก และติดตาม คือ วิธีการนำเข้า-ออก ของข้อมูลที่เป็นระบบและสามารถตรวจติดตามได้ เช่น บันทึกการยืม-คืนเอกสาร หรือการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล โดยลงชื่อระบุ วัน เวลากำกับ
- ระบบการทบทวนและปรับปรุง (update) ให้ทันสมัย คือการทบทวนและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยบนพื้นฐานความคิดเชิงพัฒนา ให้ง่าย สะดวก รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก.2677-2558)
สำนักงานคณะกรรมการวิชาแห่งชาติ (วช.) ได้สร้างเครื่องมือให้ห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัย พยายามให้ห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัยจนถึงในระดับพื้นฐานและมีความพร้อมขึ้นไปสู่ระดับ มอก.2677 หรือ ISO 17025 เพื่อให้มีมาตรฐานในระดับสากล นโยบายล่าสุดของ วช. ที่ออกมาในปี 2562 ที่ครอบคลุมนโยบายส่งเสริมความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีและการขับเคลื่อน (พ.ศ. 2562-2565) จะครอบคลุมหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี ประกอบด้วย
- ขอบข่าย มีขอบข่ายครอบคลุม ระบบจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี
- บทนิยาม ในด้านต่างๆ ได้แก่ ห้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมี มีนโยบายความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ องค์กร บริบทภายใน บริบทภายนอก ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง การระบุอันตราย การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การทบทวน สารบบสารเคมี เอกสารข้อมูลความปลอดภัย เอกสาร การบันทึก การติดตามตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฝ่ายบริหารจัดการด้านความปลอดภัย
- ข้อกำหนดระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
- นโยบายความปลอดภัยของห้องปฏฺบัติการ
- การวางแผน
- การนำไปใช้และปฏิบัติ
- การติดตามตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติ
- การทบทวนการจัดการ
การขอการรับรองนั้น การต้องยื่นขอกับสถาบันมาตรฐานไอเอสโอซ สรอ. โดยส่ง Proposal ผ่าน Application จากนั้นจะเข้าสู่ Stage 1 Audit และ Stage 2 Audit ถ้าผ่านการประเมินแล้วจะมีการออกใบรับรอง Certification โดยใบรับรองมีอายุ 3 ปี ทั้งนี้ในระยะเวลา 3 ปี ที่มีใบรับรองนี้จะต้องมีการ Surveillance audit และRe-assessment ค่าใช้จ่ายในการขอรับรองจะมีค่ายื่นขอ 3,000 บาท ระยะเวลาและจำนวนผู้ประเมินในการตรวจประเมินประมาณ 15000 บาท/Man-day ค่าใบรับรองประมาณ 20,000 บาท ต่อระบบที่ขอการรับรอง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก